การออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงอาเซียนศึกษากรณีเส้นทางปราสาทขอม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

Main Article Content

พระมหาประสิทธิ์ แก้วศรี
พระครูสังฆรักษ์เอกภัทร อภิฉันโท
นวลวรรณ พนวสุพลฉัตร
ลำพอง กลมกูล

บทคัดย่อ

               โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการดังนี้ (1) เพื่อสำรวจเส้นทางปราสาทขอมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (2) เพื่อออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงอาเซียนศึกษาในกรณีเส้นทางปราสาทขอมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและ (3) เพื่อนำเสนอเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงอาเซียนศึกษาในกรณีเส้นทางปราสาทขอมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์เจาะลึกที่มีรายละเอียดชัดเจนสามารถนำมาวิเคราะห์ในเชิงตรรกะได้โดยใช้แบบขั้นตอนเชิงอธิบายและเป็นผู้ที่มีประสบการณ์เดินทางในเส้นทางการท่องท่องเที่ยวเชิงอาเซียนศึกษา: กรณีเส้นทางปราสาทขอมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง


                ผลการวิจัยพบว่า ปราสาทสำคัญที่มีขนาดใหญ่ในพื้นที่จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างคือนครราชสีมาบุรีรัมย์สุรินทร์ศรีสะเกษ ได้แก่ ปราสาทหินพิมาย  ปราสาทหินพนมรุ้ง  ปราสาทหินเมืองต่ำ  กลุ่มปราสาทหินตาเมือนธม  ร่องรอยผาสลักนูนต่ำผามออีแดงและมีปราสาทเชื่อมโยงกับปราสาทขอมในประเทศลาวคือปราสาทวัตภู และปราสาทนครวัด-นครธมประเทศกัมพูชา  ซึ่งในด้านการท่องเที่ยวภายในประเทศเหมาะสมกับการจัดทัศนศึกษาในเวลา 2 วันจึงได้นำมาสร้างเป็นเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงอาเซียนศึกษาในพื้นที่จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง  และเพื่อให้เห็นบริบทความเต็มพันธ์กันระหว่างไทยและกัมพูชาด้านอื่น ๆ ด้วย  จึงได้กำหนดสถานที่สำคัญทั้งความน่าสนใจลงไปในเส้นทางผ่านทั้งจะนำไปสู่ปราสาทขอม  ดังเส้นทางที่ออกแบบจากผลการศึกษาดังนี้ปราสาทหินพิมาย  ปราสาทหินพนมรุ้ง  ปราสาทหินเมืองต่ำ กลุ่มปราสาทตาเมือนธม  ผามออีแดง วัดไพรพัฒนา  ตลาดช่องจอม  ทั้งนี้ผู้ร่วมทดลองเส้นทางได้เรียนรู้เกี่ยวกับปราสาทเชิงอาเขียนศึกษาในด้านประวัติศาสตร์  ศิลปะวัตนธรรม  อาชีพ  เศรษฐกิจ  ความเชื่อ  ชาติพันธุ์และด้านวิถีชีวิตชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการท่องเที่ยว. (2557). แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวอาเซียน พ.ศ.2554-2558 ฉบับนี้เป็นฉบับแปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2560). รัฐบาลประกาศอย่างยิ่งใหญ่ให้ปี 2561 เป็น “ปีท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2560, จาก https://thai.tourismthailand.org

กิตติกรณ์ สมยศ และคณะ. (2558). การวิจัยการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ อย่างมีส่วนร่วม ในชุมชนดำบลดู่ใต้ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน. (รายงานการวิจัย). น่าน: วิทยาลัยชุมชนน่าน.

ทัศนีย์ อัครพินท์. (2556). ทัศนคติและความพร้อมของนักศึกษาวิทยาลัยราชพฤกษ์ต่อการเข้าสู่ตลาดแรงงานประชาคมอาเซียน (รายงานการวิจัย).กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยราชพฤกษ์.

ทิวาวรรณ ศิริเจริญ,นันทกานต์ ศรีปลั่ง. (2560). การออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมวิถีไทหล่ม “เที่ยวไทหล่ม เมืองสงบ มากเสน่ห์” การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์ ครั้งที่ 4 วันที่ 10 มีนาคม 2560 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์. 472.

ธันยา พรหมบุรมย์ และนฤมล กิมภากรณ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวเชิงนิเวศ วัฒนธรรมและสุขภาพในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ของประเทศไทย: เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 10(1), 71-72.

ประชาคมอาเซียน. (2560).ประชาคมอาเซียน. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2560, จาก http://xn--42cle0dg2bid7g0axd4b6k.net/

ปรัชญาพร พัฒนาผล. (2554). การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยววัฒนธรรมแม่น้ำเพชรบุรี, วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภัทรวดี จินดารักษ์. (2559). การท่องเที่ยวชุมชนกับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พื้นที่สีเขียว ตำบลบางกะเจ้า และตำบลบางน้ำผึ้ง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ,ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุรศักดิ์ ศิลาวรรณา. (2550). การท่องเที่ยวและการเผยแพร่พระพุทธศาสนา : บทบาทของวัดในเขตกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษาวัดบวรนิเวศวิหารและวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม. สารนิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล.

ห้าวหาญ ทวีเส้ง. (2555). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ กรณีศึกษาศูนย์กลางเศรษฐกิจนกเทศบาลนครยะลา. ปริญญาบริหารธุกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการท่องเที่ยว. สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

อธิษฐาน ใชยเรือง. (2558). ยุทธศาสตร์การพัฒนาการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนตามเส้นทางแอ่งอารยธรรมขอมในภาพตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วารสารบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 9(1), 64-65.