การมีส่วนร่วมของประชาชนส่งผลต่อปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของ องค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

เอกสิษฐ์ ปฐพีสินหิรัญ

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 2)เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จของการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี เป็นการวิธีการวิจัยวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประชากร คือ ประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบล 6 แห่งของ จังหวัดปทุมธานี ทั้งหมดจำนวน 273,438 คน กลุ่มตัวอย่างคือจำนวน 399 คน วิธีการสุ่มตัวอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสถิติค่าของ t-test ค่าสถิติ ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคุณ  ผลการศึกษาพบว่า:


          1.ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้ายพบว่า อยู่ในระดับมาก ข้อเรียงจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านการตัดสินใจ ด้านการปฏิบัติงาน ด้านการรับผลประโยชน์ ด้านการติดตามประเมินผล


          2.การมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี สมการที่ได้จากการวิเคราะห์ถดถอย   พหุคุณตามลำดับความสำคัญของตัวแปรที่นำเข้าสมการ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประโยชน์ของผลการวิจัยในครั้งนี้คือ การมีส่วนร่วมของประชาชนส่งผลต่อปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการพัฒนาชุมชน กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาระบบบริหารจัดการชุมชน สำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ. (2546). แผนแกความจนโดยชุมชน. กรุงเทพมหานคร: กรมการพัฒนาชุมชน.

กุสุมา แสงรักษาวงศ์. (2551). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหาร: ศึกษาเฉพาะกรณีองค์การบริหารส่วนตำบลรัตภูมิ อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา (สารนิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ขนิฏฐา กาญจนรังษีนนท์ และคณะ. (2554). โครงการวิจัยประโยชน์สุขจากเศรษฐกิจพอเพียง (รายงานวิจัย) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2548). การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง.วารสารเศรษฐกิจและสังคม, 42 (6), 41-47.

ศักราช พรหมสถิต. (2552). การมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2548ข). ความรู้ความเข้าใจของประชากรที่มีต่อปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: เอสพีเอสพริ้นดิ้ง.

อภิชาต สถิตนิรามัย. (2555). รัฐธรรมนูญ การกระจายอำนาจ และการมีส่วนร่วมของประชาชน. เชียงใหม่:แผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดีสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อาคม เติมพิทยาไพสิฐ.(2554). เศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทย. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2562, จาก http://www.nesdb.go.th/ewt_w3c/ewt_dl_link.php?nid=2774

Yamane, T.(1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York: Harper and Row Publications.