ภาษาและวยาคติ: ภาพสะท้อนจากมุมมองของวัยรุ่นที่มีต่อวัยผู้ใหญ่ ภาพสะท้อนจากมุมมองของวัยรุ่นที่มีต่อวัยผู้ใหญ่

Main Article Content

ศิรวัตร ไทยแท้

บทคัดย่อ

วยาคติหรือการมีทัศนคติเชิงลบต่อผู้อื่นโดยมีสาเหตุอันเนื่องมาจากการมีช่วงวัยที่แตกต่างกันนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้อยู่เสมอในการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลสองช่วงวัย โดยลักษณะดังกล่าวสามารถสะท้อนให้เห็นผ่านการเลือกใช้รูปแบบภาษาในชีวิตประจำวันทั่วไป ทั้งนี้การศึกษาเพื่อให้เห็นรูปแบบหรือลักษณะของภาษาดังกล่าวอย่างชัดเจนจะทำให้เห็นมุมมองเชิงลบที่มีต่อกันและเหตุผลเบื้องลึกอันเป็นที่มาของวยาคติเหล่านั้น ดังนั้นบทความนี้จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาลักษณะทางภาษาที่สะท้อนให้เห็นวยาคติของกลุ่มวัยรุ่นที่มีต่อวัยผู้ใหญ่ โดยข้อมูลที่นำมาศึกษาได้มาจากบทละครจากละครชุดเรื่องฮอร์โมน วัยว้าวุ่น ซึ่งออกอากาศทางโทรทัศน์ จำนวน 42 ตอน ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มวัยรุ่นมีมุมมองเชิงวยาคติต่อกลุ่มวัยผู้ใหญ่ ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านบุคลิกภาพและลักษณะนิสัย (การจำกัดสิทธิเสรีภาพ การมีพฤติกรรมดุด่าว่ากล่าวหรือจู้จี้ขี้บ่น การก้าวก่ายสิทธิความเป็นส่วนตัว การมีความคิดหรือพฤติกรรมที่ล้าสมัย การหยิบยกเรื่องราวที่เป็นปมด้อยของกลุ่มวัยรุ่นมาเป็นประเด็นในการสนทนา การมักทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ การวิตกกังวลกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น การปกปิดความจริงบางประการ) 2) ด้านหน้าที่ความรับผิดชอบ ต่อครอบครัว (การบกพร่องหรือละเลยต่อหน้าที่) 3) ด้านคุณธรรมและจริยธรรม (การยึดถือขนบธรรมเนียมหรือประเพณีดั้งเดิมอย่างเคร่งครัด การมีพฤติกรรมที่ขัดแย้งกับคำสอนของตนเอง) 4) ด้านความเชื่อ (การมีความเชื่อแบบไร้เหตุผล) และ 5) ด้านความสามารถ (การไม่เชื่อมั่นใน การกระทำหรือคำพูด การไม่เข้าใจในชีวิตความเป็นวัยรุ่น)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. (2557). จิตเวชสำหรับ
เด็กและวัยรุ่น. สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2562 จาก
https://med.mahidol.ac.th/ramamental/psychiatristknowledge/childpsychiatrist/08062014-0831
นววรรณ พันธุ์เมธา. (2553). ไวยากรณ์ไทย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภิญโญ ช่างสาน. (2539). เอกสารประกอบการสอนวิชาวาทการ. สงขลา: สถาบันราชภัฏสงขลา.
วิจิตรา เชิงจอหอ. (2556). วัยรุ่นไทยกับวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2562 จาก
https://www.dek- d.com/board/view/3052007/
ศิรวัตร ไทยแท้. (2562). การตัดสินความสุภาพจากถ้อยคำการตอบกลับการตำหนิใน
ภาษาไทย: มุมมองจากคนสองวัย. วารสารอักษรศาสตร์, 48(1), 77-96.
ศรีประภา ชัยสินธพ. (2557). สภาพจิตใจของวัยรุ่น. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2562
จาก https://med.mahidol.ac.th/ramamental/generaldoctor/
06062014-0847
Beaumont, S. L., & Wagner, S. L. (2004). Adolescent-parent verbal conflict:
The roles of conversational styles and disgust emotions. Journal
of language and social psychology, 23(3), 338-368.
Macnicol, J. (2010). Ageism and age discrimination. London, England:
International Longevity Center-UK.
Shah, R., Chauhan, N., Gupta, A. K., & Sen, M. S. (2016). Adolescent-parent
conflict in the age of social media: Case reports from India. Asian
journal of psychiatry, 23, 24-26.
Spencer-Oatey, H. (2002). Managing rapport in talk: Using rapport sensitive
incidents to explore the motivational concerns underlying the
management of relations. Journal of Pragmatics, 34(5), 529-545.
_______. (2005). (Im) politeness, face and perceptions of rapport:
Unpackaging their bases and interrelationships. Journal of Politeness Research. Language, Behaviour, Culture, 1(1), 95–119.
_______(Ed.). (2008). Culturally speaking: Culture, communication and politeness theory (2nd ed.). New York, NY: Continuum.