การถอดบทเรียนและเสนอกลไกการพัฒนาไปสู่การสร้างนวัตกรรมการจัดการมูลฝอยในชุมชนบุ่งวังงิ้ว หมู่ที่ 1 ตำบลปาเซา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • ชลธิดา อุเทศนันท์
  • ประพันธ์ แจ้งเอี่ยม
  • ยุถิกา คลังคง
  • จารุวรรณ จันต๊ะพงษ์

คำสำคัญ:

การถอดบทเรียน, กลไกการพัฒนาไปสู่การสร้างนวัตกรรมการจัดการมูลฝอย

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ[1]

             การวิจัยเรื่อง  “การถอดบทเรียนและแนวทางการพัฒนาไปสู่การสร้างนวัตกรรมในชุมชนบ้านบุ้งวังงิ้ว หมู่ที่ 1 ตำบลป่าเซ่า อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อถอดบทเรียนการทำงานการจัดการขยะของชุมชนบานบุ่งวังงิ้ว หมู่ที่ 1 ตำบลปาเซา อำเภอเมอง จังหวัดอุตรดิตถ์ 2) เพื่อเสนอกลไกการพัฒนาไปสู่การสร้างนวัตกรรมการจัดการมูลฝอยในชุมชนบุ่งวังงิ้ว หมู่ที่ 1 ตำบลปาเซา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์          การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิง คุณภาพ (Qualitative Research ) โดยใช้แนวคำถามการสัมภาษณ์เชิงลึก (Interview Guide) ในการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยผ่านการทบทวนเอกสารและรายงานการศึกษาต่าง ๆ ครอบคลุมทั้ง ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านเนื้อหา ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้นำชุมชน คณะกรรมการดำเนินงานด้านขยะในชุมชน จำนวน 40 คน  ผลการวิจัย พบว่า คณะกรรมการมาจากหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นผู้นำชุมชน ชุมชนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ที่ร่วมกันดำเนินการ มีกลไกที่สำคัญในการดำเนินงาน คือ “คณะกรรมการชุมชน”มีการแผนชัดเจนในการดำเนินงาน โดยให้ความสำคัญ กับการตระหนักร่วมกันในชุมชน โดยอาศัยกิจกรรม “ การสื่อสาร” เป็นสิ่งสำคัญในการเข้าถึง และร่วมมือกันในชุมชน และนำไปสู่การยอมรับและเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการมูลฝอยในชุมชน โดยใช้เครื่องมือทางสังคม เช่น ทุนทางสังคม บุคคลตัวอย่าง ครอบครัว กลุ่ม องค์กร ชุมชน ที่มีกิจกรรมและขั้นตอนหนุนเสริมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชน รวมทั้งมีหน่วยงานภาครัฐ องค์กรภาคเอกชน เครือข่ายการทำงาน ฯลฯ เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนงาน การสร้างรับรู้และการมีส่วนร่วม จากการถอดบทเรียนได้นำไปสู่กลไกการพัฒนาไปสู่การสร้างนวัตกรรมการจัดการมูลฝอยในชุมชนบุ่งวังงิ้ว หมู่ที่ 1 ตำบลป่าเซา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ต่อไป เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของชุมชนในการยกระดับไปการการสร้างนวัตกรรมการจัดการมูลฝอ

References

กรมการปกครอง . 2543. คู่มือการจัดการขยะมูลฝอยเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ .ส่วน พัฒนาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ.

ถนอม บริคุต,สอ. (2557). ทฤษฎีส่วนประสมทางการตลาด. ค้นหาข้อมูลเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2562, จาก https://fifathanom.wordpress.com/.

ธนพร พนาคุปต์.2538. พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชนที่ อาศัยในเขต เทศบาลเมืองปัตตานี. กรุงเทพมหานคร : วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุนีย์มัลลิกะมาลย์ และ นันทพล กาญจนวัฒน์. (2543) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการ จัดการขยะชุมชน. กรุงเทพฯ:รายงานการวิจัยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

ณีรวรรณ ศรแผลง. (2552). การพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการมูลฝอย :กรณีศึกษา เทศบาลต าบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

เทศบาลตำบลป่าเซ่า. (2559). ข้อมูลพื้นฐาน. Retrieved 12 มิถุนายน 2559, fromhttp://www.pasaouttaradit.go.th/index.php?op=staticcontent&id= 8410

ประพจน์ สั่งหมื่นเหม้า. (2553). แนวทางการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลบ้าน ค้ออำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, เลย

เทศบาลตำบลป่าเซ่า. (2564). ข้อมูลหน่วยงาน. ออนไลน์. สืบค้นวันที่ 10 กรกฎาคม 2564 จาก http://www.pasaouttaradit.go.th/index.ph

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-04