ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการชำระเงินบนแอปพลิเคชัน ทรูมันนี่ วอลเล็ท ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

สมชาย เล็กเจริญ
ธีภพ เจริญผล

บทคัดย่อ

กระเป๋าเงินออนไลน์เป็นทางเลือกหนึ่งในการใช้จ่ายสินค้าต่าง ๆ ในยุคปัจจุบันและอนาคต บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการตัดสินใจใช้บริการชำระเงินบนแอปพลิเคชัน ทรูมันนี่ วอลเล็ท ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และเพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการชำระเงินบนแอปพลิเคชัน ทรูมันนี่ วอลเล็ท ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เคยใช้บริการชำระเงินบนแอปพลิเคชัน ทรูมันนี่ วอลเล็ท และพักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 426 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และโมเดลสมการโครงสร้าง


ผลการวิจัยพบว่าโมเดลความสัมพันธ์ที่เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านการประเมินทางเลือก 2. ด้านความตั้งใจใช้บริการ 3. ด้านทัศนคติ 4. ด้านปัจจัยสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด และ 5.ด้านการตัดสินใจใช้บริการ สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี โดยค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ = 0.99 แสดงว่าตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของการตัดสินใจใช้บริการชำระเงินบนแอปพลิเคชัน ทรูมันนี่ วอลเล็ท ได้ร้อยละ 99 พบว่า ด้านทัศนคติ ด้านปัจจัยสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดมีอิทธิพลทางตรงต่อการตัดสินใจใช้บริการ ตามลำดับ ซึ่งบริษัท ทรู มันนี่ สามารถนำผลวิจัยไปวางแผนสร้างกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับลูกค้าเพื่อให้เกิดการตัดสินใจใช้บริการต่อไป

Article Details

How to Cite
เล็กเจริญ ส., & เจริญผล ธ. (2022). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการชำระเงินบนแอปพลิเคชัน ทรูมันนี่ วอลเล็ท ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(3), 1137–1151. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/257540
บท
บทความวิจัย

References

กริช แรงสูงเนิน. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยด้วย SPSS และ AMOS เพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

กรุงไทย เวลท์ แคร์. (2561). กระเป๋าเงินของคนยุค 4.0. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2564, จาก https://aisdc.ais.co.th/blog/trend/e-wallet.html.

คชภัค จิรวัชรพล. (2563). ทัศนคติและการตัดสินใจซื้อประกันภัยโรคมะเร็งของกลุ่มคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 3(1), 97-110.

ทัชชกร สัมมะสุต และ งามสิริ วิฑูรย์พันธุ์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ True Money Wallet ในเขตเมืองพัทยา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(2), 296-308.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัตนา แซ่ลิ้ม และ สมชาย เล็กเจริญ. (2562). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการตัดสินใจใช้บริการออกแบบโลโก้ผ่านเฟซบุ๊กของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 5(2), 117-125.

ลัดดาวัลย์ โชคถาวร. (2560). อิทธิพลของปัจจัยส่วนประสมการตลาดและปัจจัยทัศนคติที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารคลีนของผู้บริโภคในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(1), 79-91.

วราภรณ์ จันทมาตร และ ธนสุวิทย์ ทับหิรัญรักษ์. (2564).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้า แบบบริการพรีออเดอร์จากสาธารณรัฐประชาชนจีนของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 14(2), 66-79.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และ คณะ. (2541). อิทธิพลของสวนประสมทางการตลาดและภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อรถยนต์กระบะของผู้บริโภคจังหวัดลําปาง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง, 5(2), 95-115.

อดุลย์ จาตุรงคกุล และ ดลยา จาตุรงคกุล. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. (พิมพ์ครั้งที่8). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Gibson, J. L. (2000). Organization: Behavior, Structure, Processes. (10th ed.) Boston: McGraw–Hill.

Gibson, J. L., Ivancevich, J. M., & Donnelly, J. H. (1979). Organization Behavior Structure Process. (3rd ed.). Texas: Business Publication.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed.). New York: Pearson.

Hoelter, J. W. (1983). The Analysis of Covariance Structures: Goodness-of-Fit Indices. Sociological Methods and Research, 11(3), 325-344.

Howard, J. A. (1994). Buyer Behavior in Marketing Strategy. Englewood Cliffs, NJ.: Prentice Hall.

Jones, R. J., & Hegarty, M. P. (1984). The Effect of Different Proportions of Leucaena Leucocephala in the Diet of Cattle on Growth, Feed Intake, Thyroid Function and Urinary Excretion of 3 Hydroxy 4(1H) Pyridone. Australian Journal of Agricultural Research, 35(2), 317-325.

Kline, R. B. (2011). Principles and Practice of Structural Equation Modeling. (3rd ed.). New York: The Guilford Press.

Kotler, P., & Keller, K. L. (2016). Marketing Management. (15th ed.) New Jersey: Prentice Hall.

Money Duck Thailand. (2021). True Money Wallet คืออะไร. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2564, จาก https://moneyduck.com/th/articles/171-true-money-wallet-คืออะไร/

Moslehpour, M., Aulia, C. K., & Masarie, C. E. (2015). Bakery Product Perception and Purchase Intention of Indonesian Consumers in Taiwan. International Journal of Business and Information, 10(1), 63-94.

Truman, H. S. (2018). Year of Decision (Vol. 1). The Theory of Planned Behaviors. Organizational Behavior and Human Decision Process, 50, 179-211.

Triandis, H. C. (1971). Attitude and Attitude Change (Foundations of Social Psychology). New Jersey: John Wiley & Sons.