An analysis of asymmetrical behavior in second language production from Optimality Theoretic perspective: A case study of production of Japanese /N/ by Thai learners.

Main Article Content

ธนศักดิ์ ศิริคะเณรัตน์
พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์
ธีราภรณ์ รติธรรมกุล

บทคัดย่อ

ความแปลกเด่นของฐานกรณ์เป็นปรากฏการณ์ที่พบได้ทั่วไปในภาษาต่าง ๆ ทั่วโลก แต่งานวิจัยส่วนใหญ่มักศึกษาความแปลกเด่นในภาษาที่หนึ่งเท่านั้น de Lacy (2006) ได้เสนอการวิเคราะห์ตามแนวทฤษฎีอุตมผล (Optimality Theory: OT) ว่าปรากฏการณ์ความแปลกเด่นเกิดจากปฏิสัมพันธ์ของข้อบังคับความแปลกเด่นที่มีการเรียงลำดับชั้นสากลของฐานกรณ์แบบ dorsal > labial > coronal งานวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาว่าข้อบังคับตามที่ de Lacy (2006) เสนอนั้นสามารถอธิบายปรากฏการณ์ที่พบในการออกเสียงภาษาที่สองได้หรือไม่ โดยศึกษาลักษณะการออกเสียง /N/ หน้าเสียงพยัญชนะต่าง ๆ ในภาษาญี่ปุ่นของผู้เรียนชาวไทย เสียง /N/ เป็นหน่วยเสียงที่ต้องกลมกลืนฐานกรณ์กับเสียงพยัญชนะที่ตามมา การออกเสียงของผู้เข้าร่วมการทดลองที่ไม่กลมกลืนฐานกรณ์ย่อมสะท้อนให้เห็นการเรียงลำดับข้อบังคับฐานกรณ์ ในการทดลอง ผู้วิจัยให้ผู้เข้าร่วมการทดลอง 15 คนอ่านคำทดสอบในกรอบประโยค โดยที่คำทดสอบเป็นคำสองพยางค์ พยางค์แรกลงท้ายด้วยเสียง /N/ และพยางค์ที่สองขึ้นต้นด้วยเสียง [m, n, ŋ] คำทดสอบทุกคำเป็นคำที่ไม่มีจริง ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าผู้เข้าร่วมการทดลองออกเสียง /N/ ทั้งแบบที่กลมกลืนฐานกรณ์และไม่กลมกลืนฐานกรณ์ จากการวิเคราะห์พบว่าข้อบังคับลักษณะที่ de Lacy (2006) เสนอนั้น สามารถอธิบายข้อมูลได้แต่มีข้อจำกัดในการวิเคราะห์ คือ หากเสียงที่ตามหลังเสียง /N/ มีลักษณ์ [coronal] การวิเคราะห์ของ de Lacy (2006) ทำนายว่ารูปรับเข้าจะเป็น [ŋ_cor] เสมอ และหากเสียงที่ตามหลังเสียง /N/ มีลักษณ์ [labial] จะทำนายว่ารูปรับเข้าจะเป็น /n_lab/ และ /ŋ_lab/ จะต้องมีรูปส่งออกเป็น [n_lab] และ [ŋ_lab] ตามลำดับเท่านั้น

Article Details

How to Cite
ศิริคะเณรัตน์ ธ., พิทยาภรณ์ พ. . ., & รติธรรมกุล ธ. . (2020). An analysis of asymmetrical behavior in second language production from Optimality Theoretic perspective: A case study of production of Japanese /N/ by Thai learners. ภาษาและภาษาศาสตร์, 38(1), 27–53. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/joling/article/view/228034
บท
บทความวิจัย

References

ธนศักดิ์ ศิริคะเณรัตน์ (2555). การรับการกลมกลืนฐานกรณ์เสียงพยัญชนะท้ายนาสิกตามเสียงที่ตามมาในภาษาญี่ปุ่นของผู้เรียนคนไทย: การศึกษาตามแนวทฤษฎีอุตมผล. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

Battistella, E. L. (1990). Markedness: The evaluative superstructure of language. Albany, NY: State University of New York Press.

Chomsky, N., & Halle, M. (1968). The sound pattern of English. New York, NY: Harper & Row.

de Lacy, P. (2006). Markedness: Reduction and preservation in phonology. Cambridge, England: Cambridge University Press.

Gnanadesikanm, A. E. (1995). Markedness and faithfulness constraints in child phonology. Rutgers Optimality Archive, 67.

Retrieved from http://roa.rutgers.edu/files/67-0000/67-0000-GNANADESIKAN-0-0.PDF

Hayes, B., Tesar, B., & Zuraw, K. (2013). OTSoft: Optimality Theory Software (Version 2.5) [Computer Software]. Retrieved from http://www.linguistics.ucla.edu/people/hayes/otsoft/.

Hume, E. (2003). Language specific markedness: The case of place of articulation. Studies in Phonetics, Phonology & Morphology, 9(2), 295-310.

Hume, E., & Tserdanelis, G. (2002). Labial unmarkedness in Sri Lankan Portuguese Creole. Phonology, 19(3), 441-458.

Labrune, L. (2012). The phonology of Japanese. Oxford, England: Oxford University Press.

Lombardi, L. (1995). Why place and voice are different: Constraint-specific alternation and Optimality Theory. Rutgers Optimality Archive, 105. Retrieved from http://roa.rutgers.edu/files/105-0000/105-0000-LOMBARDI-0-1.PDF

Lombardi, L. (2002). Coronal epenthesis and markedness. Phonology, 19(2), 219-251.

Lombardi, L. (2003). Second language data and constraints on manner: Explaining substitutions for the English interdentals. Second Language Research, 19(3), 225-250.

Prince, A., & Smolensky, P. (1993). Optimality Theory: Contraint in generative grammar: ROA version. Retrieved from http://roa.

rutgers.edu/files/537-0802/537-0802-PRINCE-0-0.PDF

Prince, A., & Smolensky, P. (2004). Optimality Theory: Constraint interaction in generative grammar. Malden, MA: Blackwell.

Smolensky, P. (1993). Harmony, markedness and phonological activity. Rutgers Optimality Archive, 87. Retrieved form https://ling.auf.

net/lingbuzz/repo/ROA/article/000076?id=87&repo=ROA