การทับศัพท์ภาษาไทยในภาษาฝรั่งเศส: กรณีศึกษาการทับศัพท์ในรายการอาหารและวรรณกรรมแปล

Main Article Content

ธีระ รุ่งธีระ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้รูปอักษรโรมันแทนหน่วยเสียงพยัญชนะและหน่วยเสียงสระภาษาไทยที่ใช้จริงในเอกสารภาษาฝรั่งเศส พร้อมทั้งเปรียบเทียบกับหลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงของราชบัณฑิตยสถาน โดยเก็บข้อมูลจากรายการอาหารจากร้านอาหารไทยในประเทศฝรั่งเศสจำนวน 15 ร้านและจากวรรณกรรมไทยที่แปลเป็นภาษาฝรั่งเศสจำนวน 4 เรื่อง จากการศึกษาพบว่าการทับศัพท์ภาษาไทยในภาษาฝรั่งเศสมีความหลากหลายและไม่ได้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของราชบัณฑิตยสถาน มีการทับศัพท์ 4 วิธี ได้แก่ การถอดอักษร การถ่ายเสียง การถอดตามอักขรวิธีภาษาอังกฤษ และการถอดตามอักขรวิธีภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้ยังพบว่ารูปแบบงานเขียนที่แตกต่างกันมีผลต่อการทับศัพท์ กล่าวคือ รูปแบบงานเขียนที่มีลักษณะเป็นทางการจะมีการทับศัพท์ที่เป็นระบบมากกว่ารูปแบบงานเขียนที่มีลักษณะไม่เป็นทางการ

Article Details

How to Cite
รุ่งธีระ ธ. . (2022). การทับศัพท์ภาษาไทยในภาษาฝรั่งเศส: กรณีศึกษาการทับศัพท์ในรายการอาหารและวรรณกรรมแปล. ภาษาและภาษาศาสตร์, 40(1), 1–29. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/joling/article/view/249819
บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา นาคสกุล. (2556). ระบบเสียงภาษาไทย. โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

แดนอรัญ แสงทอง. (2559). อสรพิษ ฉบับสามภาษา (ไทย, อังกฤษ, ฝรั่งเศส) (มาร์แซล บารัง, ผู้แปล). ไซน์ พับลิชชิ่ง เฮาส์.

นันทนา รณเกียรติ. (2549). การเขียนป้ายจราจรด้วยอักษรโรมัน. ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นิตยา กาญจนะวรรณ. (2554). ทับศัพท์ บัญญัติศัพท์ ถอดอักษร จาก Siamization ถึง Anglicization. โอเดียนสโตร์.

พิมลพรรณ ธรรมวุฒิพิศาล. (2546). การเขียนอักษรโรมันในแผนที่กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง. ราชบัณฑิตยสถาน. https://www.orst.go.th/iwfm_table.asp?a=36&i=0040002104011001%2F63ERJ5814038

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. https://dictionary.orst.go.th/

วิโรจน์ อรุณมานะกุล. (2551). อักขรวิธีไทยและการถอดอักษรระหว่างภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ. โครงการเผยแพร่ผลงานวิขาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อทิตา อมรลักษณานนท์. (2550). การเขียนชื่อคนไทยด้วยอักษรโรมัน: ศึกษาเชิงวิเคราะห์เปรียบเทียบ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อุไรศรี วรศะริน และอรวรรณ บุญยฤทธิ์. (2545). ระบบการถ่ายถอดอักษรเป็นอักษรโรมัน-การถ่ายถอดเสียง. ใน ประชุมอรรถบทเขมร: รวมบทความวิชาการของศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.อุไรศรี วรศะริน (น. 233-275). ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Boontawee, K. (1991). Fils de l'I-Sân (G. Fouquet, Trans.). Fayard. (Original work published 1977).

Catach, N. (2005). L’orthographe française. Armand Colin.

Haas, M. R. (1956). The Thai system of writing. Spoken Language Services.

Léon, P., Léon, M., Léon, F., & Thomas, A. (2009). Phonétique du FLE. Armand Colin.

Kanchanawan, K. (2006). Romanization, transliteration, and transcription for the globalization of the Thai language. The Journal of the Royal Institute of Thailand, 31(3), 832-841.

Korbjitti, C. (2003). La chute de Fak (M. Barang, Trans.). Seuil. (Original work published 1981).

Naowasate, J. (2011). Les emprunts du thaï dans les guides touristiques en français: Lonely Planet, Michelin et Le Routard [Mémoire de Maîtrise]. Université Thammasat.

Rayawa, N. (1995). Berges hautes, troncs lourds (J. P. A. Toureille-Lichtenstein, Trans.). Roobrawi Books. (Original work published 1984).

Robert, P. (2012). Le Petit Robert. Le Robert.

Roungtheera, T. (2017). Francisation des toponymes thaïlandais dans les guides touristiques sur la Thaïlande: Analyses linguistiques et traductologies [Thèse de doctorat]. Université Sorbonne Nouvelle-Paris 3.

Tawanpiyayo, J. (2010). La transcription des mots thaïs dans les guides touristiques en français: Lonely Planet, Michelin et Le Routard [Mémoire de Maîtrise]. Université Thammasat.