ปัจจัยที่มีผลต่อการทำเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการทำเกษตรอินทรีย์และระดับปัจจัยที่มีผลต่อการทำเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี และ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการทำเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างคือเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรีในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน จำนวน 204 คน สุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลวิจัยพบว่า เกษตรกรมีการทำเกษตรอินทรีย์ อยู่ในระดับมาก ภายใต้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มีทัศนคติต่อการทำเกษตรอินทรีย์ อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการตลาดและการได้รับการสนับสนุนทำเกษตรอินทรีย์ อยู่ในระดับมาก ส่วนการได้รับข่าวสารและความรู้ความเข้าใจในการทำเกษตรอินทรีย์ อยู่ในระดับปานกลาง และพบ 5 ปัจจัยที่มีผลต่อการทำเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร ได้แก่ 1) การตลาดในการทำเกษตรอินทรีย์ 2) รายได้ในการทำเกษตรอินทรีย์ 3) การได้รับการสนับสนุนในการทำเกษตรอินทรีย์ 4) การได้รับข่าวสารในการทำเกษตรอินทรีย์ และ 5) แรงงานในการทำเกษตรอินทรีย์ โดยร่วมกันอธิบายการทำเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรได้ร้อยละ 61.7
จากผลการวิจัยดังกล่าว หน่วยงานภาครัฐ เช่น สำนักงานเกษตรจังหวัด อำเภอ และภาคเอกชนควรให้ความสำคัญในการสื่อสารให้ข้อมูล ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ ประโยชน์ทางด้านการตลาด การวางแผนในการผลิต และการจัดสรรผลประโยชน์แก่เกษตรกร ถือเป็นการช่วยส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำเพื่อเพิ่มผลผลิตและเพิ่มมูลค่าของผลผลิตให้กับเกษตรกรอินทรีย์
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กนกวรรณ เยี่ยมสวัสดิ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกรในพื้นที่จัดเขตเหมาะสมสำหรับการปลูกพืช(วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
กัลยา ใหญ่ประสาน และ สคราญนิตย์ เล็กสุทธิ์. (2562). รายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นฉบับสมบูรณ์ โครงการการพัฒนารูปแบบการตลาดเกษตรอินทรีย์ของเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืน จังหวัดลำพูน. กรุงเพพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น.
คณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
คณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 2560–2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.
จารีพร เพชรชิต. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการทำเกษตรแบบผสมผสานของเกษตรกร ในอำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี(วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชาลิสา สุวรรณกิจ และ กนกเนตร เปรมปรี. (2559). การเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนระหว่างการปลูกข้าวเกษตรอินทรีย์กับเกษตรเคมี. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(2), 519-526.
ณัชชา ลูกรักษ์ และ ดุสิต อธินุวัฒน์. (2556). ปัญหาและอุปสรรคในการปรับเปลี่ยนเพื่อการผลิตพืชผักอินทรีย์ของเกษตรกรจังหวัดราชบุรีที่ผ่านการอบรมโครงการพัฒนาระบบเกษตรอินทรีย์. Journal of Science and Technology, 2(2), 125-133.
ธิดารัตน์ ไชยมงคล และ บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล. (2556). แนวทางการขยายผลการทำเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรหมู่บ้านโพธิ์ทองเจริญ ตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, 44(2 พิเศษ), 153-156.
บุหลัน กุลวิจิตร. (2560). สื่อบุคคลกับการส่งเสริมการเกษตร 4.0. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(3), 2440-2454.
ปรารถนา ยศสุข และคณะ. (2557). เกษตรอินทรีย์ไทย: การประเมินผลการนํานโยบายไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่ของเกษตรกร. รายงานการประชุมวิชาการ การพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน ครั้งที่ 4 วันที่ 11-13 มิถุนายน 2557. (น. 364-372). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล และ สุภาพ ฉัตราภรณ์. (2555). การออกแบบการวิจัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เพชรบุญ ฟักเกตุ, ชมพูนุท โมราชาติ และ อุทัย อันพิมพ์. (2559). การสร้างความมั่นคงทางอาหารของเกษตรกรอินทรีย์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 6(2), 96-104.
ระบบสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร. (2562, 1 มกราคม). วิสาหกิจชุมชนจังหวัดสุพรรณบุรี. สืบค้นจาก https://smce.doae.go.th/Product Category/SmceCategory.php?region_id=&province_id=72&hur_id=&key_word=
รัชนี รูปหล่อ และ วัลภา ว่องวิวิธกุล. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการทำเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี. กรุงเทพฯ: คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
วิฑูรย์ ปัญญากุล. (2559). ความรู้เบื้องต้นเกษตรอินทรีย์. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสายใยแผ่นดิน.
ศันธนีย์ อุ่นจิตติ. (2558). กลยุทธ์การแข่งขันพื้นฐานที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการประกอบธุรกิจส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์ของผู้ประกอบการไทยในตลาดโลก(วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สวรรค์ มณีโชติ และ ดุสิต อธินุวัฒน์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของเกษตรอินทรีย์ในชุมชนเกษตรกรรายย่อย จังหวัดนครสวรรค์. Thai Journal of Science and Technology, 8(6), 598-608.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2558). ยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2558–2564). กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
สำนักงานจังหวัดสุพรรณบุรี. (2562). แผนพัฒนาจังหวัดสุพรรณบุรี พ.ศ. 2561-2564 (ฉบับทบทวน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. สุพรรณบุรี: สำนักงานจังหวัดสุพรรณบุรี.
สุปราณี มีสง่า, นิรันดร์ ยิ่งยวด และ จุฑาทิพย์ ถาวรรัตน์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจปฏิบัติตามแนวทางเกษตรที่ดีและเหมาะสมของเกษตรกร อำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง. วารสารสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 13(1), 222-249.
อภิชาติ ใจอารีย์. (2561). แนวการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหารปลอดภัยสำหรับชุมชน: บทสะท้อนจากภาคปฏิบัติการ. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 38(5), 1-17.
Best, J.W. (1997). Research in Education. Englewood, New Jersey: Prentice-Hell.
Gall, M.D., Brog, W.R., & Gall, J.P. (1996). Education Research: An Introduction. (6th ed). New York: Longman.