ภาพรวมของงานวิจัยเกี่ยวกับภาษาไทกลุ่มตะวันตกเฉียงใต้กับการแปรและการเปลี่ยนแปลงของภาษาในรอบ 4 ทศวรรษ (พ.ศ. 2524–2564)

Main Article Content

พิณรัตน์ อัครวัฒนากุล

บทคัดย่อ

ภาษาไทกลุ่มตะวันตกเฉียงใต้เป็นภาษากลุ่มหนึ่งในตระกูลภาษาขร้า-ไท (หรือไท-กะได) ที่มีการศึกษาวิจัยทางภาษาศาสตร์สืบเนื่องกันมาหลายทศวรรษ แต่ผลงานที่รวบรวมงานวิจัยในด้านนี้ยังมีไม่มากนัก บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการวิจัยเชิงสถิติพื้นฐานเกี่ยวกับภาษาไทกลุ่มตะวันตกเฉียงใต้ในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ ลักษณะทางเสียง คำศัพท์ ระบบคำ และการแปรหรือการเปลี่ยนแปลงในภาษาที่เผยแพร่ระหว่างปี พ.ศ. 2524–2564 ข้อมูลงานวิจัยมีทั้งที่เป็นรูปเล่มและไฟล์อิเล็กทรอนิกส์จากฐานข้อมูลต่าง ๆ ผลการวิจัยพบว่า มีผลงานเกี่ยวกับภาษาไทกลุ่มตะวันตกเฉียงใต้ในด้านต่าง ๆ รวม 1,076 เรื่อง ประเด็นที่มีการศึกษามากที่สุด คือ การแปรและการเปลี่ยนแปลงของภาษาเนื่องจากปัจจัยทางสังคม (162 เรื่อง, 15.06%) บทความนี้จึงมุ่งนำเสนอภาพรวมของงานวิจัยด้านการแปรและการเปลี่ยนแปลงในภาษาที่เผยแพร่ในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย ในแง่ของภาษาที่มีการศึกษาวิจัยพบว่า มีงานวิจัยด้านการแปรและการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากปัจจัยทางสังคมในภาษาไทยถิ่นใต้มากที่สุด รองลงมาคือ ภาษาไทยถิ่นกลาง (รวมภาษาไทยมาตรฐาน) ภาษาไทยถิ่นตะวันออกเฉียงเหนือ และภาษาไทยถิ่นเหนือตามลำดับ ส่วนภาษาอื่น ๆ พบว่า มีงานวิจัยเกี่ยวกับภาษาไทดำมากที่สุด ในแง่ของประเด็นที่ศึกษาวิจัยพบว่า มีงานที่ศึกษาการแปรหรือการเปลี่ยนแปลงของคำศัพท์มากที่สุด (53 เรื่อง, 32.72%) รองลงมาคือการแปรและการเปลี่ยนแปลงของเสียงวรรณยุกต์ (45 เรื่อง, 27.78%) งานวิจัยที่ครอบคลุมการแปรและการเปลี่ยนแปลงทางเสียงและคำศัพท์ (34 เรื่อง, 20.99%) และงานวิจัยเกี่ยวกับการแปรและการเปลี่ยนแปลงของเสียงพยัญชนะ (19 เรื่อง, 11.73%) ส่วนประเด็นที่มีการศึกษาวิจัยค่อนข้างน้อยคือ การแปรและการเปลี่ยนแปลงของเสียงสระ ผู้วิจัยตั้งข้อสังเกตได้ว่า งานวิจัยส่วนใหญ่เน้นศึกษาการแปรหรือการเปลี่ยนแปลงในภาษาใดภาษาหนึ่ง และวิเคราะห์ปัจจัยทางสังคมด้านใดด้านหนึ่ง ดังนั้นประเด็นที่น่าสนใจสำหรับการศึกษาวิจัยในอนาคต คือ การแปรหรือการเปลี่ยนแปลงในเชิงเปรียบเทียบทั้งทางเสียงและคำศัพท์ในภาษามากกว่า 1 ภาษาโดยวิเคราะห์ปัจจัยทางสังคมทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกตัวภาษาประกอบกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขนิษฐา ใจมโน. (2562). การสังเคราะห์และแนวโน้มการทำงานวิจัยด้านภาษาศาสตร์สังคม. วารสารมังรายสาร, 7(1), 71–90.

จินดา วรรณรัตน์, พัชลินจ์ จีนนุ่น, และ วราเมษ วัฒนไชย. (20–21 กรกฎาคม 2561). สถานภาพองค์ความรู้เกี่ยวกับการศึกษาภาษาในงานวิทยานิพนธ์ไทยช่วงทศวรรษ พ.ศ. 2550–พ.ศ. 2560 [Paper presentation]. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9, จังหวัดสงขลา, ประเทศไทย.

ณัฐพร จันทร์เติม และ รัตนา จันทร์เทาว์. (2560). การสังเคราะห์งานศึกษาภาษาผู้ไทในประเทศไทย. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม, 6(1), 83–97.

ตามใจ อวิรุทธิโยธิน. (2564). ภาพรวมการศึกษาภาษาไทยถิ่นใต้. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(1), 1–32.

เพ็ญประภา สิงห์สวัสดิ์. (2561). สถานภาพการศึกษาภาษาพวน. วารสารช่อพะยอม 29(1), 475–486.

รัตนา จันทร์เทาว์. (2552). สถานภาพการศึกษาภาษาลาวของคนไทย. วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง, 5(2), 109–137.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (พิมพ์ครั้งที่ 2). นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

สมทรง บุรุษพัฒน์, สุจริตลักษณ์ ดีผดุง, และ โสภนา ศรีจำปา. (2540). สถานภาพงานวิจัยภาษาศาสตร์ในประเทศไทย (รายงานการวิจัย). สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์. (2542). การประเมินสถานภาพไทยศึกษา: ภาษาและภาษาศาสตร์ (1) (รายงานการวิจัย). สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

สุพัตรา จิรนันทนาภรณ์. (2547). สถานภาพการศึกษาภาษาไทโซ่ง. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 1(2), 48–64.

สุวัฒนา เลี่ยมประวัติ. (2551). การศึกษาภาษาถิ่น: ภาษาตระกูลไท. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

Brown, J. M. (1965). From ancient Thai to modern dialects. The Social Science Association Press of Thailand.

Chamberlain, J. R. (1975). A new look at the history and classification of the Tai dialects. In J. G. Harris & J. R. Chamberlain (Eds.), Studies in Tai linguistics in honor of William J. Gedney (pp. 49–66). Central Institute of English Language, Office of State Universities.

Gedney, W. J. (1972). A checklist for determining tones in Tai dialects. In M. E. Smith (Ed.), Studies in linguistics in honor of George L. Trager (pp. 423–437). Mouton.

Labov, W. (1972). Sociolinguistic patterns. University of Pennsylvania Press.

Li, F. K. (1960). A tentative classification of Tai dialects. In S. Diamond (Ed.), Culture in history: Essays in honor of Paul Rodin (pp. 951–959). Columbia University Press.

Ostapirat, W. (2000). Proto-Kra. Linguistics of the Tibeto-Burman Area, 23(1), 1–251.

van Driem, G. (2018). The East Asian linguistic phylum: A reconstruction based on language and genes. Journal of the Asiatic Society LX(4), 1–38.