กลวิธีลักลอกงานวิชาการภาษาไทย: การวิเคราะห์ทางภาษาศาสตร์

Main Article Content

ศุภวัจน์ แต่รุ่งเรือง
วิโรจน์ อรุณมานะกุล

Abstract

การลักลอกงานวิชาการเป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญในวงวิชาการ แนวทางหนึ่งในการป้องปรามปัญหา ดังกล่าว คือการพัฒนาระบบตรวจหาการลักลอกให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ การทาความเข้าใจการลักลอกในฐานะปรากฏการณ์ทางภาษาก็เป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพของระบบได้ บทความชิ้นนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะวิเคราะห์กลวิธีลักลอกในงานวิชาการภาษาไทยใน 3 มิติ ได้แก่ ประเภทของกลวิธีลักลอก ปริมาณการใช้กลวิธีลักลอกแต่ละประเภท และรูปแบบการใช้กลวิธีลักลอก โดยใช้ทฤษฎี Rhetorical Structure Theory (RST) และแนวคิดเรื่องบทบาททางความหมายที่กริยามีต่อโครงสร้างประโยคเป็นกรอบในการวิเคราะห์ ผลการวิเคราะห์ปรากฏว่ากลวิธีลักลอกในงานวิชาการภาษาไทยสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทใหญ่ และสามารถแยกเป็นประเภทย่อยได้ทั้งหมด 15 ประเภท ส่วนปริมาณการใช้กลวิธีลักลอกนั้น พบว่ากลวิธีที่ใช้มากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ การลบ/การละ การแทรก และการตัดทอนเนื้อหา และในด้านรูปแบบการใช้กลวิธีลักลอกนั้น พบว่าผู้ลักลอกอาจเลือกใช้กลวิธีใดกลวิธีหนึ่งในการลักลอกหรือใช้หลายกลวิธีร่วมกันก็ได้ แต่มีแนวโน้มว่า ผู้ลักลอกจะใช้กลวิธีลักลอกร่วมกันในจานวนน้อยหรือเลือกใช้กลวิธีใดกลวิธีหนึ่งเท่านั้น และในกรณีที่ใช้หลายกลวิธีร่วมกัน ผู้ลักลอกจะเลือกใช้กลวิธีที่ง่ายและซับซ้อนน้อยก่อน


Plagiarism is currently a major problem in the academic world. Many plagiarism detection systems have been developed to deal with this problem. In order to enhance the system, the understanding of plagiarism as a linguistic phenomenon is one of the key issues. As such, the purpose of this paper is to investigate the strategies used in plagiarising Thai academic texts in three aspects i.e. types, quantities and patterns. The analysis is based on the Rhetorical Structure Theory (RST) and semantic roles related to sentence structure concept. It is found that there are 2 main plagiarism strategies which can be divided into 15 types; the top-three types of plagiarism strategies are deletion, insertion and content reduction; and plagiarists may use a single or combined types of plagiarism strategies. However, there is a tendency that plagiarists prefer to use a single or less combined types of plagiarism as well as the less complicated strategies in plagiarism.

Article Details

How to Cite
แต่รุ่งเรือง ศ., & อรุณมานะกุล ว. (2018). กลวิธีลักลอกงานวิชาการภาษาไทย: การวิเคราะห์ทางภาษาศาสตร์. Language and Linguistics, 34(1), 38–65. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/joling/article/view/118175
Section
Articles