การใช้เทคนิคทางภูมิศาสตร์ในการศึกษาภูมิศาสตร์ภาษาถิ่น

Main Article Content

ศิริวิไล ธีระโรจนารัตน์

Abstract

ภาษาถิ่นโดยเฉพาะในแขนงวิชาภูมิศาสตร์ภาษาถิ่น ศึกษาการแปรของภาษาตามถิ่นที่อยู่ของผู้พูด โดยมีจุดมุ่งหมายหลักที่จะกำหนดเส้นหรือแนวแบ่งเขตภาษา การศึกษาในลักษณะดังกล่าวต้องเกี่ยวข้องกับศาสตร์ทางพื้นที่โดยตรง ซึ่งรวมถึงการสำรวจ เก็บและบันทึกข้อมูลในบริเวณที่ศึกษา และการแสดงผลลัพธ์ในรูปแผนที่ภาษา ความก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ส่งผลให้เทคโนโลยีและเครื่องมือทางภูมิศาสตร์มีการพัฒนาไปอย่างมาก เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัด เก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ได้รับการพัฒนาให้ใช้งานได้ง่ายและมีความสามารถเพิ่มมากขึ้น ด้วยเหตุดังกล่าว ในปัจจุบันเทคนิคทางภูมิศาสตร์จึงได้รับการนำไปประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางกับงานหลากหลายสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ อาทิเช่น งานทางด้านประชากรศาสตร์ สิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ดีการนำเอาเทคนิคทางภูมิศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับงานทางภาษาศาสตร์และภาษาถิ่นในประเทศไทยยังอยู่ในแวดวงที่จำกัดและอยู่ในระยะเริ่มต้น บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอเทคนิคทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงแสดงแนวทางการบูรณาการการใช้เทคนิคทางภูมิศาสตร์กับงานภูมิศาสตร์ภาษาถิ่น สำหรับให้ผู้ที่สนใจศึกษาภาษาถิ่นนำไปประยุกต์ใช้ในการวางโครงการต่อไป


This paper aims to introduce geographical techiques-Geographic Information System (GIS), Remote Sebsing (RS) and Global Positioning System (GPS). Some examples of their applications to Dialect Geography are also demonstrated.

Article Details

How to Cite
ธีระโรจนารัตน์ ศ. (2018). การใช้เทคนิคทางภูมิศาสตร์ในการศึกษาภูมิศาสตร์ภาษาถิ่น. Language and Linguistics, 27(1), 1–18. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/joling/article/view/124697
Section
Articles