รูปแบบการจัดการเรียนรู้เสริมสร้างการคิดอย่างมีวิจารณญาณและเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามแนวคิดการสืบเสาะความรู้ร่วมกับกลวิธีอภิปัญญา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปและสภาพปัญหาของการจัด การเรียนรู้เสริมสร้างการคิดอย่างมีวิจารณญาณและเจตคติต่อวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เสริมสร้างการคิดอย่างมี วิจารณญาณและเจตคติต่อวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามแนวคิดการจัดการ เรียนรู้แบบสืบเสาะความรู้ร่วมกับกลวิธีอภิปัญญา ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายหนองบ่อก้านเหลืองคำพี้ จำนวน 6 คน จาก 6 โรงเรียน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 6 โรงเรียน โรงเรียนละ 3 คน รวม 18 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แบบการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (2) แบบประเมินของผู้เชี่ยวชาญในการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพทั่วไปและสภาพปัญหาของการจัดการเรียนรู้เสริมสร้างการคิด อย่างมีวิจารณญาณและเจตคติต่อวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการสัมภาษณ์ครูวิทยาศาสตร์ที่สอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า นักเรียนยังขาดความสามารถ
ในการคิดแบบต่างๆ โดยเฉพาะการคิดที่มีความซับซ้อนและต่อเนื่องทำให้ครู ต้องแสวงหารูปแบบการจัดการเรียนรู้ กิจกรรม สื่อนวัตกรรมต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เด็กพัฒนาให้เต็มศักยภาพ (2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า “TYWD Model” ซึ่งเป็นรูปแบบการจัด การเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีกระบวนการจัดการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน คือ 1) การกำหนดเป้าหมายของ การเรียนรู้ (Target of Learning: T) 2) สำรวจความรู้เดิม พื้นฐานความรู้ของนักเรียนมีอะไรบ้าง (Your Knowledge: Y) 3) ความรู้ที่มีความหมาย/ความรู้ใหม่ (Worth of Knowledge: W) และ 4) การประเมิน (Diagnostic Assessment: D) ผลการประเมินคุณภาพและความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2563). กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.
จักศิริวรรณ สำเภา, สมถวิล ขันเขตต์ และ ปริญา ปริพุฒ. (2567). การพัฒนาทักษะการสื่อสารและสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับเทคนิค คิด-พูด-เขียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา, 15(3), 242-260. สืบค้นจาก https://so20.tci-thaijo.org/index.php/JAD/article/ view/545
จันทิมา หิรัญอ่อน, มาเรียม นิลพันธุ์, มารุต พัฒผล และ พงษ์ศักดิ์ กิดลาภี. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรช่างอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์. สุทธิปริทัศน์, 32(104), 1-15. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ DPUSuthiparithatJournal/article/view/243323
จิรัญญา ไชยโย และ พจมาลย์ สกลเกียรติ. (2562). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์วิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้การเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 11(1), 23-40. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/bruj/article/view/190410
ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2560). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาการคิดและยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21. นครปฐม: เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป.
วีรยุทธ วิเชียรโชติ. (2521). จิตวิทยาการเรียนการสอนแบบสืบสวน. กรุงเทพฯ: อำนวยพาณิชย์.
ศุภลักษณ์ ทองจีน. (2560). การออกแบบและการจัดการเรียนรู้. บึงกาฬ: ศูนย์การศึกษาบึงกาฬมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2554). ทฤษฎีการประเมิน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). สืบค้นจาก https://www.ipst. ac.th/curriculum
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564). แนวทางการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงเพื่อเสริมสร้างอภิปัญญาในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2553). ทฤษฎีและการปรับพฤติกรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2541). จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย. (2562). ชุดกิจกรรมเพื่อการแสดงออกและความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชน. สืบค้นจาก https://www.unicef.org/thailand
อมรา รสสุข. (2563). การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21: การพัฒนาทักษะการคิดและอภิปัญญา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Bandura, A. (1986). Social foundations of thought and action: a social cognitive theory. New Jersey: Prentice-Hall.
Gall, M. D., Borg, W. R., & Gall, J. P. (2002). Educational research: an introduction. (7th ed.). New York: Pearson.
Broman, B. (1982). The early years in childhood education. Boston: Houghton Mifflin.
Dick and Carey Instructional Design Model. (2019). World of work project. Retrieved from https://worldofwork.io/2019/08/dick-carey-instructional-design-model/
Goleman, D. (1998). Working with emotional intelligence. New York: Bantam Book.
Gardner, H. (1983). Frames of mind: a theory of multiple intelligences. New York: Basic Books.
Joyce, B., Weil, M., & Calhoun, E. (2004). Models of teaching. (7th ed.). Boston: Allyn and Bacon.
Kruse, K. (2008). Introduction to instructional design and the Addie model. Retrieved from https://portal.ct.gov/-/media/ctdn/ttt2015/ttt2015module5introinstdesignaddiepdf.pdf
Medina, M. S., Castleberry, A. N., & Persky, A. M. (2021). Metacognition: a tool for learning and assessment in pharmacy education. American Journal of Pharmaceutical Education, 85(5), 847-856. https://doi.org/10.5688/ajpe847856
Piaget, L. (1995). Sociological Studies. (2nd ed). London: Routledge.
Salovey, P., & Mayer, J. D. (1990). Emotional intelligence. Imagination, Cognition and Personality, 9(3), 185-211. https://doi.org/10.2190/DUGG-P24E-52WK-6CDG