ชีวมณฑล : การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการนิเวศการเรียนรู้ เมืองปากพูน (อุโมงค์โกงกาง) เพื่อการจัดการทรัพยากรเมือง อย่างยั่งยืน
Main Article Content
บทคัดย่อ
พื้นที่อุโมงค์โกงกางตั้งอยู่ในตำบลปากพูน เป็นพื้นที่ระบบนิเวศป่าชายเลนที่มีความอุดมสมบูรณ์ของชีวมณฑลที่อาศัยอย่างเกื้อกูล ทั้งยังเป็นแหล่งเรียนรู้ระบบนิเวศที่สำคัญของผู้สนใจ และการเข้าไปใช้ประโยชน์ทรัพยากรของชาวชุมชนปากพูนมาอย่างยาวนาน ผนวกกับการให้ความสำคัญในการบริหารจัดการนิเวศการเรียนรู้ของผู้บริหารพื้นที่เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน คณะผู้วิจัยจึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการนิเวศการเรียนรู้ในพื้นที่อุโมงค์ป่าโกงกาง เทศบาลเมืองปากพูน ตำบลปากพูน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ใช้แนวคิดเกี่ยวกับชีวมณฑล, ระบบนิเวศการเรียนรู้ และแนวคิดพื้นฐานทางการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คืออุโมงค์โกงกาง ต.ปากพูน อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้บริหาร-เจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองปากพูน, ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, ตัวแทนสถาบันศึกษาในชุมชน และตัวแทนชุมชน จำนวน 70 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 2) แบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการนิเวศการเรียนรู้ ควรมีการกำหนดองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารจัดการนิเวศการเรียนรู้ ประกอบด้วยพื้นที่นิเวศการเรียนรู้อุโมงค์โกงกาง, องค์ความรู้ที่ได้จากพื้นที่องค์โกงกาง, กิจกรรม/โครงการการเรียนรู้ ผนวกกับแผนพัฒนาเมืองของเทศบาลเมืองปากพูน, นักจัดการการเรียนรู้ และเป้าหมายของผลการจัดกิจกรรม/โครงการการเรียนรู้ในแต่ละกิจกรรม/โครงการ
การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการนิเวศการเรียนรู้พื้นที่อุโมงค์โกงกางสามารถดำเนินการแนวทางการจัดพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการนิเวศการเรียนรู้ดำเนินการภายใต้รูปแบบโมเดล LLKP ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก คือ พื้นที่การเรียนรู้ (L) กิจกรรม/โครงการการเรียนรู้ (L) นักจัดการการเรียนรู้ (K) และเป้าหมายของการดำเนินโครงการ/กิจกรรม (P) ซึ่งรองรับการเรียนรู้แบบบูรณาการสหศาสตร์เพื่อช่วยในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้ใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดีเพื่อรองรับการเรียนรู้เชิงบูรณาการสหศาสตร์ โดยกระบวนการมีส่วนร่วม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กระจาย ชวาสิทธิ์. (2566). กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ต.ปากพูน. สัมภาษณ์, 7 มิถุนายน 2566.
เกษม จันทร์แก้ว. (2541). เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
จุติพร อัศวโสวรรณ, ประกอบ ใจมั่น, ประวิทย์ เนื่องมัจฉา, จุฑามาศ ศุภพันธ์ และ ชนัยชนม์ ดำศรี.(2567). การศึกษาท้องถิ่นและสร้างกลไกความร่วมมือของภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้มรดกทางวัฒนธรรม นครศรีธรรมราช. Journal of Roi Kaensarn Academi, 9(11), 488-508. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/272 696
เทศบาลเมืองปากพูน. (2565). ข้อมูลพื้นที่ ต.ปากพูน. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2565, จาก https://www.pakpooncity.go.th
ธนาวุฒิ ถาวรพราหมณ์. (2566). นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองปากพูน. สัมภาษณ์, 25 กรกฎาคม 2566.
ประชา พวงมณี. (2566). กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ต.ปากพูน. สัมภาษณ์, 7 มิถุนายน 2566.
ประพันธ์ศักดิ์ ตวงสุวรรณ. (2566). “ลำพู” นิเวศริมน้ำกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 21(2), 24-35. สืบค้นจาก
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/254514
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. (2565). เปลี่ยนทุกเมืองให้เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้สร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้ทุกเมือง. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2565, จาก https://arit.npru.ac.th
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2565). แผนปฏิบัติการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2565, จาก https://www.onep.go.th/master-plan-biodiversity
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). รายงานการศึกษารูปแบบการจัดระบบนิเวศการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพของคนไทย 4.0. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2565, จาก https://fliphtml5.com/wbpvz/pbyl/basic
โสภนา สุดสม. (2566). การจัดการเรียนรู้กับความสมดุลของการจัดระบบนิเวศการเรียนรู้และวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่ยั่งยืน. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 10(3), 311-326. สืบค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/268562