การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานผสานการคิด เพื่อส่งเสริมความสามารถในการตัดสินใจ เชิงจริยธรรม สำหรับนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานผสานการคิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมสำหรับนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา ใช้แนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานและการคิดเป็นกรอบการวิจัย กลุ่มเป้าหมาย คือ นิสิตที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น และเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบทดสอบความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรม 2) แบบประเมินคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรม และ 3) แบบประเมินการแสดงพฤติกรรมการตัดสินใจเชิงจริยธรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละมาวิเคราะห์ระดับพัฒนาการทางจริยธรรม
ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 เผชิญสถานการณ์ ขั้นที่ 2 เสนอผ่านแนวคิด ขั้นที่ 3 ผสานความแตกต่าง และขั้นที่ 4 สร้างแนวทางตนเอง 2. ภาพรวมกลุ่มเป้าหมายทุกคนมีความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมเพิ่มขึ้น ส่วนความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมรายบุคคล พบว่า เพิ่มขึ้น 4, 5, และ 6 หน่วยการเรียนรู้ จำนวน 2 คน 5 คน และ 2 คน ตามลำดับ ลดลง 1 หน่วยการเรียนรู้ จำนวน 1 คน และหน่วยการเรียนรู้ที่กลุ่มเป้าหมายมีความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมคงที่ ประกอบด้วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 1, 3, 5 และ 7 จำนวน 3 คน 8 คน 1 คน และ 4 คน ตามลำดับ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
ฌลณัญ ธราพร ศิริรัตน์ ศรีสอาดและ อุดมลักษม์ กูลศรีโรจน์. (2561). การพัฒนากิจกรรมวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการตัดสินใจโดยใช้ทฤษฎีการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลของ Simon. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 11(2), 171-182. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/edjour_stou/article/view/162000/118454
ณัฐกิตติ์ นาทา. (2558). กลยุทธ์การสอนภาษาไทยในศตวรรษที่ 21 เพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 13(1), 57-69.
สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/94896/74148
เดชา เดชะวัฒนะไพศาล. (2562). คิดก่อนคิด พัฒนาความคิด เปลี่ยนชีวิตให้ทันเกม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ตะวัน ไชยวรรณ และ กุลธิดา นุกูลธรรม. (2564). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน: การเรียนรู้แบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมความรู้ของผู้เรียนในโลกแห่งความจริง. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 15(2), 251-263. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JournalGradVRU/article/view/246642/168 302
ธนัลภร สินพรพญา และ พระครูพิพิธสุตาทร. (2560). การตัดสินใจตามแนวทางทฤษฎีเกมและพระพุทธศาสนา. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 25(47), 267-281. สืบค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournal/article/view/76729/61656
บุญมี โททำ, เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร และ สัญญา เคณาภูมิ. (2561). การสังเคราะห์กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีพฤติกรรมเชิงจริยธรรม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 9(2), 105-122. สืบค้นจาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/humanjubru/article/view/161061/116145
เบญญพร มหาพิรุณ, เรณู จันทะวงศา และ สุริยะ พุ่มเฉลิม. (2560). ตัวชี้วัดคุณธรรมจริยธรรมของบัณฑิต. Southeast Bangkok Journal, 3(2), 127-140. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/ index.php/SB_Journal/article/view/191543/133704
ประพรรธน์ พละชีวะ และคณะ. (2560). การใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนร่วมกันเพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(3), 246-258. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ JournalGradVRU/article/view/108250/85644
พงศธร มหาวิจิตร. (2560). นวัตกรรมการเรียนรู้จากฟินแลนด์. นิตยสาร สสวท., 46(209), 40-45. สืบค้นจาก https://emagazine.ipst.ac.th/209/#40
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2563, 24 มิถุนายน). วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระยะ 12 ปี (พ.ศ. 2560 - 2571). สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.ku.ac.th/th/operation-plan-and-action-plan-of-ku/download/3126.
รัฐบุรุษ คุ้มทรัพย์. (2558). บทบาทของอาจารย์ในการส่งเสริมจริยธรรมแก่นักศึกษา. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 8(2), 1-12. สืบค้นจาก http://journalgrad. ssru.ac.th/index.php/issue14/article/view/365/395
วาสนา กีรติจำเริญ และ อิสรา พลนงค์. (2563). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการสื่อสารและการนำเสนอของนักศึกษาระดับปริญญาตรีโดยใช้วิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5E กับวิธีการสอนโดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 14(1), 29-43. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.3
วิรัช วรรณรัตน์. (2558). หลักและวิธีการสอบวัด. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 1(2), 1-12. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/112334/87545
วีระพงษ์ พิมพ์สาร. (2562). การศึกษาไทยกับการประยุกต์ใช้ Phenomenon - Based Learning. นิตยสาร สสวท, 47(220), 46-50. สืบค้นจาก https://emagazine.ipst.ac.th/220/46/
วุฒิ ถนอมวิริยะกุล, ปริญญา ทองสอน และ สมศิริ สิงห์ลพ. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร, 7(2), 509-524. สืบค้นจาก http://ojs.mbu.ac.th/index.php/ edj/article/view/529/434
สงวน อินทร์รักษ์. (2559). ทักษะการคิดที่มีประสิทธิภาพของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารจันทรเกษมสาร, 22(43), 17-31. สืบค้นจาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/crujournal/article/view/ 78261/62684
สนธิ พลชัยยา. (2557). สะเต็มศึกษากับการคิดขั้นสูง. นิตยสาร สสวท., 42(189), 7-10. สืบค้นจาก https://emagazine.ipst.ac.th/189/IPST189/assets/common/downloads/IPST189.pdf
สุเสารัจ ประพันธ์ศิริ. (2556). การพัฒนาการคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
โสรยา งามสนิท, ปรียา สมพืช และ นิศรารัตน์ วิไลลักษณ์. (2564). การติดตามผลกระบวนการมีส่วนร่วมในการผลิตสื่อเพื่อการเรียนรู้จริยธรรมวิชาชีพสื่อสารมวลชน.วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(3), 253-263. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/252102/170554
สำนักงาน ก.พ. (2555). คู่มือ: การพัฒนาและส่งเสริมการปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมข้าราชการพลเรือนสำหรับคณะกรรมการจริยธรรม. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2565, จาก https://www.ocsc.go.th/download/2555/คู่มือการพัฒนาและส่งเสริมการปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมข้าราชการพลเรือน.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2565, สิงหาคม). รายงานผลการประเมินคุณธรรม จริยธรรมและความเป็นพลเมืองของผู้เรียนทุกช่วงชั้น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.moe.go.th/wp-content/uploads/2022/09/05.รายงานผลการประเมินคุณธรรม-จริยธรรม.pdf
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565, 24 ตุลาคม). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570). สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.nesdc.go.th/download/Plan13/Doc/Plan13_Final.pdf.
อรนันท์ หาญยุทธ. (2561). การตัดสินใจเชิงจริยธรรม: แนวคิดและการประยุกต์ใช้. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(2), 111-119. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/143967/106508
อรพรรณ บุตรกตัญญู. (2561). การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อการสร้างมุมมองแบบองค์รวมและการเข้าถึงโลกแห่งความจริงของผู้เรียน. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 46(2), 348-365. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/131909/99030
Akkas, E., & Eker, C. (2021). The Effect of Phenomenon-Based Learning Approach on Students' Metacognitive Awareness. Educational Research and Reviews, 16(5), 181-188. Retrieved from https://files.eric.ed.gov/fulltext/EJ1296934.pdf
Allen, M. (2004). Smart Thinking: Skills for Critical Understanding and Writing. (2nd ed.). New York: Oxford University Press.
Alvani S. M., & KarimiJahromi S. (2016). Ethical Decision Making in Issues Management. IOSR Journal of Humanities and Social Science (IOSR-JHSS), 21(7), 34-39. https://doi.org/10.9790/0837-2107043439
Ang, J. W. J., Huang, L. Q. H., & Ng, Y. N. A. (2022). Instagram as a Tool in Phenomenon-Based Learning: An Educational Design Research. Pupil: International Journal of Teaching, Education and Learning, 6(1), 322-341. https://doi.org/10.20319/pijtel.2022.61.322341
British Association for Counselling and Psychotherapy. (2018). Good Practice in Action 033 Research Overview: Ethical Decision Making Within the Counselling Professions. Leicestershire. England: British Association for Counselling and Psychotherapy.
Li, Y. M., & Luo, Y. F. (2022). The Influencing Factors of Clinical Nurses’ Problem-Solving Dilemma: A Qualitative Study. International Journal of Qualitative Studies on Health and Well-being, 17(1), 1-7. https://doi.org/10.1080/17482631.2022.2122138
March, D., Díaz Pérez, W., & Escárzaga Morales, M. (2019). Enhancing Language Awareness and Competence-building through a Fusion of Phenomenon-based Learning and Content and Language Integration. Journal of e-Learning and Knowledge Society, 15(1), 55-65. Retrieved from https://www.je-lks.org/ojs/index.php/Je-LKS_EN/issue/view/130/2
Morrison, R. G., & Holyoak, K. J. (2005). Thinking and Reasoning: A Reader’s Guide. In Morrison, R. G. & Holyoak, K. J. (ed). The Cambridge Handbook of Thinking and Reasoning. New York: Cambridge University Press.
Nurdianawati, D., & Rachmawati, R. (2020). The Effect of Moral Intensity, Ethical Decision Making, Professional Commitment, and Anticipatory Socialization on Whistleblowing Intention. Advances in Economics, Business and Management Research, 132, 195-201. https://doi.org/10.2991/aebmr.k.200331.043
Patterson, R. (2006). Connecting Ethics to Action: An Introduction to Ethical Decision Making. The Christian Librarian, 49(1), 1-8. https://doi.org/10.55221/2572-7478.1694
World Health Organization. (1997). Life Skills Education in Schools. Geneva: WHO.