คุณค่าของข้อมูลทางบัญชีต่อการตัดสินใจลงทุนภายใต้ IFRS 16 ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของ IFRS 16 ต่อความเกี่ยวข้องในการอธิบายราคาหลักทรัพย์ของมูลค่าตามบัญชี กำไรต่อหุ้น และศึกษาความเกี่ยวข้องในการอธิบายราคาหลักทรัพย์ของสินทรัพย์สิทธิการใช้ (ROU) และหนี้สินตามสัญญาเช่า (LLA) ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซียในปีที่ IFRS 16 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากบริษัทจดทะเบียน จำนวน 819 บริษัท และใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจงในการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง ศึกษาระหว่างไตรมาส รวมทั้งสิ้น 16 ไตรมาส สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนาการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ
ผลการวิจัย พบว่า ในปีที่มีการประกาศใช้ IFRS 16 เป็นครั้งแรกและนำมาถือปฏิบัติไม่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างมูลค่าตามบัญชี กำไรต่อหุ้นกับราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย เนื่องจากบริษัทจะนำ IFRS 16 มาถือปฏิบัติใช้หรือไม่ก็ตาม นักลงทุนนิยมใช้มูลค่าตามบัญชี และกำไรต่อหุ้นเพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจลงทุนเป็นปกติ ทั้งนี้ผลการทดสอบความสัมพันธ์ของรายการที่รับรู้ขึ้นโดยตรงจาก IFRS 16 ได้แก่ ROU และ LLA กับราคาหลักทรัพย์ พบความสัมพันธ์เชิงลบกับราคาหลักทรัพย์ จึงสรุปได้ว่า ROU และ LLA เป็นข้อมูลที่มีคุณค่าต่อการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนและมีส่วนเกี่ยวข้องกับราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย รวมถึงเป็นการให้หลักฐานเพิ่มเติมจากการนำ IFRS 16 มาปฏิบัติใช้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินและสะท้อนความเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรมของข้อมูลทางบัญชีมากยิ่งขึ้น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
ภูมิฐาน รังคกูลนุวัฒน์. (2554). เศรฐมิติเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยศวินกาญจน์ กอบกาญจนพฤติ และ จิตรัตน์ ช่างหล่อ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างราคาหลักทรัพย์กับสินทรัพย์สิทธิการใช้และหนี้สินตามสัญญาเช่าภายใต้ IFRS 16 เรื่อง สัญญาเช่า: หลักฐานจากตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์. วารสารวิชาชีพบัญชี, 17(56), 29-56.
วิกานดา หมั่นเรียน. (2562). ผลกระทบจากการนำมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่องสัญญาเช่า มาปฏิบัติใช้ต่อกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ. วารสารบริหารธุรกิจ, 16(1), 1-13.
ศิริจันทร์ เหลืองธนหิรัณย์. (2561). TFRS 16 สัญญาเช่า และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงมาตรฐาน. วารสารวิชาชีพบัญชี, 12(4), 6-19.
ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2562). ผลกระทบของคะแนนการกำกับดูแลกิจการและคุณลักษณะคณะกรรมการบริษัทต่อความทันเวลาของงบการเงิน. วารสารวิชาชีพบัญชี, 15(48), 5-30.
สถาบันพัฒนาความรู้ตลาดทุน. (2548). ทฤษฎีตลาดทุน. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
Bunea-Bontaş, U., & Aurora, C. (2017). Lease accounting under IFRS 16 and IAS 17 – A comparative approach. Contemporary Economy Journal, 2(2), 78-84.
Cottrell, A., & Lucchetti, R. J. (2012). Gretl user’s guide. Retrieved December 19, 2023, from http://gretl.sourceforge.net
Fama, E. F. (1970). Efficient capital markets: A review of theory and empirical work. The Journal of Finance, 25(2), 383-417.
Feltham, G. A., & Ohlson, J. A. (1995). Valuation and clean surplus accounting for operating and financial activities. Contemporary Accounting Research, 11(2), 689-732. https://doi.org/10.1111/j.1911-3846.1995.tb00462.x
Giner, B., & Pardo, F. (2018). The value relevance of operating lease liabilities: economic effects of IFRS 16. Australian Accounting Review, 28(4), 496-511. https://doi.org/10.1111/auar.12233
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2014). Multivariate data analysis. (7th ed.). New Jersey: Pearson Education.
Hoogervorst, H. (2016). Shining the light on leases. Retrieved December 19, 2023, from https://www.ifrs.org/news-and-events/news/2016/03/hans-hoogervorst-article-shining-the-light-on-leases/
Joshi, M., Yapa, S. P., & Kraal, D. (2016). IFRS adoption in ASEAN countries: Perceptions of professional accountants from Singapore, Malaysia and Indonesia, International Journal of Managerial Finance, 12(2), 211-240. https://doi.org/10.1108/IJMF-04-2014-0040
Kargin, S. (2013). The impact of IFRS on the value relevance of accounting information: Evidence from Turkish firms. International Journal of Economics and Finance, 3(1), 87-95. https://doi.org/10.5539/ijef.v5n4p71
Kumari, S. S. (2008). Multicollinearity: Estimation and elimination. Journal of Contemporary Research in Management, 3(1), 87-95.
Lindsey, B. P. (2006). A value relevance examination of the current leasing standard. Retrieved December 19, 2023, from https://www.proquest.com/docview/305283444/fulltextPDF/5013884F2C3A4F45PQ/1?accountid=34292
Ohlson, J. (1995). Earnings, book values, and dividends in equity valuation. Contemporary Accounting Research, 11(2), 661-687.
Öztürk, M., & Serçemeli, M. (2016). Impact of new standard “IFRS 16 leases” on statement of financial position and key ratios: A case study on an airline company in Turkey. Business and Economics Research Journal, 7(4), 143-157.
Pettersson, E., & Bruseswitz, M. (2020). The value relevance of IFRS 16 on the Swedish market(Master’s Thesis). Uppsala University.
Sacarin, M. (2017). IFRS 16 “Leases” – Consequences on the financial statements and financial indicators. The Audit Financial Journal, 15(145), 114-127. https://doi.org/10.20869/AUDITF/2017/145/114
Susanti, M., Ardana, C., Sufiyati, F., & Dewi, S. (2020). The impact of IFRS 16 (PSAK 73) implementation on key financial ratios: An evidence from Indonesia. Advances in Economics, Business and Management Research, 174(1), 295-303. https://doi.org/10.2991/aebmr.k. 210507.045
Tabachnick, B. G., Fidell, L. S., & Ullman, J. (2013). Using multivariate statistics. (6th ed.). Boston: Pearson.
Yu, J. (2019). Investigation of IFRS 16 effect on the airlines. Journal of Finance and Accounting, 7(5), 132-135. https://doi.org/10.11648/j.jfa.20190705.11