ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าที่ใช้ผลิตภัณฑ์ของ บริษัท จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ภวาสุ ตันติเสรีรัตน์
ชวนชื่น อัคคะวณิชชา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของลูกค้า ภาพลักษณ์ขององค์กร ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร ความพึงพอใจของลูกค้าและความจงรักภักดีของลูกค้าที่ใช้ผลิตภัณฑ์ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการมีส่วนร่วมของลูกค้า ภาพลักษณ์ขององค์กร ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กรที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าที่ใช้ผลิตภัณฑ์ และ3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของความพึงพอใจของลูกค้าที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าที่ใช้ผลิตภัณฑ์ การศึกษาครั้งนี้ศึกษาในบริษัท จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ในเขตกรุงเทพมหานคร รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ พื้นที่วิจัย คือ เขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ ลูกค้าที่ใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัท จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ใช้วิธีคัดเลือกโดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันและการถดถอยเชิงพหุ


ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นของตัวแปรการมีส่วนร่วมของลูกค้า อยู่ในระดับน้อย ส่วนความคิดเห็นของตัวแปรภาพลักษณ์ขององค์กร ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร ความพึงพอใจของลูกค้าและความจงรักภักดีของลูกค้า อยู่ในระดับมาก 2) การมีส่วนร่วมของลูกค้า ภาพลักษณ์ขององค์กร ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความพึงพอใจของลูกค้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และ3) ความพึงพอใจของลูกค้ามีอิทธิพลเชิงบวกต่อความจงรักภักดีของลูกค้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 

Article Details

How to Cite
ตันติเสรีรัตน์ ภ., & อัคคะวณิชชา ช. (2022). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าที่ใช้ผลิตภัณฑ์ของ บริษัท จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(3), 1222–1237. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/259304
บท
บทความวิจัย

References

ฐาณพัฒฌ์ ภูแดนกลาง และ ชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา. (2564). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการขนส่ง บริษัท แฟลช เอ็กซ์เพรส จำกัด. วารสารศิลปการจัดการ, 5(1), 17-29. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jam/article/view/245453

ธฤษิดา ไทยถาวร และ ศุภสิทธิ์ เลิศบัวสิน. (2562). องค์ประกอบของผลิตภัณฑ์และคุณค่าตราสินค้าที่มีผลต่อความภักดีในตราสินค้าของผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าในเขตพื้นที่จังหวัดชลบุรี. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 11(1), 102-112. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/185945

ธีรนาฏ ขาวละออง และ สมบัติ ธำรงสินถาวร. (2564). ปัจจัยทางด้านการตลาดที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้บริโภคต่อร้านอาหารเชิงท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี: บทบาทของความชื่นชอบความหลากหลายของผู้บริโภค. วารสารรัชภาคย์, 15(42), 354-367. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RJPJ/article/view/252451

ภูมิภัทร รัตนประภา. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณค่าตราสินค้า ส่วนประสมทางการตลาด และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทยที่มีอิทธิพลต่อกลยุทธ์การสร้างความภักดีต่อตราสินค้า. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 7(2), 43-56. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/38481

รุ่งโรจน์ สงสระบุญ. (2564). โมเดลสมการโครงสร้างของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความภักดีเชิงพฤติกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 27(1), 220-231. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemmsu/article/view/241178

ลัสดา ยาวิละ, อรนุช สืบบุญ และ รัตน์ชนก พราหมณ์ศิริ. (2563). การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ ความจงรักภักดีของผู้ประกอบการธุรกิจ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2(3), 27-39. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmspsru/article/view/252809

Barnard, C. (1938). The Functions of the executive. Massachusetts : Havard University.

Carroll, A.B. (1991). The Pyramid of Corporate Social Responsibility: Toward the Moral. Management of Organizational Stakeholders, Business Horizons, 54(4), 39-46.

Dabholkar, P. A. (2015). How to Improve Perceived Service Quality by Increasing Customer Participation. In: Dunlap, B. (eds) Proceedings of the 1990 Academy of Marketing Science (AMS) Annual Conference. Developments in Marketing Science: Proceedings of the Academy of Marketing Science. Springer. https://doi.org/10.1007/978-3-319-13254-9_97

Kotler, P. (1997). Principles of Marketing. New Jersey: Prentice-Hall.

Kotler, P. & Keller, K. (2009). Marketing management. (13th ed.). New York: Prentice-Hall

Reichheld, F. F., & Schefter, P. (2000). E-Loyalty: Your Secret Weapon on the Web. Harvard Business Review, 78(4), 105-113.

Sharma, K., Ow-jariyapithak, D., Dasri, P., Van Brecht, D., & Sahakijpicharn, D. (2021). Impact of Corporate Governance on Firm Efficiency: A Study of Thai Banking Companies. International Journal of Multidisciplinary in Management and Tourism, 5(2), 66-86. https://doi.org/10.14456/ijmmt.2021.8

Szczepanka, K., & Gawron, P. P. (2011). Changes In Approach To Customer Loyalty. Contemporary Economics, 5(1), 60-69.

Tan C.C., Damnoen P.S., Toprayoon Y., Dabjan N., Damkam K. (2022). An Exploratory Study of the Spirituality-Oriented Experiences of Tourists. In: Srivastava P., Thakur S.S., Oros G.I., AlJarrah A.A., Laohakosol V. (eds) Mathematical, Computational Intelligence and Engineering Approaches for Tourism, Agriculture and Healthcare. Lecture Notes in Networks and Systems, 214, 307-314. https://doi.org/10.1007/978-981-16-3807-7_25