ประสิทธิภาพการทำงานของผู้ทำบัญชีในธุรกิจนำเข้าและส่งออกที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหาประสิทธิภาพการทำงานของผู้ทำบัญชีในธุรกิจนำเข้าและส่งออกที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศไทยและ 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานของผู้ทำบัญชีในธุรกิจนำเข้าและส่งออกที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศไทย
รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานบัญชีหรือผู้ทำบัญชีในธุรกิจนำเข้าและส่งออกที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศไทย จำนวน 113 คน คน ใช้วิธีการสุ่มแบบอย่างง่าย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคุณ
ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพการทำงานของผู้ทำบัญชีในธุรกิจนำเข้าและส่งออกที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้แก่ ด้านความรู้ในวิชาชีพบัญชี ด้านทักษะทางวิชาชีพ ด้านคุณค่าแห่งวิชาชีพ และด้านเจตคติในวิชาชีพ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของผู้ทำบัญชีในธุรกิจธุรกิจนำเข้าและส่งออกที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ2) ด้านเจตคติในวิชาชีพมีอิทธิพลสูงสุดต่อประสิทธิภาพการทำงานของผู้ทำบัญชี รองลงมาคือด้านทักษะทางวิชาชีพ ด้านคุณค่าแห่งวิชาชีพ และด้านความรู้ในวิชาชีพบัญชีตามลำดับ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2560). รายชื่อสำนักงานบัญชีคุณภาพ. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.dbd.go.th/more_news.php?cid=1535/Quattrone,2009
จรินทร์ จารุเสน. (2564). กลยุทธ์ทางการตลาดของธนาคารพาณิชย์บนบริบทของเทคโนโลยีเพื่อตอบสนองการทำธุรกรรมทางการเงิน. วารสารศิลปการจัดการ, 5(3), 544-558.
ชลิดา ลิ้นจี่, สุภาพร บุญเอี่ยม และ ชัยสิน สุขวิบูลย์. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้บริการสำนักงานบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(3), 891-906.
ณัชชา อาแล. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานทางบัญชีและคุณภาพงบการเงิน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 24(1), 19-30.
นวพร ขู้เปี้ยเต้ง, อุทิศ เสือแก้ว และ ชลดา มนัสทรง. (2564). ความรู้ ความสามารถ และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชี ในสำนักงานบัญชีจังหวัดภาคใต้. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(4), 192-208.
บุญช่วง ศรีธรราษฎร์. (2561). ผลกระทบของสมรรถนะทางการบัญชีสมัยใหม่ที่มีีต่อความสำเร็จในการทำงานของนักบัญชีบริษัทในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือเมื่อเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 5(1), 58-72.
พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543. (2543, 12 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 117, ตอนที่ 41ก.
พัชรี วิชัยดิษฐ์ และ ชลกนก โฆษิตคณิน. (2564). แนวทางการพัฒนาศักยภาพทางการบัญชีที่มีผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของนักบัญชีสหกรณ์ในประเทศไทย. วารสารศิลปการจัดการ, 5(1), 150-164.
พินยา พลแก้ว, จุลสุชดา ศิริสม และ ไตรรงค์ สวัสดิกุล. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างความศรัทธาในวิชาชีพกับความสำเร็จในการทำงานของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 9(2), 196-205.
ศศิวิมล มีอำพล. (2556). หลักการบัญชีขั้นต้น. กรุงเทพฯ: อินโฟไมนิ่ง.
ศิริกาญจน์ วงษ์เสรี และ สุรีย์ โบษกรณัฏ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีสถาบันการเงินเฉพาะกิจ. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 5(3), 269-282.
สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2557). การพัฒนาทางวิชาชีพระยะเริ่มแรกการประเมินความรู้ ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (ฉบับปรับปรุง Volume 2012), ฉบับที่ 6 (ฉบับปรับปรุง). สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2564, จาก http://www.fap.or.th/images/column_1359010350/IES6_Thai_28Nov2013.pdf
สินีนาถ ธรรมวิโรจน์ และ กนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการดำเนินงานกับสิทธิประโยชน์ ของผู้บริหารและคณะกรรมการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมบริการ. วารสารศิลปการจัดการ, 5(2), 428-441.
สิริพร กรรณศร และ ประเวศ เพ็ญวุฒิกุล. (2564). คุณค่าทางวิชาชีพและจรรยาบรรณที่ส่งผลต่อความสำเร็จ ในการปฏิบัติงานของนักบัญชีในเขตภาคกลาง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 15(2), 1-18.
อาภาวรรณ สงวนหงษ์ และ เบญจพร โมกขะเวส. (2564). การบริหารการเงินและบัญชีที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรงานการเงินและบัญชี สังกัดกระทรวงพาณิชย์. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(3), 1013-1026.
Jantaratim, K., Wongsuwan, K., Pachimsawat, K., & Peammatta, J. (2021). Public Opinion Survey on the Government’s Economic Policy of the NCPO. International Journal of Multidisciplinary in Management and Tourism, 5(1), 29–35.
Quattrone, P. (2009). ‘We have never been Post-modern’: On the Search of Management Accounting Theory. European Accounting Review, 18(3), 621-630. https://doi.org/10.1080/09638180902863837
Sharma, K., Ow-jariyapithak, D., Dasri, P., Van Brecht, D., & Sahakijpicharn, D. (2021). Impact of Corporate Governance on Firm Efficiency: A Study of Thai Banking Companies. International Journal of Multidisciplinary in Management and Tourism, 5(2), 66–86.
Songsraboon, R., Thongtao, J., Damnoen, P.S., & Huanjit, P.S. (2021). Course Management Based on Outcome-Based Education (OBE) of Learning by Working in Real Conditions. Turkish Journal of Physiotherapy and Rehabilitation, 32(3), 20491–20499.
Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.