การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่ อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม

Main Article Content

สำเนียง มณีฉาย
ขุติปภา ทะสะภาค
ณัฐณภรณ์ เอกนราจินดาวัฒน์

บทคัดย่อ

               บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม และ 2) เปรียบเทียบระดับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหาร บุคลากร และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 472 คน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 216 คน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติแบบ t - test, F - Test และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านหลักคุณธรรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านหลักความรับผิดชอบ ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักความคุ้มค่า และด้านหลักความโปร่งใส ตามลำดับ 2) การเปรียบเทียบการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม พบว่า ในภาพรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักคุณธรรม ด้านหลักความโปร่งใส และด้านหลักการมีส่วนร่วม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนด้านหลักความรับผิดชอบ และด้านหลักความคุ้มค่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สงวน คำรศ. (2551). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล ของเทศบาลตำบลท่าวังผา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555- 2559. กรุงเทพ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

วีระ หาญกัน. (2559). การบริหารงานตามหลักธรรมภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง (วิทยานิพนธ์สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาประชาคมเมืองและชนบท). มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง.

วรรณา เพ็งพวง. (2563). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลบึงคอไห อำเภอ

ลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี (วิทยานิพนธ์รัฐศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

วันเพ็ญ ร่ายเรือง. (2557). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเพชรบุรี (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

พุทธามาศ ไชยมงค์. (2560). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ระวินทร์ตรา ตันจริยานนท์. (2558). การบริหารงานตามหลักธรรมมาภิบาลของเทศบาลตำบลหนองตำลึง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นิภาพรรณ ผิวอ่อน. (2559). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของ องค์การบริหารส่วนตำบลกุยเหนือ อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

วันทินี ภูธรรมะ. (2563). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

นิภาพรรณ ผิวอ่อน. (2559). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของ องค์การบริหารส่วนตำบลกุยเหนือ อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.