กระบวนการอนุรักษ์ป่าเชิงพุทธ : กรณีศึกษาป่าโคกใหญ่คำปลากั้ง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

พระครูสุวรรณโพธาภิบาล (อคฺคปญฺโญ)

บทคัดย่อ

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการอนุรักษ์ป่าเชิงพุทธ 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการอนุรักษ์ป่าโคกใหญ่คำปลากั้ง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด  3) เพื่อศึกษากระบวนการอนุรักษ์ป่าโคกใหญ่คำปลากั้ง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการอนุรักษ์ป่าเชิงพุทธ โดยใช้หลักพุทธธรรม 4 หลัก ได้แก่ ปฏิจจสมุปบาท ไตรสิกขา ทิฏฐิธัมมิกัตถประโยชน์ ฆราวาสธรรม  สภาพปัญหาการอนุรักษ์ป่าโคกใหญ่คำปลากั้ง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีเหตุปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหา คือ คนในชุมชนขาดความรู้เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ-ระบบนิเวศ คนในชุมชนขาดอุดมการณ์จิตอาสา คนในชุมชนขาดแรงจูงใจให้ตระหนักถึงคุณค่าของป่าไม้ และคนในชุมชนไม่มีระบบงานเพื่อแก้ไขปัญหาการอนุรักษ์ป่า  กระบวนการอนุรักษ์ป่าโคกใหญ่คำปลากั้ง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ดมีขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและผลกระทบ   2)กำหนดวัตถุประสงค์ของการอนุรักษ์ 3) กำหนดขอบเขตและป้องกันพื้นที่อนุรักษ์ 4) จัดลำดับความสำคัญของปัญหา 5)ประเมินความเสี่ยงในการอนุรักษ์ 6) ศึกษาปัจจัยเอื้อต่อการอนุรักษ์ 7) กำหนดนโยบายและแผนงานอนุรักษ์ 8) ดำเนินงานอนุรักษ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา แก้วเทพ และคณะ. (2556) . สื่อสาร– สิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: หจก.พิมพ์ภาพ.
ซาน เอ็ม. ดาร์ลิงตัน. (2559). บวชต้นไม้ การอนุรักษ์ป่าและสิ่งแวดล้อมตามวิถีพุทธ. แปลโดย นัยนา นาควัชระ. กรุงเทพฯ : หจก. ภาพพิมพ์.
ธนากร สังเขป. (2555). การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีรฤทธิ์ แป๊ะประภา. (2561). การจัดการป่าชุมชน : กรณีศึกษาป่าชุมชนหนองฮี ตำบลเสือเฒ่า อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย. ปีที่ 8 ฉบับพิเศษ (ตุลาคม).
พระชาญชัย เพชรดี และคณะ. (2560). แนวทางพัฒนาการจัดการทรัพยากรป่าไม้แบบมีส่วนร่วม : กรณีศึกษาโครงการส่งเสริมให้ ที่พักสงฆ์เขาธงทองช่วยงานด้านป่าไม้ บ้านป่าแดง ตำบลป่าเลา อำเภอ เมือง จังหวัดเพชรบูรณ์. รายงานวิจัย. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2549). การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development). พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้ว.
สุกัลยา โหราเรือง. (2560). พระพุทธศาสนากับการแก้ปัญหานิเวศวิทยาอย่างยั่งยืน. วารวารวิจัยราชภัฏพระนครสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน).
สุกัญญา สร้อยฟ้า.(2556). การศึกษาพฤติกรรมการนำหลักทิฏฐิธัมมิกัตถประโยชน์ไปใช้การดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนในเขตเทศบาลตำลบาลนาเยีย อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ไทยรัฐ. https://www.thairath.co.th/content/493415 เข้าถึงเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2561
สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 7. ข้อมูลพื้นฐาน ศูนย์จัดการกลุ่มป่าสงวนแห่งชาติที่ 175 จังหวัด/ร้อยเอ็ด. (ออนไลน์) แหล่งที่มา: https://new.forest.go.th/preserve/wpcontent/uploads/sites/35/2016/ 12/3 เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2561