ปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญาจากการใช้สัญญาอัจฉริยะบนระบบบล็อกเชน
คำสำคัญ:
สัญญาอัจฉริยะ, บล็อกเชน, ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ได้ศึกษาเกี่ยวกับการทำสัญญาอัจฉริยะโดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain Smart Contract) ซึ่งเป็นการนำเอาเทคโนโลยีบล็อกเชนมาประยุกต์ใช้ในการทำสัญญาใด ๆ โดยเทคโนโลยีดังกล่าวช่วยทำให้สัญญาที่เกิดขึ้นมีความปลอดภัยและมีความน่าเชื่อถือในระดับสูง อย่างไรก็ตาม ด้วยความซับซ้อนของเทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อความ ได้ทำให้ผู้บริโภคหลายรายประสบปัญหาในการทำความเข้าใจเงื่อนไขของสัญญา หรือขาดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของสัญญา และนำไปสู่การที่ผู้บริโภคได้เข้าทำสัญญาที่ก่อให้เกิดความเสียเปรียบอย่างมาก
ในการศึกษานี้ ผู้เขียนยังชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการที่ภาครัฐควรเข้ามาแทรกแซงเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคซึ่งมีอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจที่ด้อยกว่า และแก้ไขความไม่เป็นธรรมและความไม่สงบสุขในสังคมที่อาจเกิดขึ้นจากการนำสัญญาอัจฉริยะไปใช้ในการประกอบธุรกิจขายสินค้าหรือให้บริการใดที่กฎหมายกำหนดให้ต้องทำเป็นหนังสือ โดยผู้เขียนเสนอแนะให้คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาใช้อำนาจตามมาตรา 35 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 กำหนดให้การประกอบธุรกิจขายสินค้าหรือให้บริการที่ทำเป็นสัญญาอัจฉริยะเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา นอกจากนี้ผู้เขียนยังเสนอแนะว่าควรมีการตรวจสอบเงื่อนไขของข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม โดยพิจารณาจากปัญหาความไม่ธรรมในกระบวนการทำสัญญาและความไม่เป็นธรรมในเนื้อหาของสัญญาตามแนวทางของกฎหมาย U.C.C. §2-302 อย่างไรก็ตาม สำหรับสัญญาอัจฉริยะที่เป็นเพียงสัญญาสำเร็จรูปแต่ไม่มีเหตุผลความไม่ธรรมอื่น ๆ มาประกอบ ยังไม่เพียงพอที่จะพิจารณาได้ว่าสัญญาอัจฉริยะนั้นเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 แต่อย่างใด
References
จี๊ด เศรษฐบุตร, หลักกฎหมายแพ่งลักษณะนิติกรรมและหนี้ (พิมพ์ครั้งที่ 2, เอราวัณการพิมพ์ 2522) 271.
พินัย ณ นคร, ‘กฎหมายว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม: แนววิเคราะห์ใหม่เชิงเปรียบเทียบ’ (2543) 30 วารสารนิติศาสตร์ 546, 547-560.
-- , กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในยุคดิจิทัล (วิญญูชน 2561) 46.
พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544
พีรพัฒน์ หาญคงแก้ว และณัฐชนน โพธิ์เงิน, Bitcoin & Blockchain 101 เงินดิจิทัลเปลี่ยนโลก (สำนักพิมพ์สต็อคทูมอร์โรว์ 2561) 47.
ยืน ภู่สุวรรณ และสมชาย นำประเสริฐชัย, e-Business ธุรกิจยุคสารสนเทศ (สำนักพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น 2543) 12-13.
สรวิศ ลิมปรังษี, ‘กฎหมาย 4.0 Smart contract สัญญาอัจฉริยะ : ความฝันและความจริง’ (2562) 75 บทบัณฑิตย์ 47,45-65.
สุรศักดิ์ วาจาสิทธิ์, ‘สัญญาสำเร็จรูปของอังกฤษ’ (2528) 15 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 20, 21-22
สุพิศ ประณีตพลกรัง, ความรู้เบื้องต้นกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สำนักพิมพ์อินเตอร์บุคส์ 2545) 26.
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (สพร.), การใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนสำหรับภาครัฐ, (ม.ป.ท. 2562) 54-59.
Coinbase, ‘What is a rug pull and how to avoid it?’ (Coinbase, n.d.) <https://www.coinbase.com/th/learn/tips-and-tutorials/what-is-a-rug-pull-and-how-to-avoid-it>
Kiana Danial, Investing in Cryptocurrency for Dummies, (JOHN WILEY & SONS SINGAPORE PTE. 2023) 1-22.
Rejolut, ‘How do You Create and Deploy a Smart Contract on Ethereum?’ (Rejolut, n.d.) <https://rejolut.com/blog/
how-do-you-create-and-deploy-a-smart-contract-on-ethereum/>
Rishabha Malviya and Sonali Sundram, Blockchain for Healthcare 4.0 (CRC Press 2024) 52.
Saravanan Krishnan, Raghvendra Kumar and Valentina Emilia, Green Blockchain Technology for Sustainable Smart Cities (Joseph P. Hayton 2023) 241-242.
Tobias Endress, Digital Project Practice for Banking and FinTech (Taylor & Francis Group 2024) 174-175.
Yan Pritzker, ไขกลไกนวัตกรรมเงินเปลี่ยนโลก, แปลโดย พิริยะ สัมพันธารักษ์ (ซีเอ็ดยูเคชั่น 2565), 17-19.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารกฎหมายนิติพัฒน์ นิด้า

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.