ประสิทธิผลในภารกิจส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ 2) ศึกษาประสิทธิผลในภารกิจการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ และ 3) ศึกษาระดับประสิทธิผลในภารกิจการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ โดยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี พื้นที่วิจัย คือจังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ในจังหวัดชัยภูมิ จำนวน 400 คน โดยวิธีการคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากตารางของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้วิจัยมี 2 ชนิด คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบเชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมานในการวิจัยเชิงปริมาณ และวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิผลในภารกิจการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในภาพรวมพบว่า ประสิทธิผลในภารกิจการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยรวมรวมอยู่ในระดับมาก 2) คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ โดยรวมพบว่า มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง 3) ประสิทธิผลในภารกิจการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ พบว่า ประสิทธิผลในภารกิจการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในภาพรวมกับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในภาพรวม มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01.
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กัญญา ณัฐไฝคำ. (2561). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 7(2), 19-26. สืบค้นจาก https://journal.bkkthon.ac.th/btu/upload/doc/spit/21/files/19-26.pdf
กันนิษฐา มาเห็ม, ปิยนุช ภิญโย, รัชนี พจนา, ภาสินี โทอินทร์ และ พัฒนี ศรีโอษฐ์. (2563). ประสบการณ์ของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพังและความแตกต่างระหว่างหญิงและชาย: การวิจัยชาติพันธุ์วรรณนาอภิมาน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 38(2), 138-147. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/238977
ธาริน สุขอนันต์ และคณะ (2554). ศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองบ้านสวน จังหวัดชลบุรี. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 41(3), 240-249. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jph/article/view/8255
พระปลัดสมชาย ดำเนิน และ พระมหานันทวิทย์ ธีรภทฺโท. (2562). การพัฒนาตัวชี้วัดพฤฒพลังวิถีพุทธของผู้สูงอายุกลุ่มผู้เกษียณราชการ. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(3), 209-228. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/208207
พิทยา บวรวัฒนา. (2552). ทฤษฎีองค์กรสาธารณะ. กรุงเทพฯ: ศักดิโสภาการพิมพ์.
พัชราภรณ์ พัฒนะ และคณะ. (2560). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เข้าโรงเรียนผู้สูงอายุ จังหวัดสระบุรี(วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2545). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
สมคิด แทวกระโทก. (2560). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัย, (11)1, 157-170.
สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, กรองจิตต์ วงศ์สุวรรณ และราณี พรมานะจิรังกุล. (2540). เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก ชุด 100 ตัวชี้วัด และ 26 ตัวชี้วัด. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง.
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี. (2558). สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานสถิติจังหวัดชัยภูมิ. (2563). รายงานผลสำรวจข้อมูลระดับหมู่บ้าน พ.ศ. 2563 จังหวัดชัยภูมิ. ชัยภูมิ: สำนักงานสถิติจังหวัดชัยภูมิ.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ. (2559). สรุปสถานการณ์ผู้สูงอายุในจังหวัดชัยภูมิ พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2562, จาก http://pr.prd.go.th/chaiyaphum/
อภินันท์ สนน้อย, ปิยาภรณ์ ศิริภานุมาศ และ สุรชัย ปิยานุกูล. (2559). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, (8)2, 172-188. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/bruj/article/view/97132
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Mahem. K., & Nuntaboot, K. (2018). The Community’s Meanings of The Older People Who Require Assistance: Mae Sariang
Municipality, Mae Sariang District, Mae Hong Son Province. Journal of Nursing Science & Health, 41(3), 65-76.
Nualsithong, N., Phuchongchai, T., & Buajan, A. (2020). The Development of Model Activities for Elders’ Quality of Life Improvement in Tambon Na Fai, Muang District, Chaiyaphum Province. Journal of Nursing and Health Care, 38(1), 42-48.