การพัฒนาระบบการบริหารการออมส่วนบุคคลด้วยแอปพลิเคชันของประชาชนกลุ่มคนวัยทำงาน ในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบการบริหารการออมส่วนบุคคลด้วยแอปพลิเคชัน 2) ศึกษาลักษณะทางประชากร พฤติกรรมของผู้ใช้งานระบบการบริหารการออมส่วนบุคคลด้วยแอปพลิเคชัน 3) ประเมินคุณภาพแอปพลิเคชันระบบการบริหารการออมส่วนบุคคลของผู้ใช้งานกับพฤติกรรมในการใช้แอปพลิเคชัน และ 4) ศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้งานที่แตกต่างกันกับความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชันผ่านระบบการบริหารการออมส่วนบุคคล ของประชาชนกลุ่มคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือ ประชากรวัยทำงานที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก และแอปพลิเคชันการบริหารการออมส่วนบุคคล เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติการทดสอบแบบ t-test
ผลการวิจัยพบว่า (1) แอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 1. ลงทะเบียน 2. หน้าหลัก 3.บันทึกรายรับ-รายจ่าย 4. รายงานผลเงินออมสะสม และ 5. แถบเมนูแสดงข้อมูลสรุป (2) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 60.75 มีอายุ 15 – 25 ปี มีสถานภาพโสด มีระดับการศึกษาปริญญาตรี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,000 – 20,000 บาท พฤติกรรมการออมส่วนบุคคลด้วยแอปพลิเคชันของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ พบว่ามีความถี่ในการใช้งานโดยเฉลี่ย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 62.7 (3) แอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นนี้มีผู้ดาวน์โหลดไปใช้จำนวณไม่น้อยกว่า 500 ครั้ง และผลตอบกลับด้านความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่ร่วมทดสอบแอปพลิเคชันอยู่ในระดับไม่น้อยกว่า 3 ดาว ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ และ (4) ความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชันผ่านระบบการบริหารการออมส่วนบุคคล ของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ พบว่า มีความพึงพอใจในระดับพึงพอใจมาก ซึ่งเมื่อพิจารณาตามรายด้าน พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในด้านผลิตภัณฑ์มากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการจัดจำหน่าย ด้านราคา และด้านการส่งเสริมการตลาด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กาญจนา หงส์ทอง. (2551). เข็มทิศการเงิน. กรุงเทพฯ: กรุงเทพธุรกิจ บิสบุ๊ก.
ชไมพร ขนาบแก้ว และ กนกพร ชัยประสิทธิ์. (2562). ทัศนคติและการรับรู้ความเสี่ยงที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้ E-Payment ผ่านธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 6(1), 57-78. จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/202883
ณิชากร ชัยศิริ, เจษฎา นกน้อย และ วาสนา สุวรรณวิจิตร. (2563.) ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมของประชาชนในจังหวัดสงขลา. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 11(3), 129-136. จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/nakboot/article/view/207345
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2563). หลักเกณฑ์การกำกับดูแลโครงการแก้ไขปัญหาหนี้. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2567, จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/229/T_0045.PDF
ธนันธร มหาพรประจักษ์. (2563.) เริ่มต้นการออมกับปณิธานปีใหม่. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.thairath.co.th/news/business/1745608
นริศ สถาผลเดชา. (2563). วิกฤติโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อกําไรของธนาคารพาณิชย์ไทย. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2567, จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/892797
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปรารถนา หลีกภัย. (2563). พฤติกรรมการออมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดตรัง. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 13(1), 111-126.
ปิยธิดา ศรีพล. (2564). การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อใช้ในธุรกิจสั่งอาหารเดลิเวอรี่ในจังหวัดขอนแก่น. Journal of Buddhist Education and Research, 7(1), 130–142. จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jber/article/view/248571
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพ: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน.
พิมพ์ลภัส สุขสวัสดิ์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออมของกลุ่มคนวัยทำงาน จังหวัดปทุมธานี. Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus, 5(2), 108–122. จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/243781
พัฒนา พรหมณี, ยุพิน พิทยาวัฒนชัย และ จีระศักดิ์ ทัพผา. (2563). แนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจและการสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจในงาน. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.), 26(1), 59-66. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/apheit-ss/article/view/241557
วรพงษ์ วิไล และ เสริมศิริ นิลดำ. (2561). พฤติกรรมการรังแกกันผ่านโลกไซเบอร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดเชียงราย: กรณีศึกษาโรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย. วารสารจันทรเกษมสาร, 26(2), 297-313. จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/crujournal/article/view/246552
วนิดา อินทสาร และ ชณทัต บุญรัตนกิตติ. (2564). ภูมิปัจจัยเชิงประจักษ์ที่ส่งผลต่อการบริหารเงินออมเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนวัยสูงอายุของประชาชนในจังหวัดชุมพร. Journal of KMITL Business, 11(2), 46-56. จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/fam/article/view/252759
วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ และ ธนภรณ์ เนื่องพลี. (2561). พฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการออมของผู้สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. วารสารฉบับภาษาไทยสาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 11(1), 3061-3074. จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/124080
Devaney, S. A., Anong, S. T., & Whirl, S. E. (2007). Household Savings Motives. Journal of Consumer Affairs, 41(1), 174-186. DOI: 10.1111/j.1745-6606.2006.00073.x
Larzelere, R. E., & Huston, T. L. (1980). The Dyadic Trust Scale: Toward understanding interpersonal trust in close relationships. Journal of Marriage and the Family, 42(3), 595-604. Retrieved from https://doi.org/10.2307/351903
Lee, J. M., & Hanna, S. D. (2015). Savings Goals and Saving Behavior from a Perspective of Maslow's Hierarchy of Needs. Journal of Financial Counseling and Planning, (2), 129-147. DOI: 10.1891/1052-3073.26.2.129
Lekcharoen, S., & Lertsirisombut, N. (2021). The Influence of Causal Factors Purchasing Intention Sport Clothes on Facebook Fanpage of Consumers in Thailand. Journal of Multidisciplinary in Humanities and Social Sciences, 4(2), 607-621. Retrieved from https://so04.tci- thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/249824
Nunnally, J. C., & Bernstein, I. H. (1994). Psychometric theory. (3rd ed.). New York: McGraw-Hill.
Piotrowska, M. (2019). The Importance of Personality Characteristics and Behavioral Constraints for Retirement Saving. Journal of Economic Analysis a Policy, 50(64), 194-220.
Rogers, E. M. (1983). Diffusion of innovations. New York: The Free Press.
Schiffman, L. G., & Kanuk, L. L. (1987). Consumer Behavior. (3rd ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Zahid, N., Mujtaba, A., & Riaz, A. (2010). Consumer acceptance of online banking. European Journal of Economics Finance and Administrative Sciences, 27(1), 44-52.