การปนภาษากับการยืมภาษาอังกฤษในภาษาไทย

Main Article Content

รุ่งวิมล รุ่งโรจน์สุวรรณ

บทคัดย่อ

           งานวิจัยเรื่องการปนภาษากับการยืมภาษาอังกฤษในภาษาที่หนึ่งที่ผ่านมามีการถกเถียงในประเด็นว่าควรแยกความแตกต่างระหว่างการปนภาษากับการยืมภาษาหรือไม่ อีกทั้ง งานวิจัยที่เกี่ยวข้องยังไม่มีงานวิจัยใดที่ศึกษาเกณฑ์การแยกการปนภาษากับการยืมภาษาอังกฤษในภาษาไทยอย่างชัดเจน งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดเกณฑ์ทางภาษาในการวิเคราะห์คำปนกับคำยืมภาษาอังกฤษในภาษาไทย โดยเก็บข้อมูลคำภาษาอังกฤษในภาษาไทย จำนวน 400 คำ จากหนังสือพิมพ์ และนิตยสารภาษาไทย ระหว่าง พ.ศ. 2562-2563 ผลจากการศึกษาพบว่า การปนภาษากับการยืมภาษานั้นเป็นกระบวนการเดียวที่ต่อเนื่องกัน โดยเกณฑ์ที่ใช้แสดงลักษณะคำปนกับคำยืมภาษาอังกฤษที่ปะปนในภาษาไทยสามารถนำมาเรียงลำดับเกณฑ์จากเกณฑ์ลักษณะคำปนไปเป็นคำยืม ได้ดังนี้ เกณฑ์คำปนเรียงลำดับจาก การเขียนหลายรูปแบบ > การใช้รูปภาษาอังกฤษ > การเปลี่ยนแปลงเสียง เกณฑ์คำยืมเรียงลำดับจาก การเปลี่ยนแปลงเสียง > การมีคำเทียบเท่า > การสร้างคำ > การเปลี่ยนแปลงไวยากรณ์ > ปริมาณการปรากฏ > การปรากฏในพจนานุกรม > การเปลี่ยนแปลงความหมาย จากการใช้เกณฑ์ดังกล่าว สามารถจำแนกคำออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) รูปแบบของคำที่เป็นไปตามเกณฑ์ของคำปน คือ คำที่มีลักษณะคำปน 1-3 ลักษณะ และลักษณะคำยืม 1-2 ลักษณะ 2) รูปแบบของคำที่เป็นไปตามเกณฑ์คำปนและคำยืม คือ คำที่มีลักษณะคำปน 1-3 ลักษณะ และลักษณะคำยืม 2-7 ลักษณะ และ 3) รูปแบบของคำที่เป็นไปตามเกณฑ์ของคำยืม คือ คำที่ไม่มีลักษณะคำปน หรือมีลักษณะคำปนอย่างน้อย 1 ลักษณะ และลักษณะคำยืม 3-6 ลักษณะ

Article Details

How to Cite
รุ่งโรจน์สุวรรณ ร. (2023). การปนภาษากับการยืมภาษาอังกฤษในภาษาไทย. ภาษาและภาษาศาสตร์, 41(2), 114–138. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/joling/article/view/262402
บท
บทความวิจัย

References

ฉันทณี รักธรรมยิ่ง. (2538). การใช้ภาษาแพทย์: การปนภาษาระหว่างภาษาไทยและภาษาอังกฤษ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นภารัฐ ฐิติวัฒนา. (2539). การปนภาษาอังกฤษในภาษาไทยของอาจารย์ต่างสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นัฐยา บุญกองแสน. (2542). การปนภาษาอังกฤษในภาษาไทยกับทัศนคติทางภาษาของบุคคลต่างชั้นอาชีพ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิตยสาร ทีวีพูล - Tvpool. (29 กันยายน 2563). #ทีวีพูลปกใหม่ พิ้งกี้ สาวิกา ไชยเดช จากซีรีย์คลับฟรายเดย์ ตอน รักซับซ้อน. [Image attached] [Status update]. Facebook. https://www.facebook.com/photo/?fbid=2647699732145869&set=a.1498717393710781&locale=th_TH

นิตยา นิราศรพ. (2530). คำยืมภาษาอังกฤษในภาษาไทยระหว่าง พ.ศ. 2417-2453 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประยูร ทรงศิลป์ (2526). การเปลี่ยนแปลงของภาษา: คำยืมในภาษาไทย. เอกสารประกอบการเรียนรายวิชา ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย วิทยาลัยครูธนบุรี.

ศยามล ไทรหาญ (2553). การปนภาษาอังกฤษในภาษาไทยในนิตยสารวัยรุ่น [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สิริภัทร พรหมราช (2550). พัฒนาการคำยืมภาษาอังกฤษที่ปรากฏในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2493 พ.ศ. 2525 และ พ.ศ. 2542. สารภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย, 1(1), 162-174.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2542). ภาษาในสังคมไทย: ความหลากหลาย การเปลี่ยนแปลง และการพัฒนา (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Boztepe, E. (2003). Issues in code switching: Competing theories and models. Studies in Applied Linguistics & TESOL, 3(2), 1-27.

Janhom, W. (2011). English-Thai code-mixing in Thai health magazines [Master’s Thesis]. Srinakharinwirot University.

Kannaovakun, P., & Guther, A. C. (2003). The mixing of English and Thai in Thai television programs. Manusya Journal of Humanities, 6(2). 66-80.

Likhitphongsathorn, T., & Sappapan, P. (2013). Study of English code-mixing and code-switching in Thai pop songs. In Proceedings of the 3rd International Conference on Foreign Language Learning and Teaching 2013 (FLLT 2013): Research, Renovation and Reinforcement: Enhancing Quality in Language Education (pp. 1494-1505). Thammasat University, Language Institute.

Poplack, S., & Sankoff, D. (1984). Borrowing the synchrony of integration. Linguistics, 22(1), 99-135.

Poplack, S., Sankoff, D., & Miller, C. (1988). The social correlates and linguistics processes of lexical borrowing and assimilation. Linguistics, 26, 47-104.

Poplack, S. (2004). Code-switching. In U. Ammon, N. Dittmar, K. J. Mattheier & P. Trudgill (Eds.), Sociolinguistics. An international handbook of the science of language and society (2nd edition, pp. 589-596). Walter de Gruyter.

Preechaamornkul, T. (2005). Code-mixing of English and Thai television music programs [Master’s Thesis]. Chiangmai University.

Sopee, W. (2002). English-Thai code mixing: A study of Thai television programmes and the audience attitudes [Master’s Thesis]. Ramkhamhang University.