การสร้างระบบ กลไก รูปแบบเครือข่ายการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่การศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

สายสุดา เตียเจริญ
ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม
มาเรียม นิลพันธุ์
นพดล เจนอักษร

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างระบบ กลไกการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่การศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี และ 2) พัฒนารูปแบบเครือข่ายการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่การศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา  โดยใช้ผู้ให้ข้อมูลเป็นหน่วยวิเคราะห์กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 36 โรง กำหนดผู้ให้ข้อมูลเป็น 2 ระดับ ได้แก่ ระดับหน่วยงานต้นสังกัด (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา)หน่วยงานละ 6 คน รวม 42 คนและระดับสถานศึกษาแห่งละ 6 คน รวม 216 คน รวมจำนวนผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 258 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การวิเคราะห์เส้นทางหรือความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ  และการวิเคราะห์เนื้อหา


          ผลการวิจัย พบว่า


  1. องค์ประกอบของระบบการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่การศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ระบบการบริหารจัดการเครือข่าย และ 2) ข้อตกลงหรือพันธสัญญาในเครือข่าย ส่วนองค์ประกอบของกลไกการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่การศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) โครงสร้างและหน้าที่ของเครือข่าย 2) ภาวะผู้นำของผู้บริหาร และ 3) บทบาทสมาชิกในเครือข่าย

2. รูปแบบเครือข่ายการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่การศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี พบว่า ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของข้อตกลงหรือพันธสัญญาในเครือข่าย ได้รับอิทธิพลรวมสูงสุดจากการบริหารจัดการเครือข่าย รองลงมาคือ โครงสร้างและหน้าที่ของเครือข่าย บทบาทสมาชิกในเครือข่าย และภาวะผู้นำของผู้บริหาร ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
เตียเจริญ ส. ., ไพวิทยศิริธรรม ไ. ., นิลพันธุ์ ม. ., & เจนอักษร น. . (2022). การสร้างระบบ กลไก รูปแบบเครือข่ายการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่การศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(1), 1–20. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/255869
บท
บทความวิจัย

References

กชกร เดชะคำภู และ ทิพาภรณ์ หอมดี. (2560). กลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการพื้นที่สาธารณะ “หาดเห่” เกาะกลางแม่น้ำโขง. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 9(5), 347-360.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). โครงการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา “สนามปฏิบัติการเพื่อสร้างนวัตกรรมการศึกษาของประเทศ”. (เอกสารอัดสำเนา)

จิรภัทร มหาวงศ์ และคณะ. (2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารบนเขตพื้นที่สูง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(4), 114-127.

ชรินทร์ มั่งคั่ง. (2561). กลยุทธ์ขับเคลื่อนเครือข่ายการเรียนรู้ของครูสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาผู้เรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 11(3), 63-75.

นพปฎล บุญพงษ์ และคณะ. (2560). การนำเสนอรูปแบบการบริหารเครือข่ายสถานศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 19 (1), 14-21.

พิสิฐ เทพไกรวัล. (2554). การพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือเพื่อคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก(วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พีรพัฒน์ รุ่งเรือง และ วรรณวีร์ บุญคุ้ม. (2562). ยุทธศาสตร์การสร้างภาคีเครือข่ายในการจัดการ ศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 11(2), 256-273.

ภัทรวรรธน์ นิลแก้วบวรวิชญ์. (2559). รูปแบบการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 27(3), 18-32.

พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562. (30 เมษายน 2562). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136 ตอนที่ 56 ก.

สมศักดิ์ เอี่ยมดี และคณะ. (2556). การพัฒนาระบบการบริหารเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(พิเศษ), 216-224.

สุดา มงคลสิทธิ์. (2562). กลยุทธ์การสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาในโรงเรียนเอกชนจังหวัดชลบุรี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(10), 5843-5859.

เสมา บุ้งทอง. (2563). การศึกษาองค์ประกอบของเครือข่ายการเรียนรู้ของโรงเรียนเอกชน. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 16(2), 66-79.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). รายงานการศึกษารูปแบบและกลไกการมีส่วนร่วมและสมัชชาการศึกษา. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก.

Comrey, A. L., & Lee, H. B., (1992). A First Course in Factor Analysis. New Jersey: Erlbaum.

Habing, B. (2020). Exploratory Factor Analysis. Retrieved November 10, 2020, from http://www.stat.sc.eduhabing/courses/530EFA.pdf.

Hair, J. F. et al. (1998). Multivariate Data Analysis (5th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.

Hatcher, L. (1994). A Step-by-Step Approach to Using the SAS System for Factor Analysis and Structural Equation Modeling. North Carolina: SAS Institute.

Kaiser, H. F. (1960). The Application of Electronic Computers to Factor. Educational and Psychological Measurement, 20, 141-151.

Lunenburg, F. C., & Ornstein, A. V. (2012). Educational Administration: Concepts and Practices. (6th ed.). California: Wadsworth Publishing.