สมเด็จเจ้าฟ้านักปราชญ์ของแผ่นดิน

Main Article Content

พิศาล บุญผูก

บทคัดย่อ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นพระสยามบรมราชกุมารีที่ผู้คนทั้งในประเทศและต่างประเทศเคารพนับถือยกย่องในพระปรีชาสามารถ ทรงเป็นนักวิชาการที่มีพระวิริยะอุตสาหะ ศึกษา ค้นคว้าความรู้เพิ่มเติมในหลายสาขาวิชา ในขณะที่ทรงศึกษาที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระองค์ทรงโปรดวิชาภาษาไทย ภาษาบาลี สันสกฤต แต่ทรงเลือกวิชาประวัติศาสตร์เป็นวิชาเอก ด้วยพระราชวินิจฉัยด้านประโยชน์ของวิชาประวัติศาสตร์ที่ช่วยให้ผู้ศึกษาได้รู้จักใช้ความคิด รู้จักหาเหตุผลจากข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่เป็นประโยชน์ใน การดำรงชีวิตและปรับตัวให้เข้ากับสังคมแวดล้อม


          พระองค์ทรงสนพระทัยในงานด้านวรรณกรรมประเภทจารึก โดยจารึกที่ค้นพบในท้องถิ่นต่าง ๆ ของประเทศไทย ทั้งที่เป็นภาษาบาลี สันสกฤต ภาษามอญ และภาษาเขมร โดยเฉพาะจารึกที่เป็นภาษาบาลี ทั้งนี้พระองค์ท่านทรงศึกษาภาษาบาลีตั้งแต่อยู่ในระดับมัธยมปลายของโรงเรียนจิตรลดา และเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโท สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต ของคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบกับศึกษาที่มหาวิทยาลัยศิลปากรควบคู่ไปด้วย

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมศิลปากร. สิปปธัช : พระผู้เป็นธงชัยแห่งสรรพศิลป์. กรุงเทพฯ: กรมฯ, ๒๕๕๘.

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์. สะพาน : รวมบทความทางประวัติศาสตร์.
กรุงเทพฯ: แผนกวิชาประวัติศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๒๑.

ไพโรจน์ บุญผูก. ดวงฤทัยแห่งทวยราษฎร์. กรุงเทพฯ: เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป, ๒๕๔๖.

มูลนิธิ ๕ ธันวามหาราช. ๖๐ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. กรุงเทพฯ: มูลนิธิ ๕ ธันวาคมมหาราช, ๒๕๕๘.

รัตนมณีศรีศิลปะศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติคุณ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง, ๒๕๕๓.

วิศิษฏศิลปินสรรพศิลป์สโมสร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๘.