ภาวะผู้นำของผู้บริหารกับองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อทราบภาวะผู้นำของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม (2) เพื่อทราบองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม (3) เพื่อทราบความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำของผู้บริหารกับองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่าง คือ สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม จำนวน 63 แห่ง โดยมีผู้ให้ข้อมูลสถานศึกษาละ 3 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการ หรือ รักษาราชการแทน จำนวน 1 คน รองผู้อำนวยการ หรือ หัวหน้าฝ่ายบริหารงานบุคคล จำนวน 1 คน และครูผู้สอนจำนวน 1 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 189 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำของผู้บริหารตามแนวคิดของคูซและพอสเนอร์ และองค์กรสมรรถนะสูงตามแนวคิดของบลังชาร์ด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลวิจัยพบว่า
1) ภาวะผู้นำของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาจำแนกตามรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ด้าน โดยเรียงลำดับตามค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการเสริมสร้างกำลังใจ และด้านการสร้างแรงบันดาลใจในการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน อยู่ในระดับมาก 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการมอบอำนาจให้ผู้อื่นสามารถปฏิบัติงาน ด้านการแสดงเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติ และด้านการท้าทายกระบวนการ 2) องค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาจำแนกตามรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด 4 ด้าน โดยเรียงลำดับตามค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการสื่อสารอย่างเปิดเผยระหว่างบุคลากรในองค์กร รองลงมาคือด้านการให้ความสำคัญต่อผู้รับบริการเป็นสำคัญ ด้านระบบ โครงสร้าง และกระบวนการการทำงานสนับสนุนวิสัยทัศน์ และด้านการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง อยู่ในระดับมาก 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการแบ่งปันอำนาจและการมีส่วน และ ด้านการมีวิสัยทัศน์ที่ทุกคนในองค์กรมองเห็นภาพ 3) ภาวะผู้นำของผู้บริหารกับองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในระดับสูงและลักษณะคล้อยตามกัน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์กรการรับส่งสินค้าและวัสดุภัณฑ์.
จิราภรณ์ เพชรทัต และ สำเริง อ่อนสัมพันธุ์. (2560). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารกับความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 7(2), 105-116. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EdAd/article/view/113785/88404
ชินวัฒน์ ปานมั่งมี. (2563). ภาวะผู้นำเชิงคุณภาพของผู้บริหารกับการดำเนินงานวัฒนธรรมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2. วารสารศิลปการจัดการ, 4(3), 686–699. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jam/article/view/243423
เพ็ญศิริ ฤทธิกรณ์ และ ประเสริฐ อินทร์รักษ์. (2560). ทักษะการบริหารของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของโรงเรียน. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(1), 166-175. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EdAd/article/view/113820
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสมุทรสงคราม. (2562). แผนพัฒนาการศึกษา (พ.ศ. 2562-2565) จังหวัดสมุทรสงคราม. สมุทรสงคราม: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสมุทรสงคราม.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. (2563). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2563. สมุทรสงคราม: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม.
Best, J. W. (1970). Research in Education. New Jersey: Prentice-Hall.
Blanchard, K. (2010). Leading at A Higher Level: Blanchard on Leadership and Creating high Performing Organizations. New Jersey: Blanchard Management Corporation.
Damnoen, P. S., Phumphongkhochasorn, P., Punwasuponchat, N., & Srichan, P. W. (2022). The Development of Learning Management Design Models in Compulsory Subjects of the Master of Education Program in Educational Administration Innovation in Order to Enhance the Characteristics of Learners According to the Needs of the Professional. International Journal of Early Childhood Special Education, 14(1), 2091-2096. Retrieved from https://doi.org/10.9756/ INT-JECSE/V14I1.242
Buytendijk, F. (2006). Five Key to Building High Performance Organization. Business Performance Management Magazine, 4(1), 24-47.
Kouzes, J. M., & Posner, B. Z. (2012). The Leadership Challenge: How To Make Extraordinary Things Happen in Organizations. (5th ed.). California: Jossey-Bass.
Phumphongkhochasorn, P., Damnoen, P. S., Suwannaprateep, T., & Phoomparmarn, U. (2021). National Educational Standards and the Improvement of Thai Education System with World Class. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(1), 75-86. Retrieved from
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ajrc/article/view/245928