การพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างของปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล โรงเรียนมัธยมศึกษาในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล 2) เพื่อพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างของปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล และ 3) เพื่อตรวจสอบความกลมกลืนของโมเดลสมการโครงสร้างของปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดการพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือโรงเรียนมัธยมศึกษาในกลุ่มภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 300 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานและสถิติอ้างอิง ในกรณีการวิจัยเชิงปริมาณ ผลการวิจัยพบว่า
1) ภาวะผู้นำเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล อยู่ในระดับมากที่สุด
2) โมเดลสมการโครงสร้างของปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล พบว่า ตัวแปรแฝงที่มีอิทธิพลทางตรง ได้แก่ วิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยี สมรรถนะทางเทคโนโลยี และการบูรณาการทางเทคโนโลยี สำหรับตัวแปรแฝงที่มีอิทธิพลทางอ้อม ได้แก่ วิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยี
3) โมเดลสมการโครงสร้างปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลที่พัฒนาขึ้น มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีการศึกษาตัวแปรที่มีปัจจัยส่งผลและสัมพันธ์กันอย่างชัดเจน
ทั้งนี้ องค์ความรู้/ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ มีระดับภาวะผู้นำเทคโนโลยี อยู่ในระดับมากที่สุด สะท้อนการมีศักยภาพของผู้บริหารสถานศึกษาได้อย่างดี นอกจากนี้ตัวแปรมีความสัมพันธ์และมีความกลมกลืนกันตามการทดสอบทางการวิจัย ถึงแม้จะมีตัวแปรบางตัวมีอิทธิพลทางตรงน้อยกว่าตัวแปรอื่น ก็ต้องอาศัยอิทธิพลของตัวแปรอื่น ๆ เพื่อส่งไปถึงภาวะผู้นำเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). ประกาศนโยบายและความสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
คมพิศิษฐ์ ศรีบุญเรือง. (2558). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(วิทยานิพนธ์) มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ดวงเดือน ตั้งประเสริฐ. (2557). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของการบริหารงานของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา. ในงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ การประชุมใหญ่ปี 2014. (น.88-96). เมืองนครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ธนกฤต พราหมน์นก. (2560). การศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารระดับมัธยมศึกษาตอนต้นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(วิทยานิพนธ์). มหาวิทยาลัยบูรพา.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2558). การวิเคราะห์ทางสถิติขั้นสูงที่เหมาะสมกับการวิจัยทางจิตวิทยาและพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญจันทร์ บุญจันทร์. (2554). แบบจำลองสมการโครงสร้างของความเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีของสถาบันการศึกษาขั้นพื้นฐานผู้บริหาร(วิทยานิพนธ์). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานศึกษาธิการภาค 5. (2563). ข้อมูลสารสนเทศ ประจำปีการศึกษา 2563. นครศรีธรรมราช: ประยูรการพิมพ์.
สุวิมล ติรกานันท์. (2554). การประเมินโครงการ: แนวทางปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อโนทัย จำปาวงศ์. (2553). ปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อคุณภาพของระบบสารสนเทศในสถานศึกษาสถาบันอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(วิทยานิพนธ์) มหาวิทยาลัยบูรพา.
อินท์ฉัตร สุขเกษม. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีของสำนักงานป้องกันและควบคุมโรคในบุคลากร กระทรวงของสุขภาพ. นครราชสีมา: สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 19.
Brown, T. (2010). Construct validity: A unitary Styles of School Principals as Predictors of Organization Climate and Teacher Job Satisfaction. Dissertation Abstracts International. 43(12), 3762-A.
Kline. R.B. (2011). Principles and Practice of Structural Equation Modeling. (4th ed.). New York: The Guilford Press.
Miller M.L. (2008). A mixed-method Study to Identity Aspects of Technology Leadership in Elementary schools. (Doctoral Dissertation). Regent’s University.
Stegall P. (1998). The Pricipal-key to Technology Implementation. New York: Macmillan.
Zhong L. (2017). Indicators of Digital Leadership in the Context of K-12 Education. Journal of Education Technology Development and Exchange, 10(1), 27-40.