รูปแบบการบริหารโรงเรียนสองภาษา (ไทย-จีน) สังกัดกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบของการบริหารโรงเรียนสองภาษา (ไทย-จีน) และ 2) เพื่อศึกษาผลการยืนยันรูปแบบของการบริหารโรงเรียนสองภาษา (ไทย-จีน) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย โรงเรียนสองภาษา (ไทย-จีน) สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 14 โรงเรียน โดยมีผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 15 คน รวมทั้งสิ้น 210 คน เป็นหน่วยวิเคราะห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการบริหารโรงเรียนสองภาษา (ไทย-จีน) สังกัดกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ การวางแผน การจัดองค์กร การดำเนินการ การบริหารงบประมาณ และการติดตามและรายงานผล และ 2 ผลการยืนยันรูปแบบการบริหารโรงเรียนสองภาษา (ไทย-จีน) สังกัดกรุงเทพมหานคร พบว่า รูปแบบการบริหารโรงเรียนสองภาษา (ไทย-จีน) สังกัดกรุงเทพมหานคร มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). Bilingual School โรงเรียนสองภาษา สองวัฒนธรรม. สืบค้นจาก https://www.rakluke.com/learning-all/education/item/bilingual-school.html
เกษรา เพิ่มสุขรุ่งเรือง. (2564). การเสริมสร้างวินัยนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา. วารสารศิลปการจัดการ, 5(3), 645-656.
ณัฐจิรา ธาดาเกื้อกุลวงศ์, ภารดี อนันต์นาวี และ พงศ์เทพ จิระโร. (2564). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานบุคคลสำหรับโรงเรียนสองภาษาของโรงเรียนเอกชน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(2), 368-369. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/250514
พงศปณต พรมมา ช่อเพชร เบ้าเงิน และ เปรมจิต ขจรภัย ลาร์เซ่น. (2557). การพัฒนาองค์ประกอบการบริหารโรงเรียนสองภาษาในประเทศไทย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 37(2), 68-78. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDKKUJ/article/view/50795
พรทิพย์ เดชพิชัย, จิราภรณ์ พงษ์โสภา, ณัฐกฤตา สุวรรณทีป, สิรวัลภ์ เรืองช่วย และ เสรี ตู้ประกาย, (2558). การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบสองภาษาในโรงเรียนเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
พรยุพา ลือสิงหนาท. (2552). การประเมินโครงการโรงเรียนสองภาษา (หลักสูตรภาษาจีน) สังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร.
ไพผกา ผิวดำ. (2564). ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสู่ความสำเร็จของสถานศึกษา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 3(1), 11-18. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/250580
ภัทรภรณ์ น้อยกอ. (2562). รูปแบบการนิเทศโรงเรียนสองภาษาระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 19,(3), 81-92. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/147512
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. (2564). สถาบันขงจื่อในประเทศไทย. สืบค้นจาก https://www.dpu.ac.th/msrci/about.php
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
Likert, R. (1932). A Technique for the Measurement of Attitudes. Archives Psychological, 140, 5-55.
Phumphongkhochasorn, P., Damnoen, P. S., Suwannaprateep, T., & Phoomparmarn, U. (2021). National Educational Standards and the Improvement of Thai Education System with World Class. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(1), 75-86. https://so06.tci-
thaijo.org/index.php/ajrc/article/view/245928