คุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ

Main Article Content

ณัฐฉิมา กันหะบุตร
สุมาลี ศรีพุทธรินทร์
จารุวรรณ เขียวน้ำชุม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบคุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพ 2) ศึกษาและเปรียบเทียบการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา และ 4) ศึกษาอำนาจพยากรณ์ของคุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ พื้นที่วิจัย คือ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 71 คน และครู จำนวน 274 คน รวมทั้งสิ้น 345 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบใช้เกณฑ์ร้อยละ ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถาม จำนวน 2 ฉบับ คือ (1) แบบสอบถามคุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพ (2) แบบสอบถามการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) คุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษามีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับค่อนข้างสูงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 4) ตัวแปรคุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา มี 3 ตัวแปร โดยร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 39.69 งานวิจัยนี้ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปเป็นแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพ และสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปเป็นแนวทางในการพัฒนาการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

Article Details

How to Cite
กันหะบุตร ณ., ศรีพุทธรินทร์ ส., & เขียวน้ำชุม จ. (2025). คุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ . วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(1-2), 60–78. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/277179
บท
บทความวิจัย

References

กฤษณพงษ์ ศรีทรัพย์. (2565). คุณลักษณะผู้บริหารมืออาชีพที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 11(41), 185-195.

เขมนิจ บุญสาล. (2564). กลยุทธ์การพัฒนาการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 15(11), 205-220. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rmuj/article/view/250866/170015

คารมณ์ เพียรภายลุน. (2558). ความเป็นผู้บริหารมืออาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: บี. เค. อินเตอร์ปริ้น.

จำลอง นักฟ้อน. (2555). เส้นทางสู่นักบริหารการศึกษามือในการศึกษากับการพัฒนาวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

ไชยา ภาวะบุตร. (2554). ความเป็นนักบริหารมืออาชีพ. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.

ณัฐกิตติมา วงศ์สุขสิน. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 11(41), 165-174.

ณัฐทิชา เมืองหนองจอก, ทินกร ชอัมพงษ์ และ เยาวเรศ ภักดีจิตร. (2566). การศึกษาคุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 6(2), 1-13 สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edunsrujo/article/view/259655/176829

ณัฎฐ์ โอ้จินดา. (2563). การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็กในสำนักงานศึกษาธิการภาค 13(วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ธราธร ตันวิพงษ์ตระกูล. (2562). รูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมความเป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตภาคเหนือตอนบน. วารสารสหวิทยาการวิจัย, 8(1), 115-165 สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/243635/164928

นครินศร์ จับจิตต์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี.

นันทิยา ขัมพานนท์, นพรัตน์ ชัยเรือง และ เรวดี กระโหมวงศ์ (2561). รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ : กรณีศึกษาโรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช, วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 24(2), 229-242 สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/article/view/240658/163781

นิมิตร โสชารี. (2559). รูปแบบการพัฒนาองค์กรการเรียนรู้ของเทศบาลตำบลในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสาร มจร. สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 5(2), 27-42 สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/245403/166015

นนทยา เข็มงูเหลือม อำนาจ จันทรขำ และกฤษณะ ดาราเรือง. (2563). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อกระบวนการบริหารและการจัดการตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 12(12), 101-111.

ประเวศ เทศเรียน. (2560). รูปแบบการพัฒนาความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(1), 89-100 สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDGKKUJ/article/view/112987/87931

ปิยพจน์ ตุลาชม. (2557). รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะผู้บริหารมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา. วารสารบัณฑิตศึกษา, 11(53), 173-178 สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/SNGSJ/article/view/26819/22740

ภัทรศรี อินทร์ขาว. (2561). การพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อสร้างความผูกพันของพนักงานบริษัทธุรกิจนำเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่(วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ภูวรินทร์ อะทะวงษา, ศุภกร ศรเพชร และ ชาญวิทย์ หาญรินทร์. (2564). สภาพ ความต้องการจำเป็นและแนวทางพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. วารสาร มจร. อุบลปริทรรศน์, 8(1), 603-616 สืบค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/mcjou/article/view/264756/177195

ภูมิภัทร กลางโคตร์, ทนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำ, วาโร เพ็งสวัสดิ์ และ พรเทพ เสถียรนพเก้า. (2561). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเพื่อเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้แบบมืออาชีพ สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมหาวิทยาลัย นครพนม, 8(2),63-71 สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php /npuj/article/view/136785/102629

เลิศณรงค์ นามวงศ์ชัย, ไชยา ภาวะบุตร และ ชรินดา พิมพบุตร (2562). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารมืออาชีพในโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 8(29), 22-31. สืบค้นจาก https://jeal.snru.ac.th/ArticleViewFile?ArticleID=684&FileArticle=684-ArticleTextFile-20200114133419.pdf

ลานนิพนธ์ เกษลา, กนกอรสมปราชญ และ ทวีชัย บุญเติม. (2557). ยุทธศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความเป็นผู้บริหารมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(2), 187-196 สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDMKKU/article/view/48130/39955

วิเศษ ชาวระนอง, คุณวุฒิ คนฉลาด และ สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์ (2559). รูปแบบการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนคำสร้อยพิทยาสรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 10(1), 148-160 สืบค้นจาก https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/edu/article/view/4745/1951

สุกฤตยา ปงกันทา, สมชัย วงษ์นายะ และ สุณี บุญพิทักษ์. (2561). กลยุทธ์การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และเขต 2. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 12(2), 627-643

สุรัตน์ ดวงชามทม. (2558). บัญญัติ 10 ประการสู่การเป็นนักบริหารมืออาชีพ. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 3(12), 6-7.

หวน พินธุพันธ์. (2564). การบริหารการศึกษา: นักบริหารมืออาชีพ. นนทบุรี: พินธุพันธ์การพิมพ์.

อติกานต์ ทองมาก, วีระยุทธ ชาตะกาญจน์ และ บุญมี เณรยอด. (2566). การพัฒนารูปแบบการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1. วารสารวิชาการร้อยแก่นสาร, 8(6), 160-175. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/261960/176524

Bizzell, B.E. (2011). Professional development of school principals in the rural appalachian region of virginia(Doctor of Philosophy). Virginia Polytechnic Institute and State University.

Johannsen. (2015). Perceptions of principals and teachers concerning desirable leadership traits for principals in St. Louis Elementary School (St. Louis, Missouri). Dissertation Abstracts International, 57(3), 158-A.

Rahman, A.A., & Awang, M. (2013). Learning organization and organizational commitment in primary school. Journal of Research, Policy & Practice of Teachers & Teacher Education, 3(1), 18-25.

Senge, P. (1990). The fifth discipline: The art and practice of the learning organization. New York: Doubleday.