ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อความภักดีในการซื้ออาหารบนแอปพลิเคชันโรบินฮู้ดของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความภักดีในการซื้ออาหารบนแอปพลิเคชันโรบินฮู้ดของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และเพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อความภักดีในการซื้ออาหารบนแอปพลิเคชันโรบินฮู้ดของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เคยซื้ออาหารบนแอปพลิเคชันโรบินฮู้ด และพักอาศัยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 399 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และโมเดลสมการโครงสร้าง
ผลการวิจัยพบว่าโมเดลความสัมพันธ์ที่เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านคุณภาพการให้บริการ 2) ด้านความพึงพอใจของลูกค้า 3) ด้านความไว้วางใจ และ 4) ด้านความภักดีของลูกค้า สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี โดยพิจารณาจากค่าสถิติไค-สแควร์ (χ2) = 65.31, ค่าองศาอิสระ (df) = 80, ค่า CMIN/df = 0.82, ค่า GFI = 0.98, ค่า AGFI = 0.96, ค่า SRMR = 0.04, ค่า RMSEA = 0.00 และค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ = 0.77 แสดงว่าตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความภักดีในการซื้ออาหารบนแอปพลิเคชันโรบินฮู้ด ได้ร้อยละ 77 พบว่า ด้านคุณภาพการให้บริการ ด้านความพึงพอใจของลูกค้า และด้านความไว้วางใจ มีอิทธิพลทางตรงต่อความภักดีในการซื้อ ตามลำดับ ซึ่งบริษัทผู้ผลิตแอปพลิเคชันในเครือธนาคารไทยพาณิชย์ สามารถนำผลวิจัยไปวางแผนสร้างกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับผู้บริโภคเพื่อให้เกิดความภักดีในการซื้อต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กรรณิการ์ สิทธิชัย และ ธีระวัฒน์ จันทึก. (2561). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้บริโภคร้านอาหารเพื่อสุขภาพ ในกรุงเทพฯ. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and Arts), 11(1), 65-86.
กริช แรงสูงเนิน. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยด้วย SPSS และ AMOS เพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
กรุงเทพธุรกิจ. (2564). เปิดสถิติคนไทยเสพติด “ออนไลน์ โซเชียล” สูงติดอันดับโลก. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.bangkokbiznews.com/tech/950958.
กิตตินาท นุ่นทอง วงศ์ธีรา, สุวรรณิน และ ดารณี พลอยจั่น. (2564). ปัจจัยคุณภาพการบริการโลจิสติกส์ที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้ใช้บริการธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์ในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 4(3), 42-63.
จุฬาลักษณ์ เทียนรุ่งรัศมี. (2559). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้รับบริการการแพทย์แผนไทยในภาคตะวันออกของประเทศไทย. วารสารวิชาการสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 12(1), 22-28.
ธีรพันธ์ โล่ทองคำ (2550). กลยุทธ์สื่อสารการตลาดแบบครบวงจร. กรุงเทพฯ: ทิปปิ้ง พอยท์
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นายิกา เดิดขุนทด. (2550). LibQUAL+TM: เครื่องมือประเมินคุณภาพบริการห้องสมุดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: อินฟอร์เมชั่น.
บุริม โอทกานนท์. (2552, 12 พฤศจิกายน). แนวคิดเกี่ยวกับความภักดีในตราสินค้า. ประชาชาติธุรกิจ. น. 33.
พนัชกร สิมะของบุญ และ ตติยา คู่มงคลชัย. (2561). ปัจจัยเหตุของความพึงพอใจที่มีต่อความภักดีของลูกค้า: กรณีเว็บไซต์บิวตี้คูล. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and Arts), 11(3), 3121-3139.
โรบินฮู้ด. (2564). รู้จักเรามากขึ้น. สืบค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.robinhood.in.th/about-us/
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564). Food Delivery โควิด...ดันธุรกิจโตต่อ คาดปี 64 มูลค่าทะลุ 5.3 หมื่นลบ. ขยายตัว 18.4 – 24.4%. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2564, จาก https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Food-Delivery-FB-24-08-21.aspx
สปริงนิวส์. (2564). เปิดแอปฯ ให้พร้อม พาส่อง Food Delivery เลือกสั่งเจ้านี้ ดีอย่างไร. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.springnews.co.th/spring-life/808548
สุนันทรา ขำนวนทอง. (2562). คุณภาพการบริการและความไว้วางใจมีผลต่อความภักดีของลูกค้าในการใช้บริการไร่ชมอิน อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการ มทร.สุวรรณภูมิ, 4(2), 173-185.
Brown, I., & Jayakody, R. (2009). B2C e-Commerce Success: A Test and Validation of a Revised Conceptual Model. Electronic Journal Information Systems Evaluation, 12(2), 129-148.
Buzzell, R.D., & Gale, B.T. (1987), The PIMS Principles: Linking Strategy to Performance. New York: The Free Press.
Elizar, C., Indrawati, R., & Syah, T. Y. R. (2020). Service Quality, Customer Satisfaction, Customer Trust, and Customer Loyalty in Service of Paediatric Polyclinic Over Private H Hospital of East Jakarta, Indonesia. Journal of Multidisciplinary Academic, 4(2),105-111.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed.). New York: Pearson.
Hoelter, J. W. (1983). The Analysis of Covariance Structures: Goodness-of-fit Indices. Sociological Methods and Research, 11(3), 325–344. http://dx.doi.org/10.1177/0049124183011003003.
Kotler, P., & Keller, K. L. (2009). Marketing and introduction. (6th ed.). New Jersey: Pearson Education.
Oliver, R. L. (1980). A cognitive model of the antecedents and consequences of satisfaction decisions. Journal of Marketing Research, 17(4), 460-469.
Oliver, R. L. (1997). Satisfaction: A behavioral perspective on the consumer. New York: McGraw-Hill.
Otakanon, B. (2009). 4C's Revolutionary Marketing. Retrieved November 19, 2021, from http://gotoknow.org/blog/jazz-zie/245074
Parasuraman, A., Zeithaml, V., & Berry, L. L. (1985). A conceptual model of service quality and its implications for future research. Journal of Marketing, 49(4), 41–51.
Roberts-Lombard, M. (2009). Customer retention strategies implemented by fast food outlets in the Gauteng, Western Cape and KwaZulu-Natal provinces of South Africa: A focus on something fishy. Nando’s and Steers. African Journal of Marketing Management, 1(2), 70-80.