การพัฒนาผลิตภัณฑ์นิสิตเซรั่มวิบวับด้วยเกลือหิมาลายันเพื่อชะลอความชราของผิวหน้า

Main Article Content

ณัฐณภรณ์ เอกนราจินดาวัฒน์
รัฐวิชญ์ วัจนปรีชาศักดิ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์นิสิตเซรั่มวิบวับหิมาลายันเพื่อชะลอความชราของผิวหน้า 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับตัวชี้วัดสภาพผิวหน้าระหว่างก่อนกับหลังการใช้ผลิตภัณฑ์นิสิตเซรั่มวิบวับ
ด้วยเกลือหิมาลายัน วิธีการศึกษาแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ขั้นเตรียมการวิเคราะห์สภาพปัญหา โดยการวิเคราะห์สถานการณ์และปัญหาความต้องการผลิตภัณฑ์นิสิตเซรั่มวิบวับด้วยเกลือหิมาลายันชะลอความชราของผิวหน้า ระยะที่ 2  ขั้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์นิสิตเซรั่มวิบวับด้วยเกลือหิมาลายันชะลอความชราของผิวหน้า ออกแบบผลิตภัณฑ์ พัฒนาผลิตภัณฑ์ สร้างแบบประเมิน ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาประเมินคุณภาพผลิตภัณฑ์ ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ ระยะที่ 3 ขั้นการทดลองใช้ผลิตภัณฑ์นิสิตเซรั่มวิบวับด้วยเกลือหิมาลายันชะลอความชราของผิวหน้าให้กลุ่มตัวอย่าง ระยะที่ 4 ขั้นการประเมินผลเปรียบเทียบระดับตัวชี้วัดสภาพผิวหน้าระหว่างก่อนกับหลังการใช้ผลิตภัณฑ์นิสิตเซรั่มวิบวับด้วยเกลือหิมาลายันที่เป็นกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังใช้ผลิตภัณฑ์โดยเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม – พฤษภาคม 2565 กลุ่มประชากรที่ใช้คือเจ้าหน้าที่ในคลินิกความงามเพศหญิงจำนวน 6 คน และอาสาสมัครเพศหญิงที่มีอายุระหว่าง 30-65 ปี จำนวน 56 คน รวม 62 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) และ repeated measures ANOVA with Bonferroni correction หรือ Freidman’s multiple comparisons test ถ้าข้อมูลไม่มีการกระจายตัวแบบปกติที่ระดับนัยสำคัญร้อยละ 95 พบว่าการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยริ้วรอยของผิวทั้งสองกลุ่ม ใบหน้ากลุ่มที่ใช้ผลิตภัณฑ์นิสิตเซรั่มวิบวับด้วยเกลือ
หิมาลายันเพื่อชะลอความชราของผิวหน้า มีริ้วรอยลดลงที่ 4 และ 8 สัปดาห์อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ
(p-value < 0.0001) และ(p-value < 0.000) ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ผาสุข แก้วเจริญตา. (2561). กินล้างโรค. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

Chen, A. C., & Damian, D. L. (2014). Nicotinamide and the skin. Australasian Journal of Dermatology, 55(3), 169-175.

Drake, S. L., & Drake, M. A. (2011). Comparison of salty taste and time intensity of sea and land salts from around the world. Journal of Sensory Studies, 26(1), 25-34.

Hassan, A., Din, A. M. U., & Ali, S. (2017).Chemical characterisation of himalayan rock salt. Pakistan Journal of Scientific & Industrial Research Series A: Physical Sciences, 60(2), 67-71.

Hendel, B. & Peter, F. (2001). Water and Salt, The Essence of Life. Jenson Books Inc.

Hendel, B., & Ferreira, P. (2003).Water and Salt: The Essence of Life. Natural resources Incorporated.

Himanlayan Salt Factory. (2021). Different Colours of Himalayan Mineral Salt. Retrieved September 10, 2021, from https://www.himalayansaltfactory.com.au/about-himalayan-salt/different-colours-of-himalayan-salt/

Jha, S. (2018). 4 health benefits of 84-minerals-filled Himalayan pink salt. Retrieved September 10, 2021, from https://www.thehealthsite.com/news/4-health-benefits-of-84-minerals-filled-himalayan-pink-salt-sj0818-593586/

Sarker, et al. (2016). Halite; The Rock Salt: Enormous Health Benefits. World Journal of Pharmaceutical Research, 5(12), 407- 416.