แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนไปสู่แหล่งท่องเที่ยวสีเขียวอย่างมีความรับผิดชอบ: กรณีศึกษาบ้านเกาะเคี่ยม ตำบลกันตังใต้ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1.เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านเกาะเคี่ยม 2. เพื่อศึกษาองค์ประกอบการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านเกาะเคี่ยม (5As) 3. เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนไปสู่แหล่งท่องเที่ยวสีเขียวอย่างมีความรับผิดชอบ กรณีศึกษาบ้านเกาะเคี่ยม ตำบลกันตังใต้ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างมาจากการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ และ ผู้ประกอบการภาคเอกชน ภาคชุมชนตัวแทนชาวบ้านในพื้นที่ จำนวน 12 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสัมภาษณ์เจาะลึก การวิเคราะห์ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า แนวทางการพัฒนาชุมชนไปสู่แหล่งท่องเที่ยวสีเขียวอย่างมีความรับผิดชอบ คือ 1. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม เริ่มจากกระบวนการการจัดการความรู้ด้านการท่องเที่ยวสีเขียว โดยการใช้แนวคิดการท่องเที่ยวสีเขียวมาใช้เป็นหลักในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชน โดยให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเริ่มต้น และมีหน่วยงานภาครัฐ 2. ด้านองค์กรชุมชน จำเป็นต้องมีการจัดตั้งองค์กรชุมชนเพื่อทำหน้าที่ในการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาชุมชนสู่แหล่งท่องเที่ยวสีเขียว โดยใช้หลักการการท่องเที่ยวโดยชุมชนในการดำเนินงานตามแผน 3. ด้านการจัดการ ชุมชนต้องร่วมกันสร้างกติกาตามลักษณะเฉพาะของชุมชนให้ชัดเจนและควรมีกฎระเบียบและระบบกำกับดูแลเพื่อให้จำนวนนักท่องเที่ยวสอดคล้องกับขีดความสามารถในการรองรับของพื้นที่และสิ่งแวดล้อมชุมชน 4. ด้านการเรียนรู้ ชุมชนควรเพิ่มการเชื่อมโยงกิจกรรมการเรียนรู้สีเขียวที่มีอยู่เดิม ควบคู่ไปกับการท่องเที่ยวทางทะเล การท่องเที่ยวชุมชน การท่องเที่ยวสุขภาพ การท่องเที่ยวอาสาสมัครและการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เพื่อให้มีกิจกรรมการท่องเที่ยวที่หลากหลายมากขึ้น และทุกกิจกรรมให้มีส่วนร่วมระหว่างชุมชนและนักท่องเที่ยว และหน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุนงบประมาณ และการปรับปรุงโครงสร้างพื้นบานเพื่อรองรับการท่องเที่ยวสีเขียว และที่สำคัญผู้ประกอบการภาคเอกชนควรให้การส่งเสริมการท่องเที่ยวสีเขียวแบบมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยนำเสนอรายการนำเที่ยวประเภทนี้แก่นักท่องเที่ยว
Article Details
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวสีเขียว (Green Tourism)
พ.ศ. 2560 -2564. กลุ่มนโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และแผนงานกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2552). องค์ประกอบของการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศ
ไทย.
งานวิจัยกองวิจัยการตลาด. (2563). พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไปหลังวิกฤต COVID-19. ค้นหาเมื่อ 1
เมษายน 2564, จาก https://www.tatreviewmagazine.com/article-category/open-future/.
พจนา สวนศรี. (2546). คู่มือการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพฯ: โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ.
พะยอม ธรรมบุตร. (2549). เอกสารประกอบการสอน. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์
สิ่งแวดล้อม, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พัชรวรรณ วรพล. (2563). สรุปสาระสำคัญ จากการสัมมนาภายในงาน ITB Berlin 2019. ค้นหาเมื่อ 1 เมษายน 2564, จาก https://www.tatreviewmagazine.com/article/itb-berlin-2019/
ณัฏฐพัชร มณีโรจน์. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทย นานาชาติ,
(2), 25-46.
ยุทธศักดิ์ สุภสร. (2563). คาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ท่องเที่ยว. ค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.tatreviewmagazine.com/article-category/snapshot/
วีระพล ทองมา และประเจต อำนาจ. (2547). ผลที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวต่อประชาชนในพื้นที่
ตำบนแม่แรม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: รายงานผลการวิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้.
วุฒิชาติ สุนทรสมัย และปิยะ พรธรรมชาติ. (2559). รูปแบบการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสุขภาพของจังหวัดปราจีนบุรี
เพื่อการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน. วารสารสมาคมนักวิจัย, 21(3), 167-181.
ลำยอง ปลั่งกลาง. (2560). การพัฒนาศักยภาพบุคคลในชุมชนเพื่อจัดการด้านการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืนของ
ชุมชนตำบลลาดชะโด อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารราชภัฎเพชรบูรณ์สาร, 19(2).
สินธุ์ สโรบล และอุดร วงษ์ทับทิม. (2546). การท่องเที่ยวโดยชุมชน แนวคิดและประสบการณ์. เชียงใหม่: บริษัทมิ่งเมือง นวรัตน์.
อรัญยา ปฐมสกุล วิศาล ศรีมหาวโร และสมคิด รัตนพันธุ์. (2560). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชนกรณีศึกษา ตำบลท่าชนะ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 4(1), 177-194.
Dickman, S. (1996). Tourism: An Introductory Text. (2nd ed.). Sydney: Hodder Education.
Pike, S. D. (2008). Destination Marketing: An integrated marketing communication approach.
Oxford: Butterworth - Heinemann.
UNWTO. (2020). COVID-19 and Tourism: Tourism in Pre-Pandemic Times. Retrieved March, 20,