พฤติกรรมในการเลือกซื้อคอนโดมิเนียม กรณีศึกษา : คอนโดมิเนียมตามแนวรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสะพานตากสิน

Main Article Content

สุธิดา ศรประเสริฐ

บทคัดย่อ

           การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อคอนโดมิเนียมบริเวณโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสะพานตากสิน ที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไป และได้เข้าเยี่ยมชมโครงการของคอนโดที่อยู่บริเวณแนวรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสะพานตากสิน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน คือ การหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 35-44 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรี ประกอบธุรกิจส่วนตัว/เป็นเจ้าของกิจการ มีรายได้ 40,001-60,000 บาท มีสถานภาพสมรส/อยู่ด้วยกัน และมีจำนวนสมาชิกในครอบครัว 3-4 คน ส่วนใหญ่มีครอบครัวเป็นเจ้าของ ประเภทที่อยู่อาศัยเป็นตึกแถว/อาคารพาณิชย์ มีลักษณะการเดินทางไปทำงานคือ BTS/MRT มีที่พักอาศัยอยู่ใกล้แนวรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสะพานตากสิน และมีที่ทำงานในสถานที่ที่อยู่ใกล้แนวรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสะพานตากสิน


ส่วนใหญ่มีงบประมาณจะซื้อคอนโดมิเนียมประมาณ 1,500,001-3,000,000 บาท ในอนาคตส่วนใหญ่ไม่มีแนวโน้มในการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียมในบริเวณแนวรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสะพานตากสิน และไม่มีการแนะนำบุคคลอื่นให้ซื้อคอนโดมิเนียมในบริเวณแนวรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสะพานตากสิน ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการซื้อคือต้องการปล่อยให้เช่า


            ปัจจัยจูงใจในการซื้อคอนโดมิเนียมบริเวณแนวรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสะพานตากสิน ด้านเหตุผล ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางเป็นปัจจัยที่สำคัญมากที่สุด ปัจจัยจูงใจในการซื้อคอนโดมิเนียมบริเวณแนวรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสะพานตากสิน ด้านอารมณ์ โดยต้องการความภาคภูมิใจและความมั่งคั่งในชีวิต เป็นปัจจัยที่สำคัญมากที่สุด


           ดังนั้นผู้ประกอบธุรกิจ ควรมีการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด เช่น การโฆษณาและประชาสัมพันธ์อย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้บริโภคเป้าหมายเกิดการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง และมีการสร้างความเชื่อมั่น และมีการกระตุ้นการซื้อของกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมธนารักษ์ปรับราคาประเมินที่ดินตามแนวรถไฟฟ้า. (2557. มิถุนายน). สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2557, จาก www.treasury.go.th

กรมสรรพากร. ความหมายของอสังหาริมทรัพย์. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2557, จาก www.rd.go.th.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2556). สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: ภาควิชาสถิติคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2550). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. นนทบุรี: ไทเนรมิตกิจ อินเตอร์โปรแกรสซิฟ.

ทิพวรรณ วิละรัตน์. (2549). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อบ้านมือสองของผู้บริโภค (สารนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาการตลาด). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2552). การจัดการการตลาด. กรุงเทพมหานคร: พัฒนาศึกษา.

อาทิตยา อัยยะวรากูล. (2551). ปัจจัยทางการตลาด ค่านิยม แรงจูงใจ และแนวโน้มการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียม เซ็นทริค ซีน ของ บมจ. เอสซี แอสเสท ของผู้บริโภค (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.