ปัจจัยที่มีผลต่อการศึกษาต่อระดับปริญญาโทของพนักงานบริษัทเอกชน ในเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโทของพนักงานบริษัทเอกชน ในเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร และศึกษาความสัมพันธ์ส่วนบุคคล ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมกับความต้องการการศึกษาต่อระดับปริญญาโทของพนักงานบริษัทเอกชน ในเขตบางรัก กรุงเทพมหานครประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ พนักงานบริษัทเอกชน ในเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ที่ยังไม่ได้ศึกษาต่อระดับปริญญาโท จำนวนทั้งสิ้น 147 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามปลายปิดและปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าไคสแควร์
ผลการศึกษา พบว่า 1) พนักงานบริษัทเอกชน มีความต้องการและมีความพร้อมที่จะศึกษาต่อระดับปริญญาโท มีจำนวน 23 คน พนักงานบริษัทเอกชน มีความต้องการแต่ยังมีความพร้อมที่จะศึกษาต่อระดับปริญญาโท มีจำนวน 90 คน พนักงานบริษัทเอกชนที่ไม่มีความต้องการที่จะศึกษาต่อระดับปริญญาโท มีจำนวน 34 คน
2) สถานภาพด้านปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของพนักงานบริษัทเอกชน ลูกค้าพิจารณาแต่ละปัจจัยดังต่อไปนี้ 3)สถานภาพด้านปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ในช่วง 21 – 27 ปี มากที่สุด โดยพนักงานบริษัทเอกชนมีอายุเฉลี่ย 28 ปี ซึ่งมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.60 และพนักงานบริษัทเอกชนมีสถานภาพโสดมากที่สุด สถานภาพด้านเศรษฐกิจและสังคม พบว่า พนักงานมีรายได้ต่อเดือน 10,001 – 15,000 บาท มากที่สุด มีซึ่งความสนใจเรียนในภาคพิเศษต้องการศึกษาสาขาวิชาบริหารธุรกิจ และได้รับข้อมูลหรือคำแนะนำจากสื่อประเภทอินเตอร์เน็ต หรือโทรทัศน์ หรือวิทยุ สถานภาพด้านเศรษฐกิจและสังคม พบว่า พนักงานมีรายได้ต่อเดือน 10,001 – 15,000 บาท มากที่สุด มีซึ่งความสนใจเรียนในภาคพิเศษ ต้องการศึกษาสาขาวิชาบริหารธุรกิจ และได้รับข้อมูลหรือคำแนะนำจากสื่อประเภทอินเตอร์เน็ต หรือโทรทัศน์ หรือวิทยุ
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างไม่มีนัยสำคัญที่ระดับ .05 กับความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโท คือ เพศ อายุ สถานภาพ รายได้ของประชากรต่อเดือน เวลาเรียน สาขาวิชาที่ต้องการศึกษาต่อ และสื่อโฆษณา สาเหตุของความไม่พร้อมในการศึกษาต่อระดับปริญญาโทของพนักงานบริษัทเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร มีสาเหตุมาจากปัญหาทางด้านเวลามากที่สุด ความคิดเห็นในการศึกษาต่อระดับปริญญาโทของพนักงานบริษัทเอกชน ในเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร พบว่า ประชากรต้องการศึกษาต่อเพื่อต้องการเพิ่มวุฒิการศึกษา โดยมีแหล่งค่าใช้จ่ายในการศึกษาต่อจากรายได้ประจำ ในสถานศึกษาในประเทศที่จัดเวลาเรียนที่เหมาะสม
Article Details
References
เดนนิสัน, พอล. (2546). บริหารสมอง. กรุงเทพ: ขวัญข้าว.
จริยา จงรักษ์สัตย์. (2552). ความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโท คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: กรณีศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ บธ.ม). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ณรงค์ เทียนส่ง. (2526).เหตุผลที่ผู้ใหญ่ไปเรียนการศึกษาผู้ใหญ่.วารสารการศึกษานอกโรงเรียน, 113, 24 – 25.
มานิดา อังศุวิโรจน์กุล. (2547). ความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโททางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาของรัฐ เขตอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต (ปริญญานิพนธ์ ศ.ม.). มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒิ.
สินธุ์ สโรบล. (2550). การสำรวจความต้องการของผู้ที่ต้องการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยพายัพ(รายงานการวิจัย). สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยพายัพ.
Andress, Burton G.(1970). Experimental Psychology. New York: John Wily & Son.
Darkenwald, Gordon C. And Sharan B. Merriam. (1982). Adult Education : Fudation of Practice. New York: Harper & Row Publishers.
Quastel,Leak and Boshier.(1982). Educational Needs and Opportunities as Antecedents of Job Satisficing. Adult Education, 32(3), 130-141.
Scissons, Edward H.(1969). A Typology of Needs Assessment Definitions in Adult Education. Adult Eucation, 33(1), 20-28.