ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน

Main Article Content

จุรี วรรณาเจริญกุล

บทคัดย่อ

           การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งผู้วิจัยได้ออกแบบสอบถามเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล 320 ตัวอย่าง ในเขตกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 1-20 พฤศจิกายน 2557 และประมวลผลโดยใช้โปรแกรม SPSS for windows


             ผลการวิจัยพบว่า ข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31–35 ปี มีสถานภาพโสด มีอายุราชการต่ำกว่า 5 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี ดำรงตำแหน่งระดับชำนาญการ จากการศึกษาปัจจัยจูงใจ หรือปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นในการปฏิบัติงานพบว่า ข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินให้ความสำคัญกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานในด้านความสำเร็จในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ ด้านการได้รับการยอมรับ และด้านความรับผิดชอบ ตามลำดับ และจากการศึกษาปัจจัยค้ำจุน หรือปัจจัยที่ช่วยลดความไม่พึงพอใจในการปฏิบัติงานพบว่า ข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินให้ความสำคัญกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานในด้านความสัมพันธ์กับหัวหน้าและผู้บังคับบัญชาอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านความมั่นคงในการปฏิบัติงาน ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ด้านความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา ด้านการบังคับบัญชาและการควบคุมดูแล ด้านตำแหน่งงาน และด้านชีวิตส่วนตัว ตามลำดับ


              ข้อเสนอแนะในการวิจัยคือ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินควรสนับสนุนการปฏิบัติงานของข้าราชการให้สามารถนำไปสู่ความสำเร็จในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดแผนความก้าวหน้าในวิชาชีพ ตลอดจนนโยบาย แผนการบริหาร หรือแผนพัฒนาองค์กร ซึ่งจะทำให้ข้าราชการที่ปฏิบัติงานมีความรู้สึกพอใจในการปฏิบัติงาน และเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จารุวรรณ กมลสินธุ์. (2548). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานในเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมนวนคร (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ธงชัย สมบูรณ์. (2549). การบริหารและจัดการมนุษย์ในองค์การ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ บริษัท เอ็นทีเอสพริ้นติ้ง จำกัด.

ธนิกานต์ มาฆะศิรานนท์. (2545). เทคนิคการจูงใจพนักงาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เอ็กซเปอร์เน็ทบุ๊คส์.

พงศ์ หรดาล. (2540). จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2545). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ บริษัท ธีระฟิล์มและไซแท็กซ์ จำกัด.

ศิริอร ขันธหัตถ์. (2541). องค์กรและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษราพิพัฒน์.

สงวน สุทธิเลิศอรุณ. (2545). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษราพิพัฒน์.

สถาบันพระปกเกล้า. (2557). คลายข้อสงสัย..? ท้องถิ่นอยากใช้ สตง.อยากตรวจ. ในเอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยเรื่องเวทีท้องถิ่นไทย ประจำปี 2557 เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท.

สมยศ นาวีการ. (2540). การบริหารและพฤติกรรมองค์กร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผู้จัดการ.

สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. (2551). รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน.

สุพาณี สฤษฎ์วานิช. (2549). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่: แนวคิดและทฤษฎี. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Herzberg, F. (1967). Work and the Nature of Man. New York: The World Publishing Company.

Vroom, V. H. (1964). Work and Motivation. New York: Free Press.