พฤติกรรมการติดตามข่าวสารผ่านทรูมูฟเอชไลน์ออฟฟิเชี่ยล แอคเคานต์ ของผู้ใช้บริการทรูมูฟเอชในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

วิวรรณดา วันชัยจิระบุญ

บทคัดย่อ

           การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการติดตามข่าวสารผ่านทรูมูฟเอชไลน์ออฟฟิเชี่ยล แอคเคานต์ ของผู้ใช้บริการทรูมูฟเอชในเขตกรุงเทพมหานคร โดยทำการสุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน จากประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และรวบรวมข้อมูลมาทำการวิเคราะห์โดยใช้สถิติ ค่าความถี่(Frequency) ค่าสถิติร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และใช้สถิติไคสแควร์ (Chi-square) เพื่อทดสอบสมมติฐาน


          ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31 – 35 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี สถานภาพโสด อาชีพเป็นพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระหว่าง 15,001 – 20,000 บาท ส่วนข้อมูลด้านพฤติกรรมการติดตามข่าวสาร พบว่า ส่วนใหญ่ใช้เวลาในการเล่นแอพพิเคชั่นไลน์เป็นเวลา 3 – 4 ชั่วโมง/วัน ส่วนช่วงเวลาในการใช้งานส่วนใหญ่ใช้งานในช่วงเวลา 16.01 น. – 22.00 น. โดยจำนวนครั้งในการติดตามข่าวสารผ่านทรูมูฟเอชไลน์ออฟฟิเชี่ยลแอคเคานต์ต่อสัปดาห์ ส่วนใหญ่ติดตามข่าวสาร 1 – 2 ครั้ง/สัปดาห์ ส่วนวัตถุประสงค์ในการติดตามข่าวสารผ่านทรูมูฟเอชไลน์ออฟฟิเชี่ยลแอคเคานต์ ส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามโปรโมชั่นและสิทธิพิเศษจากทรูมูฟเอช รองลงมาคือ เพื่อติดตามกิจกรรมทางการตลาดจากทรูมูฟเอช และมีเหตุผลในการเลือกรับทรูมูฟเอชไลน์ออฟฟิเชี่ยลแอคเคานต์เป็นเพื่อนในไลน์แอพพิเคชั่นนั้น คือ ต้องการดาวน์โหลดสติ๊กเกอร์ฟรีจากทรูมูฟเอช  รองลงมาคือ ต้องการติดตามโปรโมชั่นและสิทธิพิเศษจากทรูมูฟเอช บุคคลที่มีอิทธิพลในการติดตามข่าวสารผ่านทรูมูฟเอชไลน์ออฟฟิเชี่ยลแอคเคานต์นั้น ส่วนใหญ่ตัดสินใจด้วยตนเอง และมีดารา/นักแสดงเป็นผู้มีอิทธิพลในการตัดสินใจ ตามลำดับ ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการติดตามข่าวสารผ่านทรูมูฟเอชไลน์ออฟฟิเชี่ยลแอคเคานต์ โดยรวมแล้ว มากถึงมากที่สุด ในด้านลักษณะของข้อมูลข่าวสาร ด้านช่วงเวลาและความถี่ในการส่ง ด้านรูปแบบการนำเสนอข่าวสาร และด้านประโยชน์ของข่าวสารที่ได้รับ


           ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ลักษณะทางประชากรศาสตร์ คือ เพศ, อายุ, ระดับการศึกษา, สถานภาพ, อาชีพ และรายได้ โดยรวมแล้ว มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการติดตามข่าวสารผ่าน ทรูมูฟเอชไลน์ออฟฟิเชี่ยล แอคเคานต์ ของผู้ใช้บริการทรูมูฟเอชในเขตกรุงเทพมหานคร ในด้านระยะเวลาในการเล่นแอพพิเคชั่นไลน์ต่อวัน ด้านช่วงเวลาในการติดตามข่าวสารต่อสัปดาห์ ด้านจำนวนครั้งในการติดตามข่าวสาร ด้านวัตถุประสงค์ในการติดตามข่าวสาร ด้านเหตุผลในการติดตาม ทรูมูฟเอชไลน์ออฟฟิเชี่ยลแอคเคานต์ และด้านบุคคลที่มีอิทธิพลในการติดตามข่าวสาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


           ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการติดตามข่าวสารผ่านทรูมูฟเอชไลน์ออฟฟิเชี่ยล แอคเคานต์ ด้านลักษณะของข้อมูลข่าวสาร ด้านช่วงเวลาและความถี่ในการส่ง ด้านรูปแบบการนำเสนอข่าวสาร และด้านประโยชน์ของข่าวสารที่ได้รับ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการติดตามข่าวสารผ่านทรูมูฟเอชไลน์ออฟฟิเชี่ยล แอคเคานต์ ของผู้ใช้บริการทรูมูฟเอชในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย (2556). ข้อมูลสถิติเกี่ยวกับประชากรของกรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2558, จาก http://www.dopa.go.th

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2551) . การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชฎาภา อนันต์กิตติกุล. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้เว็บไซต์เครือข่ายสังคมกับความผูกพันทุ่มเทของลูกค้า (วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต). สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ปณิชา นิติพรมงคล. (2555). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชานิเทศศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ศุภศิลป์ กุลจิตต์เจือวงศ์. (2556). ไลน์รูปแบบการสื่อสารบนความสร้างสรรค์ของสมาร์ทโฟน: ข้อดีและข้อจำกัดของแอปพลิเคชัน. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด. วารสารนักบริหาร, 33(4), 42-54.