On the Semantic Extension of the Thai Specific Motion Verb /suak/
Main Article Content
Abstract
คำว่า เสือก จัดเป็นคำกริยาแสดงการทำให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเคลื่อนที่ที่มีลักษณะเฉพาะที่เข้าข่ายการเป็นคำหลายความหมายตามปริบทการปรากฏ 3 ปริบท ดังประโยค (1) เขาเสือก1ตัวเองเข้าไปในผ้าห่ม (2) อย่าเสือก2และ (3) อยากป่วยเสือก3ไม่ป่วย
จากตัวอย่างประโยคจะเห็นได้ว่า คำว่า เสือก1 แสดงสถานการณ์การเคลื่อนที่ด้วยตนเองของประธานในประโยคเข้าไปยังผ้าห่มซึ่งเป็นพื้นที่อ้างอิง ส่วนคำว่า เสือก2 แสดงสถานการณ์ที่ประธานกระทำพฤติกรรมอันมิใช่ธุระของตนโดยไม่สมควร ขณะที่คำว่า เสือก3 แสดงความสัมพันธ์แบบขัดแย้งระหว่างประโยคสองประโยค
บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความหมายของคำว่า เสือก ในปริบทต่าง ๆ จากมุมมองของทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางความหมายเนื่องจากการอนุมานความหมายใหม่ตามบริบท (Traugott & Dasher, 2002) โดยใช้ข้อมูลจากคลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติฯ และสื่อออนไลน์ ได้แก่ www. pantip.com, www.posttoday.com และ www.facebook.drama-addict.com
ผลการศึกษาพบว่า คำกริยา เสือก1 มีความหมาย “แสดงการทำให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเคลื่อนที่ไปยังทิศทางใดทิศทางหนึ่ง” เป็นความหมายประจำคำพื้นฐาน ก่อนที่จะขยายไปสู่ความหมายของคำกริยา เสือก2 “แสดงการเข้าไปก้าวก่ายในเรื่องอันมิใช่ธุระของตนโดยไม่สมควร” ผ่านกระบวนการอุปลักษณ์และกระบวนการนามนัย และขยายความหมายต่อไปยังคำกริยา เสือก3 “แสดงความขัดแย้ง” ผ่านกระบวนการนามนัย
Article Details
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของภาษาและภาษาศาสตร์
References
กิตติศักดิ์ ใจอารี. (2543). การวิเคราะห์อรรถลักษณ์ของคำกริยาบอกการเคลื่อนที่ของวัตถุในภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ.
คฺยอง อึน ปาร์ค. (2554). ปรากฏการณ์พหุนัยของคำว่า /gada/ ในภาษาเกาหลีเปรียบเทียบกับคำว่า ไป ในภาษาไทย: การศึกษาตามแนวภาษาศาสตร์ปริชาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.
จินดา เฮงสมบูรณ์. (2528). คำกริยาบอกการเคลื่อนที่ในภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
ชลธิชา สุดมุข. (2537). การศึกษาคำกริยาแสดงอาการโดยไม่กระทบกระเทือนผู้อื่นหรือสิ่งอื่นในภาษาไทยโดยการจัดกลุ่มทางความหมาย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.
รุ่งทิพย์ รัตนภานุศร. (2549). การขยายความหมายของคำกริยาแสดงการรับรู้ด้วยตาในภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2556). ชนิดของคำในภาษาไทย: การวิเคราะห์ทางวากยสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์, กิติมา อินทรัมพรรย์ และนัฐวุฒิ ไชยเจริญ. (2554). ไวยากรณ์ภาษาไทยมาตรฐาน. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการไวยากรณ์ไทยฉบับครอบคลุมภาษาย่อย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
Heine, B. (2002). On the role of context in grammaticalization. In Wischer, I. & G. Diewald (eds). New Reflections on Grammaticalization. Amsterdam: Benjamins.
Heine, B., Claudi, U., & Hunnemeyer, F. (1991). Grammaticalization: A Conceptual framework. Chicago: Chicago University Press.
Hopper, P. J. & Traugott E. C. (2003). Grammaticalization. Cambridge: Cambridge University Press.
Indrambarya, K. (1994). Subcategorization of Verbs in Thai: A Lexicase Dependency Approach. Doctor of Philosophy Thesis in Linguistics, University of Hawai’i.
Lakoff, G. (1987). Woman, fire and dangerous things: What categories reveal about the mind. Chicago: University of Chicago Press.
Starosta, S. (1988). The Case for Lexicase : An outline of lexicase grammatical theory. London: Print Publishers.
Traugott, E. C. (1982).“From Propositional to Textual and Expressive Meanings: some semantic-pragmatic aspects of grammaticalization.” In W. P. Lehmann and Y. Malkiel (eds.). Perspectives on Historical Linguistics. Amsterdam: Benjamins, 245-271. Cited in McMahon, A. 1995. Understanding Language Change. New York: Cambridge University Press.
Traugott, E. C. (1997). The Role of the Development of Discourse Markers in a Theory of Grammaticalization. Available from: http://www.stanford.edu/-traugott/papers/discourse. pdf.
Traugott, E. C. & Dasher, R. B. (2002). Regularity in Semantic Change. Cambridge: Cambridge University Press.
Tylers, A & C. Evans. (2003). The semantics of English preposition: Spatial scenes, embodied meaning and cognition. Cambridge: Cambridge University Press.