รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีผลต่อการดำเนินงานของ โรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย

Main Article Content

รุ่งโรจน์ สงสระบุญ

บทคัดย่อ

           วัตถุประสงค์ของการวิจัย (1) เพื่อสำรวจข้อมูลทั่วไป ขนาด และประเภทของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย (2) เพื่อศึกษาคุณภาพบริการโดยรวม การมุ่งเน้นตลาด และนวัตกรรมทางการตลาดที่มีผลต่อการดำเนินงานของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย (3) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของคุณภาพบริการโดยรวม การมุ่งเน้นตลาด และนวัตกรรมทางการตลาดที่มีผลต่อการดำเนินงานของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เจ้าหน้าที่ระดับผู้บริหารโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย จำนวน 885 ตัวอย่าง การศึกษาครั้งนี้ใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับตามแนวของไลเคิร์ท จำนวน 64 ข้อ เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติที่ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล (Path Analysis) และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM)


           ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่ระดับผู้บริหารโรงพยาบาลเอกชนขนาดเล็กที่มีเตียงผู้ป่วย 10 - 100 เตียง และเป็นโรงพยาบาลประเภทรักษาโรคทั่วไป (2) ปัจจัยคุณภาพบริการโดยรวม การมุ่งเน้นตลาด และนวัตกรรมทางการตลาดมีผลทางตรงและทางอ้อมต่อการดำเนินงานของโรงพยาบาลเอกชน และรูปแบบคุณภาพบริการโดยรวม การมุ่งเน้นตลาด และนวัตกรรมทางการตลาดที่มีผลต่อการดำเนินงานของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณะสุข. (2557). สถิติโรงพยาบาลรัฐบาล. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข.
กัลยา วาณิชบัญชา. (2557). การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง SEM ด้วย AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). รายงานสถิติประชากรและเคหะ. ค้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2557 จาก http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/population.html.
Deming Edward. (1982). Quality Productivity and Competitive Position. Cambridge: Center for Advance Engineering, Massachusetts Institute of Technology.
Economic Intelligence Center. (2012). AEC. Retrieved December 15, 2014 from http://www.scb. co.th/eic/en/scb_eic_home.shtml
Gultekin Altuntas, Fatih Semercioz & Hanife Eregez. (2013).Linking strategic and market orientations to organizational performance: the role of innovation in private healthcare organizations. Journal of Social and Behavioral Sciences 99: 413 – 419.
Kevin Zheng Zhou, Gerald Yong Gaoa, Zhilin Yangb & Nan Zhou. (2005). Developing strategic orientation in China: antecedents and consequences of market and innovation orientations. Journal of Business Research 58: 1049– 1058.
Lx Li. (1997). Relationships Between Determinants of Hospital Quality Management and Service Quality Performance – A Path analytic Model. Journal of Management, 25(5).
P.S. Raju & S.C. Lonial. (2002). The impact of service quality and marketing on financial performance in the hospital industry: an empirical examination. Journal of Retailing and Consumer Service, 335-348.
Slater & Narver. (1995). Market orientation, and the learning organization. Journal of Marketing, 59 (July): 63-74.