ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรบนเพจเฟซบุ๊กของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤติกรรมความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรบนเพจเฟซบุ๊กของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) เพื่อค้นหาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรบนเพจเฟซบุ๊กของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เคยซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรบนเพจเฟซบุ๊กและพักอาศัยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 357 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและโมเดลสมการโครงสร้าง
ผลการวิจัยพบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการรับรู้ในคุณภาพสินค้า 2) ด้านการสมัครใจซื้อสินค้า 3) ด้านทัศนคติ 4) ด้านการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และ 5) ด้านพฤติกรรมความตั้งใจซื้อ สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี โดยพิจารณาจากค่า CMIN/df = 1.41, ค่า GFI = 0.94, ค่า AGFI = 0.90, ค่า SRMR = 0.02, ค่า RMSEA = 0.03 และค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ = 0.93 แสดงว่าตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรบนเพจเฟซบุ๊ก ได้ร้อยละ 93 พบว่า ด้านการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงและด้านทัศนคติ เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความตั้งใจซื้อ ตามลำดับ ซึ่งผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สมุนไพรบนเพจเฟซบุ๊กสามารถนำผลวิจัยไปวางแผนการตลาดให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคเพื่อให้เกิดพฤติกรรมความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรในครั้งต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
นฤมล ชูกันภัย, หุสนา มุกดา และ หรรษมน เพ็งหมาน. (2564). ทัศนคติและส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าเฮ้าส์แบรนด์เทสโก้โลตัสของผู้บริโภคในจังหวัดสงขลา. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ, 14(1), 83-100.
นันทพร เขียนดวงจันทร์ และ ขวัญกมล ดอนขวา. (2562). ทัศนคติ และความตั้งใจที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในการซื้อสินค้าผ่านไลน์. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 13(2), 58-78.
บุรฉัตร จันทร์แดง, เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร และ สัญญา เคณาภูมิ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม. วารสารวิชาการธรรมทัศน์, 19(2), 235-244.
ปฐมาพร เนตินันทน์. (2562). ปัจจัยหลักของกลุ่มอ้างอิงในฐานะเครื่องมือสื่อสารตราสินค้าที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคของ “Gen Y”. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 11(2), 291-308.
พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2565, จาก shorturl.at/tAH24
มณีรัตน์ แสงบุญไทย, สุขุมาล เกิดนอก และ วรญา โรจนาปภาพร. (2565). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการตั้งใจซื้ออาหารออร์แกนิคของผู้บริโภคในประเทศไทย. วารสารศิลปการจัดการ, 6(2), 621-636.
รุ่งนภา บริพนธ์มงคล. (2563). การรับรู้คุณภาพสินค้าและคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำเครื่องทำความสะอาดอุตสาหกรรม. วารสารศิลปการจัดการ, 4(1), 166-179.
วิไลพรรณ วัฒนพงศ์ และ ฉันทนา ปาปัดถา. (2565). ทัศนคติที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกบริโภคอาหารคลีนเพื่อสุขภาพในช่วงสถานการณ์ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 34-49.
สุพัชรี เกิดสุข, พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม และ ทัศนี ประสบกิตติคุณ. (2561). การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงและทัศนคติต่อการให้นมแม่ในที่สาธารณะของมารดาที่มีบุตรอายุ6-12 เดือน. วารสารสภาการพยาบาล, 33(3), 114-124.
สุมัยยา นาคนาวา. (2564). ทัศนคติ พฤติกรรม และส่วนผสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์และส่งผลต่อทัศนคติการใช้บริการร้านอาหารฮาลาลของผู้บริโภคที่ไม่ใช่มุสลิม. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 15(1), 318-336.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2565). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2565. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2565, จาก shorturl.at/drQS5
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2562). ถึงเวลาโกยเงิน SME รุกตลาดสมุนไพร. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2565, จาก https://t.ly/MxWx
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563). กระแสรักสุขภาพจากโควิดสร้างโอกาสธุรกิจ SME. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2565, จาก shorturl.at/bpJX9
อภิลักษณ์ ธรรมวิมุตติ และ ประสพชัย พสุนนท์. (2559). อิทธิพลของทัศนคติ การคล้อยตามบรรทัดฐานของกลุ่มอ้างอิง การควบคุมพฤติกรรมและบุคลิกภาพแบบเปิดเผยที่มีต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาหญิงระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภูมิภาคตะวันตก. วารสารอิเล็กทรอนิกส์, มหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(1), 1533-1548.
Demetillo, A.M. (2019). Simple Voluntariness. Retrieved February 25, 2023, from https://www.scribd.com/document/515953691/1#
Forgeard, V. (2022, March 26). Why Are Voluntariness and Responsibility Important. Retrieved February 25, 2023, from https://brilliantio.com/why-are-voluntariness-and-responsibility-important/
Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J., & Anderson, R.E. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.
Hair, J.F., Hult, G.T.M., Ringle, C.M., & Sarstedt, M. (2014). A Primer on Partial Least Squares Structural Equation Modeling (PLS-SEM). California, CA: Sage Publications.
Hoelter, J.W. (1983). The Effects of Role Evaluation and Commitment on Identity Salience. Social Psychology Quarterly, 46(2), 140–147.
Hu, L.T., & Bentler, P.M. (1999). Cutoff Criteria for Fit Indexes in Covariance Structure Analysis: Conventional Criteria Versus New Alternatives. Structural Equation Modeling, 6(1), 1–55.
Jang, Ha-Won., & Cho, Meehee. (2022). The relationship between ugly food value and consumers’ behavioral intentions: Application of the Theory of Reasoned Action. Journal of Hospitality and Tourism Management, 50, 259–266. https://doi.org/10.1016/j.jhtm.2022.02.009.
Joreskog, K.G., & Sorbom, D. (1984). Advances in Factor Analysis and Structural Equation Models. Lanham: Rowman & Littlefield Publishers.
Kline, R.B. (2011). Principles and Practices of Structural Equation Modeling. New York: The Guilford Press.
Kokila, V., & Sampathlakshmi, N. (2020). Review Paper on the Influence of Subjective Norms on the Pre-Purchase Behavior of Electronic Products – An Indian Narrative. International Journal of Management, 11(9), 1145-1151.
Lestari, I., Chaniago, S., Azzahra, S., & Effendi, I. (2019). Trust Identification and Smartphone Purchase Decisions (Structural Equation Modeling Approach). International Journal of Civil Engineering and Technology, 10(2), 1020-1032.
Li, M. (2018). Factors Influencing Customer Repurchase Intention by using Third-party Platform Booking Flight Ticket in China. (Master of Business Administration). The University of the Thai Chamber of Commerce.
Schreiber, J.B., Stage, F.K., King, J., Nora, A., & Barlow, E. A. (2006). Reporting Structural Equation Modeling and Confirmatory Factor Analysis Results: A Review. The Journal of Educational Research, 99(6), 323–337.
Schumacker, R.E., & Lomax, R.G. (2004). A Beginner's Guide to Structural Equation Modeling. (2nd ed.). Lawrence Erlbaum Associates Publishers.
Thompson, B. (2004). Exploratory and Confirmatory Factor Analysis: Understanding Concepts and Applications. American Psychological Association.
Ullman, M.T. (2001). The declarative/procedural Model of Lexicon and Grammar. Journal of Psycholinguistic Research, 30(1), 37–69.
Wolf, L.J., Haddock, G., & Maio, G.R. (2020). Attitudes. Oxford Research Encyclopedias. Retrieved February 25, 2023, from https://doi.org/10.1093/acrefore/9780190236557.013.247