การศึกษาแหล่งโบราณคดีและประวัติศาสตร์บริเวณลุ่มน้ำอิงในจังหวัดพะเยา เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์
คำสำคัญ:
แหล่งโบราณคดีและประวัติศาสตร์บริเวณลุ่มน้ำอิง, การท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การศึกษาแหล่งโบราณคดีและประวัติศาสตร์บริเวณลุ่มน้ำอิงในจังหวัดพะเยาเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบททรัพยากรวัฒนธรรมในแหล่งโบราณคดีและประวัติศาสตร์บริเวณลุ่มน้ำอิงในจังหวัดพะเยาเพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดพะเยา
ผลการศึกษา ที่ได้จากการประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดพะเยา พบว่า แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดพะเบาแบ่งตามคุณภาพมาตรฐานได้ 5 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่มีคุณภาพในระดับดีเยี่ยม ได้แก่ เวียงลอ กลุ่มที่ 2 แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่มีคุณภาพในระดับดีมาก ได้แก่ วัดศรีโคมคำ กลุ่มที่ 3 แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่มีคุณภาพในระดับ ได้แก่ วัดพะธาตุจองทอง วัดลี วัดติโลกอาราม กลุ่มที่ 4 แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่มีคุณภาพในระดับปานกลาง ได้แก่ วัดร่องไฮ บ่อสิบสอง กลุ่มที่ 5 แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่มีคุณภาพในระดับต่ำ วัดสบร่องขุย เมื่อพิจารณาในภาพรวมทั้งหมด 8 แหล่ง พบว่า แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดพะเยาอยู่ในระดับ ดี
โดยแหล่งโบราณคดีและประวัติศาสตร์ของจังหวัดพะเยามีศักยภาพการรองรับด้านการท่องเที่ยวสูงที่สุด (ร้อยละ 77.5) รองลงมาคือ ศักยภาพในการดึงดูดด้านการท่องเที่ยว (ร้อยละ 68.4) ด้านศักยภาพในการมีการบริหารจัดการ พบว่า ในภาพรวมแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดพะเยาอยู่ในระดับต่ำที่สุด (ร้อยละ 51.9)
คำสำคัญ : แหล่งโบราณคดีและประวัติศาสตร์บริเวณลุ่มน้ำอิงในจังหวัดพะเยา, การท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์
References
กรมการท่องเที่ยว. (2552). คู่มือการประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์.
กรมศิลปากร. (2525). การขึ้นทะเบียนโบราณสถานภาคเหนือ. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.
-----------. (2547). รายงานการขุดค้นโบราณสถานร่องไฮและโบราณสถานเวียงลอ.
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม. (2560). ประกาศเมืองเก่าของจังหวัดพะเยา.
จารุวรรณ โปษยานนท์. (2554). แนวทางการจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรมในบริเวณลุ่มแม่น้ำอิง.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน.กรุงเทพฯ.
บุณยสฤษฏ์ อเนกสุข. (2558). ยล เยี่ยม เยือน เหย้า : แนวคิดและทฤษฎีว่าด้วยการท่องเที่ยว
เชิงวัฒนธรรม.
แผนปฏิบัติการพัฒนาการท่องเที่ยวภายในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา พ.ศ.2559-2563
วศิน ปัญญาวุธตระกูล และสุภมาศ อ่ำทอง. (2560). การศึกษาศักยภาพในการจัดการการท่องเที่ยวเชิง
ศิลปวัฒนธรรมที่มาจากองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมของชุมชน.สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2. (2560).
Dickman, C.R. (1996). Overview of the Impacts of Feral Cats on Australian Native Fauna. Australian Nature Conservation Agency, Canberra.
Goeldner, C. R. and Ritchies, B. J. (2006). Tourism: Principles, practices and philosophies. New Jersey: John Wiley & Sons.
Kušen, E. (2010). A system of tourism attractions. Tourism Review, 58 (4), 409-424.
Madhyamapurush, W. (2019). Structure of Tourism System. Journal of Thai Hospitality and Tourism, 14(1), 94–102. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/
tourismtaat/article/view/175101
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความเป็นลิขสิทธิของคณะมส. มรภ อต.