การทบทวนกฎหมายว่าด้วยการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ในต่างประเทศ และข้อเสนอสำหรับการยกร่างกฎหมายของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • วรรณชัย บุญบำรุง คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • ปเนต มโนมัยวิบูลย์ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ชูเกียรติ น้อยฉิม สํานักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • อริศรา เหล็กคำ สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • สุจิตรา วาสนาดํารงดี สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วิรงรอง ทองดีสุนทร สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • ภัทรพล ตุลารักษ์ สมาคมการจัดการของเสียแห่งประเทศไทย
  • Liu Yu สำนักวิชาจีนวิทยา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • บวรสวรรค์ ประจวบกลาง
  • กฤตย ธาดาบดินทร์ กองหลักนิติบัญญัติ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
  • พรนภัส สุวลักษณ์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

คำสำคัญ:

ขยะบรรจุภัณฑ์, ลำดับชั้นของการจัดการขยะ, เศรษฐกิจหมุนเวียน, ความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น ของผู้ผลิต

บทคัดย่อ

บรรจุภัณฑ์ (Packaging) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของสินค้าที่ผลิตขึ้นเพื่อรักษาสภาพและคุณภาพของสินค้าก่อนถึงมือผู้บริโภค และมีส่วนในการส่งเสริมการขายให้กับผู้ผลิต บรรจุภัณฑ์เหล่านี้เมื่อถูกใช้งานจะกลายเป็นขยะบรรจุภัณฑ์ที่เป็นภาระที่ของหน่วยงานของรัฐที่จะจัดการได้ตามกฎหมายที่มีอยู่การขาดกรอบกฎหมายที่ครอบคลุมทั้งวัฏจักรชีวิตและห่วงโซ่มูลค่าของบรรจุภัณฑ์ทำให้เกิดปัญหาการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ และก่อให้เกิดการสูญเสียของทรัพยากรที่ควรถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่

ในต่างประเทศได้นำแนวคิดการจัดการขยะอย่างยั่งยืนที่ตั้งอยู่บนหลักการสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม3 ประการ ได้แก่ ลำดับชั้นของการจัดการขยะ (Waste Hierarchy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy: CE) และความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต (Extended Producer Responsibility: EPR) โดยนำระบบ EPR มากำหนดไว้เป็นกฎหมาย มีสาระสำคัญแบ่งเป็น 1) องค์กรกำกับดูแลระบบ EPR 2) หน้าที่ของผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ 3) องค์กรความรับผิดชองผู้ผลิต (Producer Responsibility Organization: PRO) 4) ระบบการดำเนินงาน  และ 5) การกำกับดูแลการดำเนินงาน

คณะทำงานตามโครงการวิจัยได้นำหลักการดังกล่าวรวมทั้งกฎหมายของต่างประเทศที่กำหนดหลักการนี้มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย โดยยกร่างเป็นร่างพระราชบัญญัติการจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน พ.ศ. …. ร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นการเริ่มต้นในการกำหนดสภาพบังคับเพื่อให้การออกแบบ ผลิต จำหน่าย และใช้บรรจุภัณฑ์ในประเทศไทยให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดภาระการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ของภาครัฐ

References

กรมควบคุมมลพิษ, ‘ร่างพระราชบัญญัติการจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน พ.ศ. .... ฉบับรับฟังความคิดเห็น’ (18 มีนาคม 2567) <https://www.pcd.go.th/laws/31505>

พระราชบัญญัติส่งเสริมการแปรใช้ใหม่บรรจุภัณฑ์ ค.ศ. 1995.

พระราชบัญญัติกำจัดของเสีย ค.ศ. 2017 (Waste Disposal Act) บัญญัติบทลงโทษไว้ในบท 5 แรงจูงใจและบทลงโทษ มาตรา 45 มาตรา 46 มาตรา 47 มาตรา 50 มาตรา 51 มาตรา 63 และ มาตรา 63-1.

Council Directive 75/442/EEC on waste [1975] OJ L194 (Waste Framework Directive).

Ellen MacArthur Foundation, ‘Circular Economy Introduction’ (12 Feb 2020) <https://www.ellenmacarthurfoundation.org/topics/circular-economy-introduction/overview>

Ellen McArthur Foundation, ‘Extended Producer Responsibility: A Necessary Part of the Solution to Packaging Waste and Pollution’ (15 Jun 2021) < https://www.ellenmacarthurfoundation.org/extended-producer-responsibility/overview>

Jenna R Jambeck et al. ‘Plastic Waste Inputs from Land into the Ocean’ (2015) Science 347, 768-771.

Law for Promotion of Sorted Collection and Recycling of Containers and Packaging (Japan) Act No. 76 of 2006.

Malaysia’s Roadmap towards Zero Single-use Plastics 2018-2030.

National Environmental Management: Waste Act, 2008 (Act No. 59 of 2008) [2008] Government Gazette (Act) No.32000.

Resource Recycling Act 2009.

Resource Sustainability Act 2019.

Solid Waste Management Act (No. 18/2008).

Thomas Lindhqvist, ‘Extended Producer Responsibility in Cleaner Production: Policy Principle to Promote Environmental Improvements of Product Systems’ (Doctoral Dissertation, IIIEE Lund University 2000).

Waste Management, Extended Producer Responsibility and Recycling Incentives Act, 2016 (Chile) (Ley No. 20,920).

Waste Disposal Act 2017.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-28

How to Cite

บุญบำรุง ว. ., มโนมัยวิบูลย์ ป., น้อยฉิม ช. ., เหล็กคำ อ., วาสนาดํารงดี ส. ., ทองดีสุนทร ว., ตุลารักษ์ ภ. ., Yu, L., ประจวบกลาง บ. ., ธาดาบดินทร์ ก., & สุวลักษณ์ พ. . (2024). การทบทวนกฎหมายว่าด้วยการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ในต่างประเทศ และข้อเสนอสำหรับการยกร่างกฎหมายของประเทศไทย . วารสารกฎหมายนิติพัฒน์ นิด้า, 13(2), 1–28. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/nitipat/article/view/275787