รูปแบบการจัดการเรียนรู้ทักษะอาชีพเพื่อเสริมสร้างการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านฝั่งแดง (พระเทพวรมุนีอุปถัมภ์)

Main Article Content

ฉัตรปวีณ์ ธนัตนัคพันธ์
พิจิตรา ธงพานิช
สฤษดิ์ ศรีขาว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพปัจจุบัน และความต้องการรูปแบบ และ 2. พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ทักษะอาชีพเพื่อเสริมสร้างการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 จังหวัดนครพนม กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้สอนวิชาการงานอาชีพ จำนวน 5 คน และนักเรียน จำนวน 15 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง และผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ในการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินของผู้เชี่ยวชาญในการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้สอนได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถของนักเรียนตามกรอบเนื้อหาและตัวชี้วัดในหลักสูตรค่อนข้างมาก แต่ยังต้องการเสริมสร้างการคิดอย่างมีวิจารณญาณในมุมมองที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือในการค้นหาคำตอบ การคิดวิเคราะห์และไตร่ตรองข้อมูลเพื่อสร้างความเข้าใจในองค์ความรู้ใหม่ และ 2) ได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีองค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ แนวคิด ทฤษฎีพื้นฐาน, วัตถุประสงค์ของรูปแบบ, กระบวนการจัดการเรียนรู้, ปัจจัยทางสังคมและการตอบสนอง, ปัจจัยสนับสนุนและแหล่งเรียนรู้ และการประเมินผล ผลการประเมินคุณภาพและความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
ธนัตนัคพันธ์ ฉ., ธงพานิช พ., & ศรีขาว ส. (2023). รูปแบบการจัดการเรียนรู้ทักษะอาชีพเพื่อเสริมสร้างการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านฝั่งแดง (พระเทพวรมุนีอุปถัมภ์). วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 754–771. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/262970
บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ฉัตรปวีณ์ ธนัตนัคพันธ์, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

 

 

พิจิตรา ธงพานิช, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

 

 

สฤษดิ์ ศรีขาว, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

 

 

References

ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2561). การประยุกต์ใช้ SPSS วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 8). มหาสารคาม: ตักศิลาการพิมพ์.

เพ็ญนภา กุลนภาดล. (2559). การปรึกษาครอบครัว. ชลบุรี: เนติกุลการพิมพ์.

เพ็ญพิศุทธิ์ เนคมานุรักษ์. (2537). การพัฒนารูปแบบพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักศึกษาครู (รายงานผลงานวิจัย). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มยุรี หรุ่นขำ. (2544). ผลการใช้รูปแบบพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณที่มีต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหาในบริบทของชุมชนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลักขณา สรีวัฒน์. (2548). การคิด. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

วิจารณ์ พานิช. (2555). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล.

วิภาพร แก้วขวัญ และ วัลลยา ธรรมอภิบาล อินทนิน. (2560). การสร้างแบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3. วารสาร AL-NUR บัณฑิตวิทยาลัย, 12(22), 47-58.

วิริยะ ฤาชัยพานิชย์. (2558). การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้, 1(2), 23-37.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2566, จาก https://www.obec.go.th/archives/12738.

Clark, C.R., & Mayer, E.R. (2003). e-Learning and the science of instruction. San Francisco: John Wiley & Sons.

Ennis, R.H., & Millman. (1985). Cornell Critical Thinking Tests Level X & Level Z-Manual. (3rd ed.). California: Midwest Publication.

Erikson, E. H. (1968). Identity: Youth and Crisis. New York: Norton.

Ginzberg, E. (1972), Toward a Theory of Occupational Choice: A Restatement. Vocational Guidance Quarterly, 20, 2-9.

Ginzberg E., Ginsburg S.W., Axelrad S., & Herma J.L. (1951). Occupational Choice: An Approach to a General Theory. Columbia University.

Joyce, B., Marsha, W., & Calhoun, E. (2011). Models of Teaching. Boston: Pearson Education.

Miller, M. A., & Badcock, D. E. (1996). Critical Thinking Applied to Nursing. Missouri: Mosby-yearbook.

Morrison, G.R. (2010). Designing Effective Instruction. (6th ed.). New Jersey: John Wiley & Sons.

Ong, A., & Borich G. D. (2006). Teaching Strategies that Promote Thinking: Models and Curriculum Approaches. Singapore: McGraw-Hill.

Super, D.E. (1957). The Psychology of Careers. New York: Harper & Row.

Super, D. E. (1976) Career Education and the Meaning of Work; monographs on career education. Washington: The Office of Career Education, US Office of Education.

Super, D. E. (1980). A life-span, life space approach to career development. Journal of Vocational Behavior, 13, 282-298.

Tiedeman, D.V., & O'Hara, R.P. (1963). Career Development: choice and adjustment. Princeton: College Entrance Examination Board.