การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการสูญคำศัพท์ ของบุคคลสามระดับอายุในภาษาไทถิ่น จังหวัดอุตรดิตถ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่อง การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการสูญคำศัพท์ของบุคคลสามระดับอายุในภาษาไทถิ่น จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งวิเคราะห์เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงคำศัพท์ที่เกิดขึ้นในภาษาไทถิ่น 3 ภาษา ได้แก่ ภาษาคำเมือง ภาษาพวน และภาษาลาว ที่พูดโดยบุคคลสามระดับอายุ การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ผู้บอกภาษาโดยใช้รายการคำศัพท์ภาษาที่ใช้เหมือนกัน จำนวน 400 คำ สัมภาษณ์ผู้บอกภาษามีทั้งเพศชายและเพศหญิง แบ่งออกเป็น 3 รุ่นอายุ ได้แก่ รุ่นอายุที่ 1 อายุ 60 ปีขึ้นไป รุ่นอายุที่ 2 อายุ 35-50 ปี และรุ่นอายุที่ 3 อายุ 15-25 ปี โดยเก็บข้อมูลจากผู้บอกภาษารุ่นอายุละ 4 คน รวมทั้งสิ้น 36 คน (ภาษาไทถิ่น 3 ภาษา x 3 รุ่นอายุ x รุ่นอายุละ 4 คน) ผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงการสูญคำศัพท์ในภาษาไทถิ่นทั้ง 3 ภาษา ส่วนหนึ่งพบว่ามีคำศัพท์จำนวนหนึ่งที่ผู้พูดไม่ค่อยใช้แล้ว และบางคำใช้เฉพาะผู้พูดรุ่นที่ 1 ส่วนผู้พูดรุ่นที่ 2 และรุ่นอายุที่ 3 แทบไม่ค่อยใช้หรือไม่เคยใช้ หรือไม่เคยได้ยินเลย ดังนั้นจึงสันนิษฐานได้ว่าอาจเกิดการสูญของคำศัพท์จำนวนหนึ่งในภาษาไทถิ่นในอนาคตอันใกล้นี้
Article Details
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของภาษาและภาษาศาสตร์
References
จริยา เสียงเย็น. (2560). การแปรการใช้ศัพท์ของคนสามระดับอายุในภาษาผู้ไทกะป๋อง ประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
ฌัลลิกา มหาพูนทอง. (2559). การแปรของศัพท์และเสียงในภาษาไทยถิ่นภูเก็ตตามอายุ: การแสดงนัยของการสัมผัสภาษาถิ่น (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ณัฐวรรณ ชั่งใจ. (2555). วิวัฒนาการของภาษาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ธวัช ปุณโณทก. (2553). วิวัฒนาการภาษาไทยและอักษรไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีระพันธ์ ล. ทองคำ, พิณรัตน์ อัครวัฒนากุล, ชมนาด อินทจามรรักษ์, กนิษฐา พุทธเสถียร, สุภาพร ผลิพัฒน์ และยุพาพร ฮวดศิริ. (2550). ศัพทานุกรม 15 ภาษาที่พูดในจังหวัดน่าน (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
น้ำทิพย์ ภิงคารวัฒน์. (2551). การเปลี่ยนแปลงของภาษาผ่านกาลเวลา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เปรมจิต ชนะวงศ์. (2540). ภาษาศาสตร์เบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). นครศรีธรรมราช:
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช.
พิณรัตน์ อัครวัฒนากุล. (2555). โครงการการแปรและการเปลี่ยนแปลงทางศัพท์และเสียงในภาษาไทถิ่นที่พูดในจังหวัดน่าน (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). เชียงใหม่: สาขาวิชาภาษาศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยพายัพ.
วรวิทย์ เลี้ยงถนอม. (2532). พจนานุกรมภาษาไทยพวน. ม.ป.ท.: มูลนิธิไทยพวน.
วีระพงศ์ มีสถาน. (2543). พจนานุกรมลาว-ไทย (Lao-Thai Dictionary). นครปฐม: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศรินยา จิตบรรจง. (2551). การเปลี่ยนแปลงการใช้คำศัพท์ ภาษาญ้อของชาวบ้านท่าขอนยาง ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม: ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศิริชัย หอมดวง และศุภกิต บัวขาว. (2559). การแปรของเสียงพยัญชนะในภาษาไทยพวน อําเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี. วารสารบัณฑิตศึกษา มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(1), 122-137.
สมทรง บุรุษพัฒน์. (2554). การแปรของพยัญชนะต้นในภาษาไทยโซ่ง. วารสารภาษาและภาษาศาสตร์, 29(2), 81-113.
สุวิไล เปรมศรีรัตน์. (2549). สถานการณ์ทางภาษาในสังคมไทยกับความหลากหลายทางชาติพันธุ์. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 25(2), 5-17.
สุวัฒนา เลี่ยมประวัติ และกันทิมา วัฒนะประเสริฐ. (2539). วิเคราะห์การใช้คำและการแปร ของภาษาของคนสามระดับอายุ ในชุมชนภาษาลาว ลุ่มน้ำท่าจีน. กรุงเทพฯ: คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
โสภิตา ถาวร. (2556). การแปรและการเปลี่ยนแปลงเสียงในภาษาไทดำ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.
อุทัยวรรณ ตันหยง. (2526). วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้คำของคนสามระดับอายุในภาษาพวน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.