รูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมตามหลักปาปณิกธรรม สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

Main Article Content

พักตร์วิไล ชำปฏิ
พระมหาญาณวัฒน์ บุดดาวงษ์
พีรวัฒน์ ชัยสุข

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 2) พัฒนารูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมตามหลักปาปณิกธรรม สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ 3) ประเมินรูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมตามหลักปาปณิกธรรม สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยมีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครู 368 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน คือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบ โดยสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 10 รูป/คน และการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 9 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสัมภาษณ์ และแนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และขั้นตอนที่ 3 ประเมินรูปแบบ โดยใช้แบบประเมินกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารสถานศึกษา 310 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1. ความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาพรวมมีดัชนีความต้องการจำเป็นอยู่ระหว่าง 0.055-0.076 องค์ประกอบที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ ความมีวิสัยทัศน์นวัตกรรม รองลงมา คือ มีความคิดสร้างสรรค์นวัตกรรม, มีความกล้าเสี่ยงต่อนวัตกรรม และความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ตามลำดับ 2. รูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมตามหลักปาปณิกธรรม สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ ผู้บริหารสถานศึกษามีวิธีการบริหารที่นำหลักพุทธธรรมาบูรณาการกับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนาสถานศึกษา, 2) วัตถุประสงค์ เป็นแนวทางให้ผู้บริหารสถานศึกษานำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารสถานศึกษาอันเป็นประโยชน์ต่อการบริหารสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น, 3) การบูรณาการภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม (ความมีวิสัยทัศน์นวัตกรรม) ตามหลักปาปณิกธรรม คือ (1) จักขุมา ความมีปัญญามองการณ์ไกล (2) วิธูโร ความมีการบริหารจัดการที่ดี (3) นิสสยสัมปันโน มีมนุษยสัมพันธ์ดี, 4) การประยุกต์ใช้ ในการบริหารสถานศึกษา 4 ด้าน คือ การบริหารงานวิชาการ งานบุคคล งบประมาณ และงานทั่วไป, 5) การประเมินผล และ 3. ผลการประเมินรูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมตามหลักปาปณิกธรรม สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ผลในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 4 ด้าน คือ ความเป็นประโยชน์ ความถูกต้อง ความเป็นไปได้ และความเหมาะสม ตามลำดับ สรุปองค์ความรู้การวิจัย คือ PAKWILAI

Article Details

How to Cite
ชำปฏิ พ., บุดดาวงษ์ พ., & ชัยสุข พ. (2024). รูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมตามหลักปาปณิกธรรม สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(3), 1805–1828. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/271866
บท
บทความวิจัย

References

ขวัญชนก โตนาค, สุกัญญา แช่มช้อย และ อนุชา กอนพ่วง. (2557). การวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. Journal of Education Naresuan University, 16(4), 131–140.

จีระศักดิ์ นามวงษ์ และ พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร. (2563). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(6), 338-352. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/244554

ฐิตินันท์ นันทะศรี, วาโร เพ็งสวัสดิ์, วัลนิกา ฉลากบาง และ พรเทพ เสถียรนพเก้า. (2562). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 14(3), 93-106. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/203176

ธวัชชัย รัตตัญญู. (2551). การพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก.

พยัค วุฒิรงค์. (2557). การจัดการนวัดกรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีการบริหาร. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2548). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: สหธรรมมิก.

พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน และ ศุขภิญญา ศรีคำไทย. (2565). การบูรณาการหลักพุทธธรรมกับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์, 3(1), 70-78. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/258569

พัชรี ชำนาญศิลป์. (2557). ภาวะผู้นำเชิงพุทธ(ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พัฐณสิญ นวโลจิตรัตน์. (2560). รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำแบบไทยอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคกลาง(ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิสิฐธวัฒน์ กลิ่นไธสงค์, ถนอมวรรณ ประเสริฐเจริญสุข และ อัจศรา ประเสริฐสิน. (2559). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(1), 177-186. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDMKKU/article/view/56374

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชัญ สมทบ. (2566). การพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ฐานวิถีชีวิตใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(3), 659-672. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/261022

วันทนา เนาว์วัน. (2558). การพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักพุทธธรรมของบุคลากรโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่ม 3(ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สาลินี มีเจริญ, สุบิน ยุระรัช และ อรรณพ จีนะวัฒน์ . (2556). การพัฒนากลยุทธ์ในการบริหารความเสี่ยงของผู้บริหารสตรีในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(3), 40-50. สืบค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/16049

สุกัญญา แช่มช้อย. (2555). แนวคิดเชิงนวัดกรรมสำหรับการบริหารสถานศึกษาในสตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 14(2), 117-128. สืบค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/9391

สุนทร โคตรบรรเทา. (2560). การบริหารการศึกษาหลักการและทฤษฎี. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.

สุรีรัตน์ ยอดบุรี และ นิคม นาคอ้าย. (2565). การศึกษาปัญหาและแนวทางพัฒนาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(1), 289-303. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/251628

อภิชญาณัฐโศภา อบสิน. (2557). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงพุทธในการบริหารจัดการองค์กรของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อภิรักษ์ บุปผาชื่น. (2563). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม: การขับเคลื่อนองค์การสู่ความเป็นเลิศ. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 4(3), 205-216. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/247139

Adair, J. E. (2007). Leadership for Innovation: How to Organize Team Creativity and Harvest Ideas. London: Kogan Page Publishers.

Dyer, J., Gregersen, H., & Christensen, C. M. (2011). The Innovator's DNA: Mastering the Fine Skills of Disruptive Innovators. Boston: Harvard Business Press.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610. https://doi.org/10.1177/00131644700300030

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Attitude Theory and Measurement. Fishbeic, M., Eds. New York: Wiley & Son.

Sen, A., & Erena, E. (2012). Innovative Leadership for the Twenty-First Century. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 41, 1-14. https://doi.org/10.1016/j.sbspro.2012.04.001