บริการศิลปวัฒนธรรม ด้านเครื่องเคลือบดินเผา “เทคนิครากุ” ชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

โกเมศ คันธิก

บทคัดย่อ

นครศรีธรรมราช เป็นเมืองโบราณที่มีความสำคัญทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การ ปกครอง และศาสนามากที่สุดเมืองหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นครศรีธรรมราชมีชื่อเสียงเป็น ที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง มาไม่น้อยกว่า ๑๘๐๐ ปีมาแล้ว หลักฐานทางโบราณคดี และหลักฐานทาง เอกสารที่ปรากฏ ยืนยันได้ว่านครศรีธรรมราชมีมาแล้วตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๗ เป็นอย่างน้อย ซึ่งมีแหล่ง วัฒนธรรมอันเก่าแก่มาช้านาน ทั้งทางด้านประเพณี ความเชื่อ ความเป็นอยู่ และเศรษฐกิจ วัฒนธรรมทาง เศรษฐกิจที่มีมาช้านาน มีทั้งการเกษตร ประมง การค้า และหัตถกรรม เป็นต้น โดยเฉพาะงานหัตถกรรม เมืองนครศรีธรรมราช มีมากมายหลายประเภท เช่น งานเครื่องเงิน งานเครื่องหนัง งานหนังตัวตะลุง และ งานเครื่องปั้นดินเผา เป็นหัตถกรรมที่อยู่คู่กับชุมชนในจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นเวลาหลายร้อยปีและ ยังคงเป็นแหล่งสำคัญที่มีการผลิตมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน วิทยาลัยช่างศิลปนครศรีธรรมราช นอกจากมีหน้าที่จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้วยังมี หน้าที่ให้บริการและเผยแพร่ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมเพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาลที่มีการผลักดัน เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ขับเคลื่อนการสร้างมูลค่าเชิงเศรษฐกิจจากทุนทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นการให้ ความสำคัญกับจุดแข็งและข้อได้เปรียบทางวัฒนธรรมของประเทศ เพื่อพัฒนาและสร้างองค์ความรู้ในการ สนับสนุนการพัฒนาระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศ พร้อมทั้งปลูกฝังและถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ สาธารณชน ในรูปแบบของกิจกรรมที่หลากหลายในการ สร้างเวทีนักคิดและสร้างสรรค์ต่าง ๆ ตลอดจน การส่งเสริมการประยุกต์ใช้ความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะให้เหมาะสมกับบริบทของชุมชนและวัฒนธรรม ท้องถิ่นจึงได้จัดกิจกรรมบริการวิชาการทางด้านศิลปะสาขาต่าง ๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มตามนโยบาย เศรษฐกิจสร้างสรรค์ของรัฐบาล โดยเฉพาะสาขาเครื่องปั้นดินเผาเป็นงานหัตถกรรมพื้นบ้านของไทยซึ่ง จังหวัดนครศรีธรรมราชก็มีแหล่งดินที่สามารถนำมาทำเครื่องปั้นดินเผา เช่น แหล่งดินดำอำเภอลานสกา และแหล่งดินบ้านมะยิงที่นำมาผลิตเครื่องปั้นดินเผา “โมคลาน” อันเลื่องชื่อมาแต่โบราณ ด้วยเหตุนี้วิทยาลัย ช่างศิลป นครศรีธรรมราช จัดโครงการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม สืบสานอนุรักษ์มรดกไทยขึ้น ในหัวข้อ “การสร้างสรรค์ผลงานเครื่องเคลือบดินเผาด้วยเทคนิคเผารากุ” ขึ้นและได้เชิญวิทยากรจากวิทยาลัยช่าง ศิลปลาดกระบัง วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี และคณะศิลปะวิจิตร สังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม เข้าร่วมให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจและประชาชนชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวัน อาทิตย์ที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๑ ผู้เข้าร่วมโครงการให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เปิดโอกาสให้เข้าร่วมใน การปฏิบัติสร้างสรรค์ผลงานไปพร้อมกัน จึงเกิดความประทับใจในงานศิลปะเครื่องเคลือบดินเผา รวมถึง เทคนิควิธีการในการสร้างสรรค์ที่แปลกตาแปลกใจในกระบวนการใหม่ที่ชื่อ “เทคนิครากุ” ซึ่งเป็นเทคนิค ใหม่ที่นำมาประยุกต์เข้ากับวัตถุดิบพื้นถิ่นได้เป็นอย่างดี

Article Details

บท
บทความวิชาการ