การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในหมู่บ้านจัดสรรแห่งหนึ่ง จังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนหมู่บ้านจัดสรร จังหวัดปทุมธานี และ 2) เพื่อเปรียบเทียบ เพศ อายุ อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน กับการมีส่วนร่วมการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของหมู่บ้านจัดสรร จังหวัดปทุมธานี รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านจัดสรร จังหวัดปทุมธานี จำนวน 300 คน โดยใช้วิธีแบบเจาะจง ขนาดกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยใช้สูตรยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนการจัดการขยะมูลฝอย ของหมู่บ้านจัดสรร จังหวัดปทุมธานี ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ มีความเชื่อมั่นเท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงแบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนในหมู่บ้านจัดสรรแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี มีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ รองลงมาคือด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล และด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ ตามลำดับ 2) การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดการขยะมูลฝอยของหมู่บ้านจัดสรรแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และระยะเวลาอาศัยอยู่ในพื้นที่ พบว่า ประชาชนที่มีเพศต่างกัน มีส่วนร่วมต่อการจัดการขยะมูลฝอย ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ และการมีส่วนร่วมในการประเมินผลไม่แตกต่างกัน
Article Details
References
กรมควบคุมมลพิษ. (2563). รายงานประจำปี 2563. ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2564, จาก https://www.pcd.go.th/ publication/12076/
เชาวลิต อยู่เกิด วิจิตรา ศรีสอน และศิโรตม์ ภาคสุวรรณ. (2564). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการแบบยั่งยืน: กรณีศึกษารูปแบบการจัดการขยะชุมชนตลาดสดแฮปปี้แลนด์ใหม่ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(2), 713-726.
ปภาวรินท์ นาจำปา. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดการขยะมูลฝอย ของเทศบาล ตำบลคลองใหญ่ อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธานินทร์ ศิลป์ จารุ. (2549). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่. กรุงเทพฯ: วีพริ้นท์.
นรินทร์ชัย พัฒนพงศา. (2547). การมีส่วนร่วม หลักการพื้นฐาน เทคนิค และกรณีตัวอย่าง. (พิมพ์ครั้งที่ 3).กรุงเทพฯ: สิริลักษณ์การพิมพ์.
พระสุชาติสุชาโต ซุ่นสุย และวันพิชิต ศรีสุข. (2563). การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะของชุมชน บ้านบาโหย ตำบลบาโหย อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 7 วันที่ 23 พฤษภาคม 2563. หน้า 405-413.
วิชยุต ธนสิทธิสวัสดิ์ และพินิจ ดวงจินดา. (2558). การมีส่วนของประชาชนในการจัดการขยะ มูลฝอยของเทศบาลตำบลควนขนุน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง (วิทยานิพนธ์สังคมศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์. (2563). จังหวัดปทุมธานี ประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดการขยะที่ต้นทางโดยประชาชนมุ่งสู่จังหวัดปลอดขยะ (Zero Waste Province). ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2564, จาก https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG200212164153708
สำนักงานคณะกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ. (2550). รายงานการสำรวจข้อมูลด้านการเก็บและกำจัด ขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลของเทศบาล. กรุงเทพฯ: กองมาตรฐานคุณภาพและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ.
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดปทุมธานี. (2563). การประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดการขยะที่ต้นทางโดยประชาชนมุ่งสู่จังหวัดปลอดขยะ (Zero Waste Province). ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2564, จากhttps://www.facebook.com/media/set/?set=a.650972665665974&type=3
สวัสดิ์ โนนสูง. (2553). ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
อรทัย ก๊กผล. (2558). คู่คิด คู่มือ การมีส่วนร่วมของประชาชนสำหรับนักบริหารท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
Cohen, J. M., & Uphoff, N. (1980). Participation’s Place in Rural Development: Seeking Clarity Through Specificity. World Developments, 8(3), 213-235.