ดุริยางค์ในราตรี : กลวิธีการประพันธ์ในกวีนิพนธ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

Main Article Content

ปรัศนีภรณ์ พลายกำเนิด
ทรงธรรม ปานสกุณ

บทคัดย่อ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงได้รับการถ่ายทอดความรู้ทางภาษา วรรณคดี และศิลปะไทยเป็นอย่างดีตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงเชี่ยวชาญทั้งหลักภาษา วรรณคดีไทย และการแต่งคำประพันธ์ ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา พระอาจารย์ผู้ถวายการสอนภาษาไทยและภาษาสันสกฤตที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงพระปรีชาสามารถด้านภาษาไทยของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ว่า ทรงเป็นผู้ดำรงรักษามาตรฐานของภาษาไทยได้อย่างดียิ่ง เอกลักษณ์ที่เด่นชัดของพระองค์ คือ ทรงใช้ภาษาง่าย ๆ ไม่ทรงใช้ศัพท์หรูหราหรือเข้าใจยากดังสะท้อนให้เห็นในบทพระราชนิพนธ์ต่าง ๆ บทพระราชนิพนธ์ในพระองค์ที่ไพเราะและได้รับการยกย่องนั้นมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่บทพระราชนิพนธ์ที่แสดงพระปรีชาสามารถทั้งด้านการแต่งกลอน และความเข้าใจลึกซึ้งด้านเพลงไทยซึ่งวิธีการนำเสนอของพระองค์มีความไพเราะ เปี่ยมด้วยคุณค่าทางวรรณศิลป์ และผสมกลมกลืนระหว่างใจความและทำนองเพลงไทยอย่างไม่มีที่ติ คือบทกวีนิพนธ์ “ดุริยางค์ในราตรี”


ผลการวิเคราะห์กลวิธีการประพันธ์ บทพระนิพนธ์นี้ทรงอ้างถึงบทร้องเก่าและทรงนำมาแปลงเป็นส่วนหนึ่งของบทพระนิพนธ์ ปรากฏการใช้ฉันทลักษณ์ในการประพันธ์แบบกลอนสุภาพ สะท้อนรสวรรณคดีแบบไทย ๒ ประเภท คือ เสาวรจนีและสัลลาปังคพิไสย ปรากฏภาพพจน์อุปมา บุคคลวัต อติพจน์ และนาฏการ การใช้ภาษา ถือเป็นภาษาในระดับกึ่งทางการ แต่ทรงสรรคำเพื่ออรรถรสในการประพันธ์บทร้อยกรองกวีนิพนธ์นี้มีเนื้อหาที่บุคคลทั่วไปสามารถเข้าใจและเข้าถึงเจตนารมณ์ของพระองค์ได้อย่างชัดเจน อีกทั้ง   แก่นเรื่องที่ทรงใช้สื่อสารยังให้แง่คิดและขัดเกลาสังคมได้ดีเป็นอย่างยิ่ง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กุสุมา รักษมณี. การวิเคราะห์วรรณคดีไทยตามทฤษฎีวรรณคดีสันสกฤต. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ:
บริษัทธรรมสาร, ๒๕๔๙.

เก๋ แดงสกุล. ราชสุดาอาศิรพาทพิสิฐ แนวคิดเรื่องขัตติยนารีและกลวิธีการใช้คำประพันธ์ในกวีนิพธ์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. นนทบุรี: นิติธรรมการพิมพ์, ๒๕๕๘.

เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ. กาลเวลาที่ผ่านเลย. พิมพ์ครั้งที่ ๓. เชียงใหม่:
ซิลค์เวอร์ม, ๒๕๕๔.

ดวงมน จิตร์จำนงค์, ปัญชิกา วรรณชาติ และมนตรี มีเนียม. คุณค่าของบทประพันธ์ในรวมบทกวีนิพนธ์
บ้านเก่าของโชคชัยบัณฑิต. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ๔, ๒ (๒๕๕๑) ๗๖ - ๑๐๔.

รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. สีสรรพ์วรรณศิลป์. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ, ๒๕๔๒.

วิเชียร เกษประทุม. ลักษณะคำประพันธ์ไทย. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา, ๒๕๕๐.