แนวทางการเพิ่มมูลค่าขยะฝาขวดพลาสติกด้วยการรีไซเคิลสู่ผลิตภัณฑ์ ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน

Main Article Content

โสภา หนูแดง
วรชัช บู่สามสาย
ศศิพิมพ์ ดิษฐเจริญ

บทคัดย่อ

 บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์แนวทางการเพิ่มมูลค่าขยะฝาขวดพลาสติก 2) ออกแบบผลิตภัณฑ์จากขยะฝาขวดพลาสติกรีไซเคิล และ 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อต้นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่จากขยะฝาขวดพลาสติกรีไซเคิล ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่พนักงานพลาสติกรีไซเคิล 3 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุศาสตร์ 1 คน นักออกแบบผลิตภัณฑ์ 5 คน และนักการตลาด 1 คน รวม 10 คน กลุ่มตัวอย่างคือสมาชิกในเฟซบุ๊กชื่อกลุ่มพลาสติกรีไซเคิล 382 คน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบประเมินรูปแบบผลิตภัณฑ์ การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจที่มีต่อต้นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบความเรียงประกอบภาพและตาราง ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการเพิ่มมูลค่าจากฝาขวดพลาสติกมีหลายวิธี เช่น การใช้ซ้ำ การซ่อมแซม การอัพไซเคิล การรีไซเคิล และวิธีการที่เหมาะสมในการเพิ่มมูลค่าของขยะฝาขวดพลาสติกคือใช้วิธีการรีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ตามความต้องการผู้บริโภค 2) ผลการออกแบบผลิตภัณฑ์จากขยะฝาขวดพลาสติกรีไซเคิล ได้ใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ 5 ขั้นตอน และใช้วิธีการออกแบบจากแนวคิดทฤษฎีชีวลอกเลียน จึงออกแบบผลิตภัณฑ์ จำนวน 5 รูปแบบ และนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินพบว่ารูปแบบผลิตภัณฑ์จากรูปทรงหัวหอมมีค่าเฉลี่ยรวมมากที่สุด ซึ่งมีความเหมาะสมระดับมาก และ 3) ผลประเมินความพึงพอใจที่มีต่อต้นแบบผลิตภัณฑ์จากฝาขยะขวดพลาสติกรีไซเคิลจากกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ด้านหน้าที่ใช้สอย ความสวยงาม วัสดุและกรรมวิธีการผลิต และความปลอดภัย มีค่าเฉลี่ยรวมมีความพึงพอใจในระดับมาก


 

Article Details

How to Cite
หนูแดง โ. ., บู่สามสาย ว. ., & ดิษฐเจริญ ศ. . . (2024). แนวทางการเพิ่มมูลค่าขยะฝาขวดพลาสติกด้วยการรีไซเคิลสู่ผลิตภัณฑ์ ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(6), 3280–3299. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/271749
บท
บทความวิจัย

References

กกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2566). อิตาลีเตรียมพร้อมดำเนินการตามกฎระเบียบสหภาพยุโรปสำหรับพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single-use plastic) ในปีหน้า. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2567, จาก https://www.ditp.go.th/post/146134

กรุงเทพธุรกิจ. (2567). รู้จัก ‘สนธิสัญญาพลาสติกโลก’ ทางออก ‘ปัญหาขยะพลาสติก’ ของไทยและทั่วโลก. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2567, จาก https://www.bangkokbiznews.com/environment/1119515

กฤษฎา เสกตระกูล. (2565). Circular Economyระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (ตอนที่ 6). สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2567, จาก https://setsustainability.com/libraries/1211/item/circular-economy-6

ข่าวธุรกิจการตลาด. (2566). เป๊ปซี่น้ำอัดลมรายแรกและรายเดียวในไทยใช้ขวดรีไซเคิล 100% สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2566, จาก https://mgronline.com/business/detail/9660000032177

ณิชาภา มินาบูลย์, สุธน รุ่งเรือง, จุฬารัตน์ เอี่ยมสมัย และ ประชุม คําพุฒ. (2566). คันกั้นล้อรถยนต์สำหรับลานจอดรถจากเศษขุยพลาสติกวัสดุเหลือทิ้งจากการผลิตพลาสติกรีไซเคิล. Journal of Engineering, RMUTT, 21(1), 43-51. สืบค้นจาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jermutt/article/view/252248

ณัฏฐ์กานต์ ลี้อัครภูมิ, สุวิทย์ รัตนานันท์ และ Sridhar Ryalie. (2562). การสร้างการรับรู้ของสังคมผ่านการเพิ่มมูลค่าของขยะพลาสติก. ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings) การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 14 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. (น. 0365-0375). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ผู้จัดการออนไลน์. (2566). จัดการขยะพลาสติก 4 ชนิดโจทย์ยากแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมรัฐบาลใหม่. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2567, จาก https://mgronline.com/greeninnovation/detail

ไปรมา อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ชูจิต ตรีรัตนพันธ. (2562). หลักสูตรการคิดเชิงออกแบบ TCDC. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2567, จาก https://resource.tcdc.or.th/ebook/Design.Thingking.Learning.by.Doing.pdf

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ. (2565). พลาสติกรีไซเคิล. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2567, จาก https://www.mtec.or.th/bioplastic/recycled-plastic/

สถาพร ดีบุญมี ณ ชุมแพ. (2550). การศึกษาการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: โอ เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส์.

เสน่ห์ สำเภาเงิน, สมชาย ดิษฐาภรณ์ และ อุดมศักดิ์ สถาวร. (2564). การออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงนิเวศกรณีศึกษาเก้าอี้จากขวดพลาสติก. Journal of Industrial Education, 20(2), 57-72. สืบค้นจาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/issue/view/16787

Akhras, M. H., Freudenthaler, P. J., Straka, K., & Fischer, J. (2023). From bottle caps to Frisbee a case study on mechanical recycling of plastic waste towards a circular economy. Polymers, 15(12), 2685. https://doi.org/10.3390/polym15122685

Chen, S., & Venkatesh, A. (2013). An investigation of how design-oriented organisations Implement design thinking. Journal of Marketing Management, 29(15-16), 1680-1700. https://doi.org/10.1080/0267257X.2013.800898

Coltrain, D., Barton, D., & Boland, M. (2000). Value added: Opportunities and strategies. Arthur Capper Cooperative Center, Department of Agricultural Economics, Kansas City: Kansas State University. Retrieved April 20, 2023, from https://agmanager.info/sites /default/files/VALADD10%25202col.pdf

Gall, M., Schweighuber, A., Buchberger, W., & W. Lang, R. (2020). Plastic bottle cap recycling Characterization of recyclate composition and opportunities for design for circularity. Sustainability, 12(24), 10378. https://doi.org/10.3390/su122410378

Gambino, I., Bagordo, F., Coluccia, B., Grassi, T., Filippis, G. D., Piscitelli, P., ... & Leo, F. D. (2020). PET-bottled water consumption in view of a circular economy: the case study of Salento (South Italy). Sustainability, 12(19), 7988. https://doi.org/10.3390/su12197988

Kamsook, S., Phongphiphat, A., Towprayoon, S., & Vinitnantharat, S. (2023). Investigation of plastic waste management in Thailand using material flow analysis. Waste Management & Research, 41(4), 924-935. https://doi.org/10.1177/0734242X221126376

Komarulzaman, A., Widyarani, Rosmalina, R. T., Wulan, D. R., Hamidah, U., & Sintawardani, N. (2023). Use of water and hygiene products: A COVID-19 investigation in Indonesia. Water, 15(19), 3405. https://doi.org/10.3390/w15193405

Kusumawati, D. N. I., Wibisono, W., & Indra, K. W. (2020). Making of nusantara decorative motif creations necklace based on HDPE on type plastic waste. In IOP Conference Series: Materials Science and Engineering, 909(1), 012043.

DOI:10.1088/1757-899X/909/1/012043

Qian, N. (2018). Bottled water or tap water? A comparative study of drinking water choices on university campuses. Water, 10(1), 59. https://doi.org/10.3390/w10010059

Ruokamo, E., Räisänen, M., & Kauppi, S. (2022). Consumer preferences for recycled plastics: Observations from a citizen survey. Journal of Cleaner Production, 379(12),134720. https://doi.org/10.1016/j.jclepro.2022.134720

Siregar, A. Z., Dewi, K., & Hutauruk, F. N. (2023). Recycling Plastic Waste Into Something That HasA Selling Value. Journal Manajemen, Akuntansi dan Rumpun Ilmu Ekonomi (MAR-Ekonomi) 1(2), 75–79. Retrieved from https://jurnal.seaninstitute.or.id/index.php/marekonomi/article/view/228

Steensgaard, I. M., Syberg, K., Rist, S., Hartmann, N. B., Boldrin, A., & Hansen, S. F. (2017). From macro to microplastics analysis of EU regulation along the life cycle of plastic bags. Environmental Pollution, 224(4), 289-299. https://doi.org/10.1016/j.envpol.2017.02.007

Wu, T. Y., & Chen, H. K. (2015). Products with biomimetic shapes convey emotions more effectively. In Design, User Experience, and Usability: Design Discourse: 4th International Conference, DUXU 2015, Held as Part of HCI International 2015, Los Angeles, CA, USA,

August 2–7, 2015, Proceedings, Part I. (pp. 559-566). Springer International Publishing.