การประยุกต์ใช้สติสัมปชัญญะสำหรับการใช้ชีวิตประจำวัน

Main Article Content

พระสุภกิจ สุปญฺโญ

บทคัดย่อ

บทความนี้ ต้องการนำเสนอให้เห็นว่า “สติสัมปชัญญะ” เป็นสิ่งสำคัญมากในการดำเนินชีวิต เวลาที่ต้องเผชิญกับเหตุการณ์และปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ซึ่งแต่ละคนอาจจะพบเจอความทุกข์ยากไม่เท่ากัน แต่สิ่งที่จะช่วยให้สถานการณ์ทุกอย่างคลี่คลายลงได้นั้นคือ การมีสติสัมปชัญญะ แต่ความสามารถในการประยุกต์ใช้สติสัมปชัญญะของแต่ละคนก็มีความแตกต่างกัน แต่ที่เหมือนกันคือ เมื่อสติเกิดขึ้น จะทำให้เห็นปัญหาและสามารถแก้ปัญหาตามความเป็นจริงได้ดีขึ้น สตินั้นทำให้เกิดสมาธิ และสมาธิทำให้เกิดปัญญา ปัญญาที่มีสมาธิเป็นฐานนั้นจะมีพลังมากมีอานิสงส์มาก เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนในการใช้ชีวิตประจำวัน พระพุทธเจ้าตรัสรู้เพราะปัญญา แต่กว่าพระองค์จะตรัสรู้ได้ พระองค์ต้องเจริญสติบำเพ็ญสมาธิ เพราะฉะนั้นฝึกสติให้อยู่กับปัจจุบันความสำคัญคือ ใจต้องอยู่กับเรื่องเฉพาะหน้าที่ต้องทำ การที่จะมีสมาธิ แล้วให้สมาธินั้นทำให้เกิดปัญญา ปัญญาที่นำมาใช้ในชีวิต ประจำวัน เรียกว่าสัมปชัญญะ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2548). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุดคําวัด. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์สถาบันบันลือธรรม.

พระมหาสว่าง จตฺตมโล (ถุนกระโทก). (2554).การศึกษาเจตคติ และความเข้าใจเกี่ยวกับเบญจกัลยาณธรรมในพระพุทธศาสนา ศึกษาเฉพาะกรณี : ชุมชนวัดโพธิ์เรียง เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พุทธทาส อินฺทปญฺโญ. (2545). โพธิปักขิยธรรมประยุกต์. สุราษฎร์ธานี: ธรรมทานมูลนิธิสวนโมกข์ไชยา.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2542). บาลีไวยากรณ. นครปฐม: โรงพิมพมหามกุฏราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฎฺฐายีมหาเถระ). (2538). มงคลในพระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กิตติวรรณ.