ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าร้านคาเฟ่อเมซอนบนแอปพลิเคชันไลน์แมนของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

สุมามาลย์ ปานคำ
ภัคจิรา ชื่นโพธิ์กลาง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความ สัมพันธ์เชิงสาเหตุความตั้งใจซื้อสินค้าร้านคาเฟ่อเมซอนบนแอปพลิเคชันไลน์แมนของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ 2) เพื่อค้นหาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าร้านคาเฟ่อเมซอนบนแอปพลิเคชันไลน์แมนของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เคยซื้อสินค้าจากร้านคาเฟ่อเมซอนบนแอปพลิเคชันไลน์แมน และพักอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 403 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง


ผลการวิจัยพบว่า โมเดลความสัมพันธ์ที่เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านคุณภาพการให้บริการ 2) ด้านความคาดหวังของผู้บริโภค 3) ด้านการรับรู้คุณค่า 4) ด้านความพึงพอใจของผู้บริโภค และ 5) ด้านความตั้งใจซื้อ สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี โดยพิจารณาจากค่าสถิติไค-สแควร์ (gif.latex?\chi2) = 335.61, ค่า CMIN/df = 1.63, ค่าองศาอิสระ (df) = 206, ค่า GFI = 0.94, ค่า AGFI = 0.90, ค่า SRMR = 0.04, ค่า RMSEA = 0.04 และค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ = 0.77 แสดงว่าตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความตั้งใจซื้อสินค้าร้านคาเฟ่อเมซอนบนแอปพลิเคชันไลน์แมน ได้ร้อยละ 77 พบว่า ด้านคุณภาพการให้บริการ และด้านความคาดหวังของผู้บริโภค มีอิทธิพลทางตรงต่อความตั้งใจซื้อ ตามลำดับ  

Article Details

How to Cite
ปานคำ ส., & ชื่นโพธิ์กลาง ภ. (2022). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าร้านคาเฟ่อเมซอนบนแอปพลิเคชันไลน์แมนของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล . วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(3), 1120–1136. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/257655
บท
บทความวิจัย

References

กริช แรงสูงเนิน. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยด้วย SPSS และ AMOS เพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ฉัตรชัย อินทสังข์, ศศิฉาย พิมพ์พรรค์ และ อภิ คำเพราะ. (2562). การรับรู้คุณภาพการบริการ: ความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์บนการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 14(48), 1-12.

ณัฐธิดา แสงแก้วสุข และ สุมามาลย์ ปานคำ. (2563). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อความภักดีในการใช้บริการสั่งเครื่องดื่มบนแอปพลิเคชันเดลีรันเนอร์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารรังสิตสารสนเทศ, 27(3), 139-156.

พนัชกร สิมะขจรบุญ และ ประภัสสร แสนวงศ์. (2562). อิทธิพลการสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมที่มีต่อความตั้งใจซื้อสินค้าร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and Arts), 12(4), 1365-1389.

ภัควรรณร์ เชาว์ดีธิรัชกุล และ สุมามาลย์ ปานคำ. (2562). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤติกรรมความตั้งใจซื้อโปรแกรมตรวจสุขภาพผ่านเว็บไซต์ของประชากรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 10(1), 261-274.

บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน). (2560). เกี่ยวกับคาเฟ่อเมซอน. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2565, จาก https://www.cafe-amazon.com/about.aspx?Lang=TH&PageID=1

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

ศูนย์วิจัยกสิกร. (2564). Food Delivery โควิด...ดันธุรกิจโตต่อ คาดปี 64 มูลค่าทะลุ 5.3 หมื่น ลบ. ขยายตัว 18.4-24.4%. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2565. จาก https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Food-Delivery-FB-24-08-21.aspx

อรนุช อุปนันท์, สืบชาติ อันทะไชย และ พนา ดุลยพัชร. (2561). อิทธิพลเชิงสาเหตุของส่วนผสมทางการตลาดบริการที่มีต่อการรับรู้คุณค่า ความพึงพอใจและความภักดีของผู้บริโภคของร้านค้าเครื่องประดับอัญมณี. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 8(2), 74-86.

Crosby, P. B. (1982). Quality is Free. New York: McGraw-Hill.

Das, G. (2014). Linkages of retailer personality, perceived quality and purchase intention with retailer loyalty: A study of Indian non-food retailing. Journal of Retailing and Consumer Services, 21(3), 407-414.

Hair Jr., J.F., Black, W.C., Babin, B.J., & Anderson, R.E. (2010). Multivariate data analysis. (7th ed.). New York: Pearson.

Hoelter, J. W. (1983). The Analysis of Covariance Structures: Goodness-of-Fit Indices. Sociological. Methods and Research, 11(3), 325-344.

Howard, J. A. (1994). Buyer behavior in marketing strategy. (2nd ed.). New Jersey: Prentice-Hall.

Jiménez-Castillo, D., & Sánchez-Fernández, R. (2019). The role of digital influencers in brand recommendation: Examining their impact on engagement, expected value and purchase intention. International Journal of Information Management, 49, 366-376. https://doi.org/10.1016/j.ijinfomgt.2019.07.009

Kline, R. B. (2011). Principles and Practice of Structural Equation Modeling. New York: Guilford Press,

Kotler, P. (2000). Marketing management: The millennium edition. Marketing Management, 23(6), 188-193.

Kotler, P. (2003). Marketing management. New Jersey: Prentice-Hall.

Mgronline. (2020). สำรวจตลาดกาแฟไทย “ไปต่อ” หรือ “พักก่อน”. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2565, จาก https://mgronline.com/daily/detail/9630000112832

Moslehpour, M., Wong, W.K., Lin, Y.H., & Nguyen, T. L. H. (2017). Top Purchase Intention Priorities of Vietnamese Low-cost Carrier Passengers: Expectations and Satisfaction. Eurasian Business Review, 8(4), 371-389. DOI: 10.1007/s40821-017-0093-5

Oliver, R. L. (2010). Satisfaction A Behavioral Perspective on the Consumer. New York: Taylor & Francis.

Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2010). A Beginner’s Guide to Structural Equation Modeling. (3rd ed.). New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.

Techhub. (2559). LINE เปิดตัว “LINE MAN” แอปผู้ช่วยชั้นเลิศ ให้บริการสั่งซื้ออาหารและแมสเซนเจอร์ระดับมืออาชีพ. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2565, จาก https://www.techhub.in.th/line-man/

Zafar, U., Lodhi, R. N., Rabbani, S., & Ahmad, A. (2020). Nexus between Customer Expectation and E-Purchase Intention: Exploring the Role of Perceived Justice. KASBIT Business Journal, 13(2), 136-155. Retrieved from http://kbj.kasbit.edu.pk/Vol13-2/8.pdf

Zeithaml, V. A. (1988). Consumer Perceptions of Price, Quality and Value: A Mean-End Model. Journal of Marketing, 52(3), 2-22. https://doi.org/10.2307/1251446

Zeithaml, V.A., Parasuraman, A., & Berry, L.L. (1990). Delivery quality service: Balancing customer perceptions and expectations. New York: Collier Macmillan.